ปลัด สธ.ห่วงผู้สูงอายุหกล้ม เผยผลสำรวจสุขภาพของผู้สูงอายุล่าสุดในปี 2552 พบว่าผู้สูงอายุเกือบ 1 ใน 5 เคยหกล้ม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือพื้นลื่นพบร้อยละ 42 รองลงมาคือมีสิ่งกีดขวาง โดยลักษณะบ้านพักอาศัยขณะนี้พบมีเพียงร้อยละ 25 ที่ดัดแปลงให้เอื้อต่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุ โดยติดราวให้จับเดินในห้องนอนเพียงร้อยละ 3 ทำราวเดินในห้องน้ำเพียงร้อยละ 10
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 เมษายน ทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขมีความเป็นห่วงสุขภาพของผู้สูงอายุซึ่งเป้นกลุ่มที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะปัญหาการหกล้มซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บในผู้สูงอายุที่พบบ่อย และอาจเป็นการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต จากการศึกษาในต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา พบว่าการเสียชีวิตที่เกิดจากการบาดเจ็บในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไปร้อยละ 70 มีสาเหตุจากการหกล้ม และยังพบว่าร้อยละ 90 ของปัญหากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 70 ปีเป็นผลจากการหกล้มเช่นกัน ดังนั้นการหกล้มในผู้สูงอายุจึงเป็นปัญหาทางสุขภาพที่มีความสำคัญที่ต้องมีมาตรการป้องกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะที่พักอาศัยควรดัดแปลงให้มีความปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ
จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 4 เมื่อปี 2552 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบว่าผู้สูงอายุเคยหกล้มร้อยละ 19 ในรอบ 6 เดือนก่อนสำรวจ ผู้สูงอายุหญิงมีความชุกการหกล้ม ร้อยละ 22 ขณะที่ผู้ชายหกล้มร้อยละ 14 เกิดได้ทั้งผู้ที่อาศัยในเมืองและในชนบทใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้สูงอายุชายหกล้มนอกบ้านมากถึงร้อยละ 60 ในขณะที่ผู้สูงอายุหญิงมักหกล้มภายในบริเวณบ้านร้อยละ 55 สาเหตุของการหกล้มเกิดมาจากพื้นลื่นพบร้อยละ 42 รองลงมาคือการสะดุดสิ่งกีดขวางพบถึงร้อยละ 35 พื้นต่างระดับร้อยละ 24 และตกบันไดพบร้อยละ 4 การอยู่ในพื้นที่ที่มีพื้นลื่นทำให้เสี่ยงต่อการหกล้ม 1.7 เท่า
ด้านนายแพทย์นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร เพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายในบ้านที่ผู้สูงอายุอยู่อาศัย ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรในการปรับให้ผู้สูงอายุสามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัย ผลการสำรวจดังกล่าวพบว่าร้อยละ 25 ของบ้านที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัย โดยมีบ้านที่ติดราวเพื่อจับเดินในห้องน้ำห้องส้วมเพียงร้อยละ 10 และมีราวเกาะในห้องนอนเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น ร้อยละ 58 ของผูสูงอายุต้องใช้บันไดขึ้นลงทุกวัน พิจารณาลักษณะส้วมที่ใช้ร้อยละ 30 ของผู้สูงอายุใช้แบบนั่งห้อยขา ร้อยละ 69 ที่ใช้ส้วมแบบนั่งยองๆ และมีผู้สูงอายุร้อยละ 18 ต้องเดินพื้นที่ลื่น
นายแพทย์นันทศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขอแนะนำความปลอดภัยของผู้สูงอายุ หากมีปัญหาเรื่องการเดินหรือการทรงตัวควรหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หากเป็นไปได้ควรจัดห้องนอนอยู่ชั้นล่าง และปรับพื้นบ้านให้ใช้วัสดุที่ไม่ลื่น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ที่อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยสาหัส ทุพพลภาพ หรือการเสียชีวิตได้ รวมทั้งแนะนำให้ใช้ส้วมชนิดห้อยขาเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากผู้สูงวัยมีข้อจำกัดในการลุกนั่ง และการนั่งแบบงอเข่ามากเป็นเวลานานๆ จะมีผลต่อการไหลเวียนเลือดร่างกาย อาจมีอาการมืดหน้า เพราะสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 เมษายน ทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขมีความเป็นห่วงสุขภาพของผู้สูงอายุซึ่งเป้นกลุ่มที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะปัญหาการหกล้มซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บในผู้สูงอายุที่พบบ่อย และอาจเป็นการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต จากการศึกษาในต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา พบว่าการเสียชีวิตที่เกิดจากการบาดเจ็บในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไปร้อยละ 70 มีสาเหตุจากการหกล้ม และยังพบว่าร้อยละ 90 ของปัญหากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 70 ปีเป็นผลจากการหกล้มเช่นกัน ดังนั้นการหกล้มในผู้สูงอายุจึงเป็นปัญหาทางสุขภาพที่มีความสำคัญที่ต้องมีมาตรการป้องกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะที่พักอาศัยควรดัดแปลงให้มีความปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ
จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 4 เมื่อปี 2552 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบว่าผู้สูงอายุเคยหกล้มร้อยละ 19 ในรอบ 6 เดือนก่อนสำรวจ ผู้สูงอายุหญิงมีความชุกการหกล้ม ร้อยละ 22 ขณะที่ผู้ชายหกล้มร้อยละ 14 เกิดได้ทั้งผู้ที่อาศัยในเมืองและในชนบทใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้สูงอายุชายหกล้มนอกบ้านมากถึงร้อยละ 60 ในขณะที่ผู้สูงอายุหญิงมักหกล้มภายในบริเวณบ้านร้อยละ 55 สาเหตุของการหกล้มเกิดมาจากพื้นลื่นพบร้อยละ 42 รองลงมาคือการสะดุดสิ่งกีดขวางพบถึงร้อยละ 35 พื้นต่างระดับร้อยละ 24 และตกบันไดพบร้อยละ 4 การอยู่ในพื้นที่ที่มีพื้นลื่นทำให้เสี่ยงต่อการหกล้ม 1.7 เท่า
ด้านนายแพทย์นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร เพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายในบ้านที่ผู้สูงอายุอยู่อาศัย ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรในการปรับให้ผู้สูงอายุสามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัย ผลการสำรวจดังกล่าวพบว่าร้อยละ 25 ของบ้านที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัย โดยมีบ้านที่ติดราวเพื่อจับเดินในห้องน้ำห้องส้วมเพียงร้อยละ 10 และมีราวเกาะในห้องนอนเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น ร้อยละ 58 ของผูสูงอายุต้องใช้บันไดขึ้นลงทุกวัน พิจารณาลักษณะส้วมที่ใช้ร้อยละ 30 ของผู้สูงอายุใช้แบบนั่งห้อยขา ร้อยละ 69 ที่ใช้ส้วมแบบนั่งยองๆ และมีผู้สูงอายุร้อยละ 18 ต้องเดินพื้นที่ลื่น
นายแพทย์นันทศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขอแนะนำความปลอดภัยของผู้สูงอายุ หากมีปัญหาเรื่องการเดินหรือการทรงตัวควรหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หากเป็นไปได้ควรจัดห้องนอนอยู่ชั้นล่าง และปรับพื้นบ้านให้ใช้วัสดุที่ไม่ลื่น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ที่อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยสาหัส ทุพพลภาพ หรือการเสียชีวิตได้ รวมทั้งแนะนำให้ใช้ส้วมชนิดห้อยขาเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากผู้สูงวัยมีข้อจำกัดในการลุกนั่ง และการนั่งแบบงอเข่ามากเป็นเวลานานๆ จะมีผลต่อการไหลเวียนเลือดร่างกาย อาจมีอาการมืดหน้า เพราะสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว