อ.นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ปัจจุบัน การรักษาโรคด้วยการฝังเข็มเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และองค์การอนามัยโลกได้ให้การรับรองการฝังเข็มว่าสามารถรักษาโรคเห็นผลชัดเจน
การฝังเข็มรักษาโรคมีหลายระบบ ตั้งแต่ ระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อ เช่น ปวดเข่า ปวดคอ ปวดหลัง ปวดศีรษะ ปวดข้อศอก ปวดไหล่ รูมาตอยด์
ระบบประสาท เช่น อัมพาตสมอง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสันหลัง
ระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ภูมิแพ้ เม็ดเลือดขาวต่ำ
ระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะ คลื่นไส้ อาเจียน และระบบอื่นๆ เช่น ปวดประจำเดือน หลังฉายแสงหรือเคมีบำบัด และโรคเกี่ยวกับความเครียด
โดยที่การฝังเข็มรักษาโรค อาศัยกลไกในการยับยั้งความเจ็บปวด ช่วยให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทให้ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลางที่ระดับไขสันหลังเพื่อช่วยระงับปวด ทำให้กล้ามเนื้อคลายจุดปวด ปรับสมดุลของอวัยวะต่างๆ ให้อยู่ในสภาพปกติ ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้สะดวกขึ้น ทั้งนี้ก่อนเข้ารับการรักษา ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารตามปกติ ใส่เสื้อผ้าให้เปิดบริเวณที่รักษาได้ง่าย และถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะให้เรียบร้อย
สำหรับการรักษา แพทย์จะฝังเข็มเข้าผิวหนัง จากนั้นจะกระตุ้นเข็มด้วยมือหรือกระแสไฟฟ้า โดยคาเข็มไว้ประมาณ 20 นาที แล้วจึงถอนออก ระหว่างปักเข็มผู้ป่วยอาจเกิดความรู้สึกได้ 2 แบบ คือรู้สึกหนักๆ หน่วงๆ ในจุดที่ฝังเข็ม หรือความรู้สึกแล่น ซ่าๆ เป็นแนว เนื่องจากแพทย์จะฝังเข็มไว้บนเส้นลมปราณ หากรู้สึกเจ็บปวดมากให้แจ้งแพทย์ทันที เพื่อปรับองศาเข็มเล็กน้อย หรือลดแรงกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลดความเจ็บปวดลง และเพื่อให้ได้ผลดี ควรมารับบริการสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันนาน 10-20 ครั้ง โดยแพทย์จะพิจารณาตามการตอบสนองของผู้ป่วย ถ้ามีอาการเรื้อรังอาจต้องทำติดต่อกันหลายครั้ง และมีข้อห้ามคือ จะไม่ฝังเข็มในสตรีตั้งครรภ์หรือผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือผู้ป่วยที่มีเลือดออกง่าย โรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา โรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเพื่อป้องกันผลที่จะตามมา เช่น เป็นลม เลือดออกหรือมีรอยช้ำที่จุดฝังเข็ม และอาจเกิดการติดเชื้อได้ เป็นต้น หลังการรักษา จะไม่มีอาการผิดปกติ นอกจากผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่อ่อนแอ อาจมีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อย ถ้ามีอาการปวดหนักๆ บริเวณจุดฝังเข็ม หรือมีรอยเขียวช้ำ ให้ใช้แผ่นร้อนประคบ และกินยาแก้ปวดได้ ประมาณ 2-3 วันก็จะดีขึ้นครับ
---------------------
*พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
ชวนคนไทยร่วมงาน 125 ปี รพ.ศิริราช มุ่งมั่นพัฒนา นำพาสังคม
ชมมหกรรมความรู้เพื่อสุขภาพ อาทิ นิทรรศการทางการแพทย์ และสิ่งจัดแสดงที่น่าสนใจ เช่น ห้องผ่าตัดจำลอง พบตัวอสุจิ ไรฝุ่น ภาพ 3 มิติก่อนทำศัลยกรรมใบหน้า สาธิตการทำคลอด และรับคำปรึกษาสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และร่วมบริจาคโลหิตเพื่อผู้ป่วย โดยจะมอบบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์ศิริราชฟรีแก่ผู้บริจาควันละ 50 ใบ พบกันที่หอประชุมราชแพทยาลัย โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ และอาคารศรีสวรินทิรา รพ.ศิริราช วันนี้ - 3 พ.ค.56 โอกาสนี้ยังเปิดให้ทุกท่านเข้าชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ ศิริราช และพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน แหล่งรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพื้นที่บางกอกน้อยในราคาพิเศษ
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ปัจจุบัน การรักษาโรคด้วยการฝังเข็มเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และองค์การอนามัยโลกได้ให้การรับรองการฝังเข็มว่าสามารถรักษาโรคเห็นผลชัดเจน
การฝังเข็มรักษาโรคมีหลายระบบ ตั้งแต่ ระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อ เช่น ปวดเข่า ปวดคอ ปวดหลัง ปวดศีรษะ ปวดข้อศอก ปวดไหล่ รูมาตอยด์
ระบบประสาท เช่น อัมพาตสมอง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสันหลัง
ระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ภูมิแพ้ เม็ดเลือดขาวต่ำ
ระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะ คลื่นไส้ อาเจียน และระบบอื่นๆ เช่น ปวดประจำเดือน หลังฉายแสงหรือเคมีบำบัด และโรคเกี่ยวกับความเครียด
โดยที่การฝังเข็มรักษาโรค อาศัยกลไกในการยับยั้งความเจ็บปวด ช่วยให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทให้ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลางที่ระดับไขสันหลังเพื่อช่วยระงับปวด ทำให้กล้ามเนื้อคลายจุดปวด ปรับสมดุลของอวัยวะต่างๆ ให้อยู่ในสภาพปกติ ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้สะดวกขึ้น ทั้งนี้ก่อนเข้ารับการรักษา ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารตามปกติ ใส่เสื้อผ้าให้เปิดบริเวณที่รักษาได้ง่าย และถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะให้เรียบร้อย
สำหรับการรักษา แพทย์จะฝังเข็มเข้าผิวหนัง จากนั้นจะกระตุ้นเข็มด้วยมือหรือกระแสไฟฟ้า โดยคาเข็มไว้ประมาณ 20 นาที แล้วจึงถอนออก ระหว่างปักเข็มผู้ป่วยอาจเกิดความรู้สึกได้ 2 แบบ คือรู้สึกหนักๆ หน่วงๆ ในจุดที่ฝังเข็ม หรือความรู้สึกแล่น ซ่าๆ เป็นแนว เนื่องจากแพทย์จะฝังเข็มไว้บนเส้นลมปราณ หากรู้สึกเจ็บปวดมากให้แจ้งแพทย์ทันที เพื่อปรับองศาเข็มเล็กน้อย หรือลดแรงกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลดความเจ็บปวดลง และเพื่อให้ได้ผลดี ควรมารับบริการสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันนาน 10-20 ครั้ง โดยแพทย์จะพิจารณาตามการตอบสนองของผู้ป่วย ถ้ามีอาการเรื้อรังอาจต้องทำติดต่อกันหลายครั้ง และมีข้อห้ามคือ จะไม่ฝังเข็มในสตรีตั้งครรภ์หรือผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือผู้ป่วยที่มีเลือดออกง่าย โรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา โรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเพื่อป้องกันผลที่จะตามมา เช่น เป็นลม เลือดออกหรือมีรอยช้ำที่จุดฝังเข็ม และอาจเกิดการติดเชื้อได้ เป็นต้น หลังการรักษา จะไม่มีอาการผิดปกติ นอกจากผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่อ่อนแอ อาจมีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อย ถ้ามีอาการปวดหนักๆ บริเวณจุดฝังเข็ม หรือมีรอยเขียวช้ำ ให้ใช้แผ่นร้อนประคบ และกินยาแก้ปวดได้ ประมาณ 2-3 วันก็จะดีขึ้นครับ
---------------------
*พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
ชวนคนไทยร่วมงาน 125 ปี รพ.ศิริราช มุ่งมั่นพัฒนา นำพาสังคม
ชมมหกรรมความรู้เพื่อสุขภาพ อาทิ นิทรรศการทางการแพทย์ และสิ่งจัดแสดงที่น่าสนใจ เช่น ห้องผ่าตัดจำลอง พบตัวอสุจิ ไรฝุ่น ภาพ 3 มิติก่อนทำศัลยกรรมใบหน้า สาธิตการทำคลอด และรับคำปรึกษาสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และร่วมบริจาคโลหิตเพื่อผู้ป่วย โดยจะมอบบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์ศิริราชฟรีแก่ผู้บริจาควันละ 50 ใบ พบกันที่หอประชุมราชแพทยาลัย โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ และอาคารศรีสวรินทิรา รพ.ศิริราช วันนี้ - 3 พ.ค.56 โอกาสนี้ยังเปิดให้ทุกท่านเข้าชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์ ศิริราช และพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน แหล่งรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพื้นที่บางกอกน้อยในราคาพิเศษ