เฮ! หญิงชายไม่ได้มีอาการวัยทองทุกคน พบหญิงอายุ 45-59 ปีเสี่ยงอาการวัยทองแค่ 27.8% ส่วนชายอายุ 40-59 ปี 36.7% มีอาการวัยทองเมื่ออายุมากขึ้น เผย 3 โรคฮิตในวัยทองคือ ความดัน เบาหวาน และกระดูก ส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมสุขภาพแบบผิดๆ ทั้งดื่มเหล้า สูบบุหรี่ กินอาหารหวานมันเค็มจัด แนะดูแลสุขภาพเพื่อเป็นคนแก่แบบมีคุณภาพ
วันนี้ (30 เม.ย.) ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ บางพลัด กทม. นพ.ดนัย ธีรวันดา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพประชากรวัยทอง ว่า ประชากรวัยทองคือ หญิงวัยหมดระดูอายุ 45- 59 ปี และชายอายุ 40-59 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย และฮอร์โมนเพศลดลง ทำให้มีปัญหาสุขภาพ โดยพบว่าร้อยละ 41.3 หญิงชายวัยทองมีโรคประจำตัว โดย 3 อันดับแรกของโรคที่พบมาก คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคกระดูกและข้อ นอกจากนี้ ยังพบภาวะอ้วนลงพุง โดยหญิงวัยทองพบร้อยละ 57.4 ชายวัยทองพบร้อยละ 28.9 ส่วนอาการวัยทองพบว่า หญิงวัยทองร้อยละ 27.8 มีความเสี่ยงต่อการมีอาการวัยทอง ขณะที่ชายวัยทอง ร้อยละ 36.7 มีอาการวัยทองเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
นพ.ดนัย กล่าวอีกว่า จากการศึกษาของสำนักส่งเสริมสุขภาพ ปี 2554 พบว่า หญิงชายวัยทองยังมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยหญิงวัยทองพบร้อยละ 39.9 ชายวัยทองพบร้อยละ 68.3 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ หญิงวัยทองพบเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 2.7 ชายวัยทองพบมากร้อยละ 40.6 พฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย หญิงวัยทองพบร้อยละ 23.6 ชายวัยทองพบร้อยละ 15.3 รวมถึงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มันจัด เค็มจัด และหวานจัดด้วย ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพทำให้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับ Metabolic syndrome ได้
“ประชากรวัยทองเป็นกำลังสำคัญของประเทศ จึงควรได้รับการดูแลสุขภาพให้เหมาะสมกับวัย หลีกเลี่ยงพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ลดโรคที่สามารถป้องกันได้ และชะลอการเสื่อมถอยของร่างกาย จะได้ก้าวสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพไม่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง สามารถพึ่งพาตนเองได้และทำประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป” ผอ.สำนักส่งเสริมสุขภาพ กล่าว
วันนี้ (30 เม.ย.) ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ บางพลัด กทม. นพ.ดนัย ธีรวันดา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพประชากรวัยทอง ว่า ประชากรวัยทองคือ หญิงวัยหมดระดูอายุ 45- 59 ปี และชายอายุ 40-59 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย และฮอร์โมนเพศลดลง ทำให้มีปัญหาสุขภาพ โดยพบว่าร้อยละ 41.3 หญิงชายวัยทองมีโรคประจำตัว โดย 3 อันดับแรกของโรคที่พบมาก คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคกระดูกและข้อ นอกจากนี้ ยังพบภาวะอ้วนลงพุง โดยหญิงวัยทองพบร้อยละ 57.4 ชายวัยทองพบร้อยละ 28.9 ส่วนอาการวัยทองพบว่า หญิงวัยทองร้อยละ 27.8 มีความเสี่ยงต่อการมีอาการวัยทอง ขณะที่ชายวัยทอง ร้อยละ 36.7 มีอาการวัยทองเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
นพ.ดนัย กล่าวอีกว่า จากการศึกษาของสำนักส่งเสริมสุขภาพ ปี 2554 พบว่า หญิงชายวัยทองยังมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยหญิงวัยทองพบร้อยละ 39.9 ชายวัยทองพบร้อยละ 68.3 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ หญิงวัยทองพบเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 2.7 ชายวัยทองพบมากร้อยละ 40.6 พฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย หญิงวัยทองพบร้อยละ 23.6 ชายวัยทองพบร้อยละ 15.3 รวมถึงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มันจัด เค็มจัด และหวานจัดด้วย ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพทำให้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับ Metabolic syndrome ได้
“ประชากรวัยทองเป็นกำลังสำคัญของประเทศ จึงควรได้รับการดูแลสุขภาพให้เหมาะสมกับวัย หลีกเลี่ยงพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ลดโรคที่สามารถป้องกันได้ และชะลอการเสื่อมถอยของร่างกาย จะได้ก้าวสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพไม่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง สามารถพึ่งพาตนเองได้และทำประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป” ผอ.สำนักส่งเสริมสุขภาพ กล่าว