ยอดจดแจ้งรหัสเครื่องสำอางไทยพบมีมากกว่า 2 แสนตำรับ หลังประกาศใช้บทบัญญัติ ACD อย.เผยส่งออกหรือนำเข้าเครื่องสำอางต้องทำฉลากและมีรายการสารตามประเทศคู่ค้ากำหนด เล็งออกมาตรฐานจีเอ็มพีเป็นแนวทางช่วยผู้ผลิต
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า การปรับปรุงพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 จะต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียน (ASEAN Cosmetic Directive : ACD) เนื่องจากประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงปรับกฎระเบียบให้สอดคล้องกันในกลุ่มประเทศอาเซียน เมื่อปี 2546 โดยในส่วนของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางกำหนดให้ทุกประเทศต้องมีข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกรายการที่วางจำหน่าย และนำรายการสารห้ามใช้จากสหภาพยุโรปมาใช้
ทั้งนี้ ภายใต้กฎระเบียบได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางทุกรายต้องแจ้งรายละเอียดข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ก่อนการผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ข้อมูลผู้ประกอบการ ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ สูตรส่วนผสม รูปภาพและวิธีใช้ เพื่อให้รู้ว่าลักษณะของเครื่องสำอางเป็นแบบใด จะได้มีการคัดกรองอย่างถูกต้อง รวมถึงต้องเก็บรักษาข้อมูลทางด้านวิชาการและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ พร้อมให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเมื่อมีการร้องขอ
นพ.ไพศาล กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทยขณะนี้มีผู้ประกอบการมาจดแจ้งเพื่อรับรหัสเครื่องสำอางแล้วกว่า 2 แสนตำรับ ซึ่งจะแยกระหว่างผลิต/นำเข้า/ส่งออก หากเป็นการส่งออกจะต้องจดแจ้งก่อนและต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้าด้วย เช่น ผู้ประกอบการไทยจะส่งเครื่องสำอางไปขายต่างประเทศ ก็ต้องจดแจ้งในไทยก่อนและดำเนินการตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า อย่างกรณีฉลากก็ไม่ต้องทำฉลากภาษาไทย แต่ให้ทำฉลากตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า ส่วนรายการสารต่างๆ ที่เป็นสูตรส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ก็ต้องเป็นไปตามที่ประเทศคู่ค้ากำหนดและไม่ขัดกับกฎหมายไทย ขณะเดียวกัน หากต่างประเทศจะส่งเครื่องสำอางเข้ามาขายในไทยก็ต้องทำตามข้อกฎหมายของไทยเช่นกัน คือ ต้องจดแจ้งก่อนการนำเข้าเพื่อขาย ต้องทำฉลากเป็นภาษาไทย และแสดงรายละเอียดฉลากให้ครบถ้วน
“ในด้านกฎหมายตอนนี้ข้อกำหนดของรายการสารทุกหมวด ไทยได้ปรับปรุงประกาศต่างๆ ให้สอดคล้องกับอาเซียนเกือบทั้งหมด เว้นสารฟลูออไรด์ที่ไทยกำหนดให้ใช้ไม่เกิน 1,100 ppm ขณะที่ต่างประเทศกำหนด 1,500 ppm เนื่องจากคนไทยเข้าถึงฟลูออไรด์ได้มากแล้วจากน้ำ เพราะมีสายแร่พาดผ่านหลายพื้นที่ ไม่จำเป็นต้องรับสารฟลูออไรด์ปริมาณสูงจากเครื่องสำอาง ซึ่งประเทศไทยได้รายงานเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการเครื่องสำอางอาเซียนแล้ว ดังนั้นแต่ละประเทศจะต้องแจ้งข้อกำหนดของสารต่างๆ เพื่อให้ทราบข้อแตกต่างในรายการสารที่ใช้เป็นส่วนผสมด้วย เพื่อให้ประเทศสมาชิกปฎิบัติได้สอดคล้องถูกต้องตามที่ตกลงไว้” รองเลขาธิการ อย.กล่าว
นพ.ไพศาล กล่าวด้วยว่า ขณะนี้การยกร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. .... ได้เข้าสู่การพิจารณากลั่นกรองของกฤษฎีกาแล้ว เพื่อให้กฎหมายมีความทันสมัย เท่าทันต่อเทคโนโลยี รวมไปถึงเรื่องของการเฝ้าระวัง และการเพิกถอนใบรับแจ้งเครื่องสำอางให้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มความระมัดระวังในการผลิต และเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ACD ยังกำหนดให้นำมาตรฐาน GMP มาใช้ในสถานที่ผลิตเครื่องสำอางด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานสถานที่ผลิตเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดย อย.ได้เตรียมที่จะออกหลักเกณฑ์มาตรฐานสถานที่ผลิตให้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ส่วนในอนาคต ACD ก็จะเน้นการกำกับการใช้สมุนไพรในเครื่องสำอางมากขึ้น
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า การปรับปรุงพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 จะต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียน (ASEAN Cosmetic Directive : ACD) เนื่องจากประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงปรับกฎระเบียบให้สอดคล้องกันในกลุ่มประเทศอาเซียน เมื่อปี 2546 โดยในส่วนของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางกำหนดให้ทุกประเทศต้องมีข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกรายการที่วางจำหน่าย และนำรายการสารห้ามใช้จากสหภาพยุโรปมาใช้
ทั้งนี้ ภายใต้กฎระเบียบได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางทุกรายต้องแจ้งรายละเอียดข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ก่อนการผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ข้อมูลผู้ประกอบการ ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ สูตรส่วนผสม รูปภาพและวิธีใช้ เพื่อให้รู้ว่าลักษณะของเครื่องสำอางเป็นแบบใด จะได้มีการคัดกรองอย่างถูกต้อง รวมถึงต้องเก็บรักษาข้อมูลทางด้านวิชาการและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ พร้อมให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเมื่อมีการร้องขอ
นพ.ไพศาล กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทยขณะนี้มีผู้ประกอบการมาจดแจ้งเพื่อรับรหัสเครื่องสำอางแล้วกว่า 2 แสนตำรับ ซึ่งจะแยกระหว่างผลิต/นำเข้า/ส่งออก หากเป็นการส่งออกจะต้องจดแจ้งก่อนและต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้าด้วย เช่น ผู้ประกอบการไทยจะส่งเครื่องสำอางไปขายต่างประเทศ ก็ต้องจดแจ้งในไทยก่อนและดำเนินการตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า อย่างกรณีฉลากก็ไม่ต้องทำฉลากภาษาไทย แต่ให้ทำฉลากตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า ส่วนรายการสารต่างๆ ที่เป็นสูตรส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ก็ต้องเป็นไปตามที่ประเทศคู่ค้ากำหนดและไม่ขัดกับกฎหมายไทย ขณะเดียวกัน หากต่างประเทศจะส่งเครื่องสำอางเข้ามาขายในไทยก็ต้องทำตามข้อกฎหมายของไทยเช่นกัน คือ ต้องจดแจ้งก่อนการนำเข้าเพื่อขาย ต้องทำฉลากเป็นภาษาไทย และแสดงรายละเอียดฉลากให้ครบถ้วน
“ในด้านกฎหมายตอนนี้ข้อกำหนดของรายการสารทุกหมวด ไทยได้ปรับปรุงประกาศต่างๆ ให้สอดคล้องกับอาเซียนเกือบทั้งหมด เว้นสารฟลูออไรด์ที่ไทยกำหนดให้ใช้ไม่เกิน 1,100 ppm ขณะที่ต่างประเทศกำหนด 1,500 ppm เนื่องจากคนไทยเข้าถึงฟลูออไรด์ได้มากแล้วจากน้ำ เพราะมีสายแร่พาดผ่านหลายพื้นที่ ไม่จำเป็นต้องรับสารฟลูออไรด์ปริมาณสูงจากเครื่องสำอาง ซึ่งประเทศไทยได้รายงานเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการเครื่องสำอางอาเซียนแล้ว ดังนั้นแต่ละประเทศจะต้องแจ้งข้อกำหนดของสารต่างๆ เพื่อให้ทราบข้อแตกต่างในรายการสารที่ใช้เป็นส่วนผสมด้วย เพื่อให้ประเทศสมาชิกปฎิบัติได้สอดคล้องถูกต้องตามที่ตกลงไว้” รองเลขาธิการ อย.กล่าว
นพ.ไพศาล กล่าวด้วยว่า ขณะนี้การยกร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. .... ได้เข้าสู่การพิจารณากลั่นกรองของกฤษฎีกาแล้ว เพื่อให้กฎหมายมีความทันสมัย เท่าทันต่อเทคโนโลยี รวมไปถึงเรื่องของการเฝ้าระวัง และการเพิกถอนใบรับแจ้งเครื่องสำอางให้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มความระมัดระวังในการผลิต และเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ACD ยังกำหนดให้นำมาตรฐาน GMP มาใช้ในสถานที่ผลิตเครื่องสำอางด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานสถานที่ผลิตเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดย อย.ได้เตรียมที่จะออกหลักเกณฑ์มาตรฐานสถานที่ผลิตให้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ส่วนในอนาคต ACD ก็จะเน้นการกำกับการใช้สมุนไพรในเครื่องสำอางมากขึ้น