สรุปผล 7 วันอันตรายสงกรานต์ “เมาแล้วขับ” ยังเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของอุบัติเหตุ ส่วนคนทำผิดกฎหมายเหล้าดำเนินคดีแล้ว 218 ราย ส่วนการกู้ชีพ ปชชยังเรียกใช้บริการน้อย สธ.เล็งเสนอมาตรการ 3 ประเด็นใหญ่เข้า ครม.ในสัปดาห์หน้า
วันนี้ (18 เม.ย.) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงผลการดำเนินการควบคุมป้องกันอุบัติเหตุทางการจราจรในช่วง 7 วันเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 11-17 เม.ย.2556 ว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากอับดับ 1 คือ เมาแล้วขับ เกือบร้อยละ 40 ของสาเหตุเกิดขึ้นทั้งหมด ทั้งนี้ สธ.ได้เน้น 2 มาตรการหลัก ได้แก่ การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และการรักษาพยาบาลช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บ โดยมีสายด่วนแจ้งเหตุทางหมายเลข 1669 ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า สำหรับผลการตรวจจับผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอด 7 วัน สามารถตรวจได้ทั้งหมด 474 ราย ดำเนินคดีผู้กระทำผิด 218 ราย และตักเตือน 256 ราย ความผิดอันดับ 1 ได้แก่ การโฆษณา 69 ราย ขายโดยไม่มีใบอนุญาต 27 ราย ลดแลกแจกแถม 17 ราย ขณะที่ผลการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินตลอด 7 วัน พบว่า ประชาชนยังใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในสัดส่วนที่น้อยเพียงร้อยละ 10 ของเหตุทั้งหมด เมื่อวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยแพทย์กู้ชีพทั่วประเทศประมาณ 15,000 ทีม พบว่าบรรลุผลตามเกณฑ์สามารถออกไปถึงที่เกิดเหตุภายใน 10 นาทีหลังวางสายรับแจ้งได้สูงถึงร้อยละ 82 ทำให้ผู้บาดเจ็บได้รับการดูแลรักษาที่ถูกวิธี และทันท่วงทีมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าร้อยละ 90
“เทศกาลสงกรานต์เป็นเพียงช่วงรณรงค์สั้นๆ สิ่งที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุผลทศวรรษความปลอดภัยทางถนนจะต้องทำตลอดปีทุกมาตรการโดย สธ.จะเสนอมาตรการควบคุมป้องกันอุบัติเหตุจาจรเข้าที่ประชุมศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า 3 ประเด็น” รมช.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า มาตรการ 3 ประเด็น มีดังนี้ 1.การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิต 3 เรื่อง ได้แก่ การควบคุมความเร็ว เพราะเทศกาลนี้ พบว่าความเร็วรถทำให้ดัชนีความรุนแรงของอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นทำให้มีการเสียชีวิตในที่เกิดเหตุมากถึงร้อยละ 67 รวมทั้งการคาดเข็มขัดนิรภัย การสวมหมวกกันน็อก และการกำชับผู้ว่าราชการจังหวัดให้เข้มข้นในการบังคับกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดปี 2.ขอให้กรมประชาสัมพันธ์และภาคีเครือข่าย เช่น สสส.ประชาสัมพันธ์หมายเลขสายด่วนการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ให้ประชาชนรับทราบ และมีติดไว้ทุกบ้านเรือน 3.สธ.และกระทรวงมหาดไทยควรมีรถกู้ชีพกู้ภัยครบทุก อบต.และทุกเทศบาล (โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งรถกู้ชีพกู้ภัย) และกระทรวงสาธารณสุข จะร่วมกับ ปภ.และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) พัฒนาบุคลากรได้แก่ตำรวจจราจรและอาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อพปร.) ให้มีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานซึ่งจะสามารถให้การดูแลผู้บาดเจ็บได้อย่างทันท่วงทีเนื่องจากบุคลากรที่กล่าวมาเป็นหน่วยปฏิบัติงานที่อยู่ใกล้ชิดและอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว
ด้าน นพ.สมาน ฟูตระกลู ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีข้อสังเกต 4 ประการ ได้แก่ 1.การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีการเดียวได้ต้องใช้หลากหลายมาตรการไปพร้อมๆ กัน การรณรงค์ให้ความรู้และขอความร่วมมือเพียงวิธีเดียวไม่สามารถควบคุมได้สำเร็จอย่างแน่นอนเนื่องจากเป็นเรื่องที่มีผลประโยชน์และอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก 2.ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของพนักงานเจ้าหน้าที่และประชาชนจากความคิดว่า “ช่วงสงกรานต์เป็นช่วงเวลาสนุกสนานเป็นช่วงยกเว้นไม่ใช้บังคับกฎหมายเพื่อให้สามารถสนุกสนานกันได้เต็มที่” ซึ่งเป็นวิธีคิดที่อันตรายมาก เป็นความคิดว่าช่วงสงกรานต์เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงมากต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกวดขันมากกว่าช่วงปกติโดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่เป็นสาเหตุของความสูญเสีย คือการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นพ.สมาน กล่าวอีกว่า 3.ต้องมีการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อลดช่องว่างทางกฎหมายในการคุ้มครองพี่น้องประชาชนรวมถึงลูกหลานเยาวชนอาทิเช่น การปรับปรุงกฎหมายจากเดิมห้ามดื่มบนถนนที่จะผิดเฉพาะตัวผู้ดื่มอยู่บนรถเท่านั้นแต่หากลงจากรถมาดื่มกลางถนนไม่ผิด มาเป็นห้ามดื่มบนถนนทั้งหมด หรือเพิ่มมาตรการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางสาธารณะ รวมถึงห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันที่มีการเสียชีวิตสูงสุด 1 ถึง 2 ลำดับแรก เป็นต้น และ 4.ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงสุดโดยคำนึงถึงชีวิตและความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนสูงสุดมากกว่าผลประโยชน์ทางการค้าที่ผิดกฎหมายทำลายสังคม ซึ่ง สธ.จะดำเนินการควบคุมทางกฎหมายและลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด
วันนี้ (18 เม.ย.) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงผลการดำเนินการควบคุมป้องกันอุบัติเหตุทางการจราจรในช่วง 7 วันเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 11-17 เม.ย.2556 ว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากอับดับ 1 คือ เมาแล้วขับ เกือบร้อยละ 40 ของสาเหตุเกิดขึ้นทั้งหมด ทั้งนี้ สธ.ได้เน้น 2 มาตรการหลัก ได้แก่ การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และการรักษาพยาบาลช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บ โดยมีสายด่วนแจ้งเหตุทางหมายเลข 1669 ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า สำหรับผลการตรวจจับผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอด 7 วัน สามารถตรวจได้ทั้งหมด 474 ราย ดำเนินคดีผู้กระทำผิด 218 ราย และตักเตือน 256 ราย ความผิดอันดับ 1 ได้แก่ การโฆษณา 69 ราย ขายโดยไม่มีใบอนุญาต 27 ราย ลดแลกแจกแถม 17 ราย ขณะที่ผลการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินตลอด 7 วัน พบว่า ประชาชนยังใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในสัดส่วนที่น้อยเพียงร้อยละ 10 ของเหตุทั้งหมด เมื่อวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยแพทย์กู้ชีพทั่วประเทศประมาณ 15,000 ทีม พบว่าบรรลุผลตามเกณฑ์สามารถออกไปถึงที่เกิดเหตุภายใน 10 นาทีหลังวางสายรับแจ้งได้สูงถึงร้อยละ 82 ทำให้ผู้บาดเจ็บได้รับการดูแลรักษาที่ถูกวิธี และทันท่วงทีมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าร้อยละ 90
“เทศกาลสงกรานต์เป็นเพียงช่วงรณรงค์สั้นๆ สิ่งที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุผลทศวรรษความปลอดภัยทางถนนจะต้องทำตลอดปีทุกมาตรการโดย สธ.จะเสนอมาตรการควบคุมป้องกันอุบัติเหตุจาจรเข้าที่ประชุมศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า 3 ประเด็น” รมช.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า มาตรการ 3 ประเด็น มีดังนี้ 1.การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิต 3 เรื่อง ได้แก่ การควบคุมความเร็ว เพราะเทศกาลนี้ พบว่าความเร็วรถทำให้ดัชนีความรุนแรงของอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นทำให้มีการเสียชีวิตในที่เกิดเหตุมากถึงร้อยละ 67 รวมทั้งการคาดเข็มขัดนิรภัย การสวมหมวกกันน็อก และการกำชับผู้ว่าราชการจังหวัดให้เข้มข้นในการบังคับกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดปี 2.ขอให้กรมประชาสัมพันธ์และภาคีเครือข่าย เช่น สสส.ประชาสัมพันธ์หมายเลขสายด่วนการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ให้ประชาชนรับทราบ และมีติดไว้ทุกบ้านเรือน 3.สธ.และกระทรวงมหาดไทยควรมีรถกู้ชีพกู้ภัยครบทุก อบต.และทุกเทศบาล (โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งรถกู้ชีพกู้ภัย) และกระทรวงสาธารณสุข จะร่วมกับ ปภ.และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) พัฒนาบุคลากรได้แก่ตำรวจจราจรและอาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อพปร.) ให้มีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานซึ่งจะสามารถให้การดูแลผู้บาดเจ็บได้อย่างทันท่วงทีเนื่องจากบุคลากรที่กล่าวมาเป็นหน่วยปฏิบัติงานที่อยู่ใกล้ชิดและอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว
ด้าน นพ.สมาน ฟูตระกลู ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีข้อสังเกต 4 ประการ ได้แก่ 1.การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีการเดียวได้ต้องใช้หลากหลายมาตรการไปพร้อมๆ กัน การรณรงค์ให้ความรู้และขอความร่วมมือเพียงวิธีเดียวไม่สามารถควบคุมได้สำเร็จอย่างแน่นอนเนื่องจากเป็นเรื่องที่มีผลประโยชน์และอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก 2.ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของพนักงานเจ้าหน้าที่และประชาชนจากความคิดว่า “ช่วงสงกรานต์เป็นช่วงเวลาสนุกสนานเป็นช่วงยกเว้นไม่ใช้บังคับกฎหมายเพื่อให้สามารถสนุกสนานกันได้เต็มที่” ซึ่งเป็นวิธีคิดที่อันตรายมาก เป็นความคิดว่าช่วงสงกรานต์เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงมากต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกวดขันมากกว่าช่วงปกติโดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่เป็นสาเหตุของความสูญเสีย คือการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นพ.สมาน กล่าวอีกว่า 3.ต้องมีการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อลดช่องว่างทางกฎหมายในการคุ้มครองพี่น้องประชาชนรวมถึงลูกหลานเยาวชนอาทิเช่น การปรับปรุงกฎหมายจากเดิมห้ามดื่มบนถนนที่จะผิดเฉพาะตัวผู้ดื่มอยู่บนรถเท่านั้นแต่หากลงจากรถมาดื่มกลางถนนไม่ผิด มาเป็นห้ามดื่มบนถนนทั้งหมด หรือเพิ่มมาตรการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางสาธารณะ รวมถึงห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันที่มีการเสียชีวิตสูงสุด 1 ถึง 2 ลำดับแรก เป็นต้น และ 4.ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงสุดโดยคำนึงถึงชีวิตและความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนสูงสุดมากกว่าผลประโยชน์ทางการค้าที่ผิดกฎหมายทำลายสังคม ซึ่ง สธ.จะดำเนินการควบคุมทางกฎหมายและลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด