นักวิชาการเผย กว่า 40 ปี ความเหลื่อมล้ำระบบบริการสุขภาพดีขึ้น เหตุชาวบ้านเข้าถึงบริการมากขึ้น แต่เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เนื่องจาก รพ.บางแห่งไม่พร้อมให้บริการตามสิทธิ นักเศรษฐศาสตร์ชี้ผู้รับบริการความรู้น้อย หมดสิทธิต่อรอง ส่วนบุคลากรทางการแพทย์มีน้อย เกิดค่าเช่าทางเศรษฐกิจ มีผลตอบแทนสูงกว่าที่ควรจะเป็น
นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย กล่าวในการเสวนาเรื่อง “สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในระบบประกันสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง” ในงานประชุมวิชาการการวิจัยระบบสุขภาพประจำปี 2556 “จัดการความรู้สู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม” จัดโดยสถาบันวิจัยระบบบริการสาธารณสุข (สวรส.) ว่า การลดความเหลื่อมล้ำในระบบสาธารณสุขตลอด 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงบริการสุขภาพระหว่างพื้นที่ดีขึ้น แต่ยังมีความแตกต่างในแต่ละพื้นที่ เช่น การผ่าตัดหัวใจ ,สารละลายลิ่มเลือด ประชาชนมีสิทธิได้รับบริการตามสิทธิทำให้เข้าถึงการบริการนี้มากขึ้น แต่ประชาชนในบางพื้นที่ไม่ได้รับบริการ เนื่องจากการบริหารจัดการของโรงพยาบาลในพื้นที่นั้นๆ ที่ระบุว่าไม่พร้อมที่จะให้บริการในเรื่องดังกล่าว ทำให้ประชาชนพื้นที่นั้นจึงเข้าไม่ถึงบริการ เป็นต้น
“การแก้ปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการซึ่งเกิดจากการบริหารจัดการของโรงพยาบาล จะต้องมีกลไกวิธีการจัดการให้โรงพยาบาลมีบริการตามสิทธิประโยชน์ของประชาชนมากขึ้น ได้แก่ 1.การมีข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนตามสิทธิประโยชน์ของแต่ละโรงพยาบาลสะท้อนกลับไปยังโรงพยาบาลเพื่อให้รับทราบว่าเป็นอย่างไร หรืออยู่ในระดับใดหากเทียบกับโรงพยาบาลอื่นๆ จะเกิดการตื่นตัวที่จะให้บริการมากขึ้น และ 2.กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนว่าสิทธิประโยชน์ในเรื่องนี้ หรือโรคนี้ ประชาชนควรได้รับบริการไม่น้อยกว่าเท่าไร จะช่วยทำให้ประชาชนเข้าถึงการบริการมากขึ้น” นพ.สัมฤทธิ์ กล่าว
รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาพื้นฐานของระบบบริการสุขภาพไทยคือ ผู้รับและผู้ให้บริการมีความรู้แตกต่างกัน ผู้รับบริการจะไม่ค่อยรู้อะไรมากทำให้เป็นฝ่ายเสียเปรียบ ไม่มีอำนาจการต่อรอง ส่งผลให้เกิดการได้รับบริการที่มากหรือน้อยเกินไป จนอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น หรือไม่ได้รับบริการเท่าที่ควรจะเป็น อีกทั้งผู้รับบริการมีทางเลือกน้อยจากการที่ไม่สามารถประเมินความเจ็บป่วยของตนเองได้ว่าสมควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจหรือไม่ เมื่อเจ็บป่วยก็จะรีบไปพบแพทย์ก่อน นอกจากนี้ การผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอ เกิดเป็นความไม่สมบูรณ์ของตลาดบริการสุขภาพ จนมีค่าเช่าทางเศรษฐกิจ คือ ผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติที่ควรจะเป็น โดยภาพรวมในตลาดสุขภาพการแข่งขันที่จะช่วยผู้รับบริการได้รับสิ่งที่ดีขึ้นไม่เกิด
นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย กล่าวในการเสวนาเรื่อง “สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในระบบประกันสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง” ในงานประชุมวิชาการการวิจัยระบบสุขภาพประจำปี 2556 “จัดการความรู้สู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม” จัดโดยสถาบันวิจัยระบบบริการสาธารณสุข (สวรส.) ว่า การลดความเหลื่อมล้ำในระบบสาธารณสุขตลอด 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงบริการสุขภาพระหว่างพื้นที่ดีขึ้น แต่ยังมีความแตกต่างในแต่ละพื้นที่ เช่น การผ่าตัดหัวใจ ,สารละลายลิ่มเลือด ประชาชนมีสิทธิได้รับบริการตามสิทธิทำให้เข้าถึงการบริการนี้มากขึ้น แต่ประชาชนในบางพื้นที่ไม่ได้รับบริการ เนื่องจากการบริหารจัดการของโรงพยาบาลในพื้นที่นั้นๆ ที่ระบุว่าไม่พร้อมที่จะให้บริการในเรื่องดังกล่าว ทำให้ประชาชนพื้นที่นั้นจึงเข้าไม่ถึงบริการ เป็นต้น
“การแก้ปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการซึ่งเกิดจากการบริหารจัดการของโรงพยาบาล จะต้องมีกลไกวิธีการจัดการให้โรงพยาบาลมีบริการตามสิทธิประโยชน์ของประชาชนมากขึ้น ได้แก่ 1.การมีข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนตามสิทธิประโยชน์ของแต่ละโรงพยาบาลสะท้อนกลับไปยังโรงพยาบาลเพื่อให้รับทราบว่าเป็นอย่างไร หรืออยู่ในระดับใดหากเทียบกับโรงพยาบาลอื่นๆ จะเกิดการตื่นตัวที่จะให้บริการมากขึ้น และ 2.กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนว่าสิทธิประโยชน์ในเรื่องนี้ หรือโรคนี้ ประชาชนควรได้รับบริการไม่น้อยกว่าเท่าไร จะช่วยทำให้ประชาชนเข้าถึงการบริการมากขึ้น” นพ.สัมฤทธิ์ กล่าว
รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาพื้นฐานของระบบบริการสุขภาพไทยคือ ผู้รับและผู้ให้บริการมีความรู้แตกต่างกัน ผู้รับบริการจะไม่ค่อยรู้อะไรมากทำให้เป็นฝ่ายเสียเปรียบ ไม่มีอำนาจการต่อรอง ส่งผลให้เกิดการได้รับบริการที่มากหรือน้อยเกินไป จนอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น หรือไม่ได้รับบริการเท่าที่ควรจะเป็น อีกทั้งผู้รับบริการมีทางเลือกน้อยจากการที่ไม่สามารถประเมินความเจ็บป่วยของตนเองได้ว่าสมควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจหรือไม่ เมื่อเจ็บป่วยก็จะรีบไปพบแพทย์ก่อน นอกจากนี้ การผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอ เกิดเป็นความไม่สมบูรณ์ของตลาดบริการสุขภาพ จนมีค่าเช่าทางเศรษฐกิจ คือ ผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติที่ควรจะเป็น โดยภาพรวมในตลาดสุขภาพการแข่งขันที่จะช่วยผู้รับบริการได้รับสิ่งที่ดีขึ้นไม่เกิด