เผยพื้นที่ห่างไกลใน อมก๋อย แม่ระมาด ชาวบ้านยังไร้ส้วมใช้ นิยมขับถ่ายในที่สาธารณะ สธ.เดินหน้ารณรงค์ใช้ห้องน้ำในบ้าน อสม.แทน เผย ลดพฤติกรรมขับถ่ายไม่ใช้ส้วมได้กว่า 20 ปีแล้ว ช่วยลดโรคท้องร่วงแพร่ระบาด ย้ำต้องรักษาความสะอาดทุกครั้งหลังใช้ส้วม
นพ.สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ อดีตรองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงพฤติกรรมการขับถ่ายโดยไม่ใช้ห้องน้ำในที่สาธารณะ ว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการปัสสาวะ หรืออุจจาระ โดยไม่ใช้ส้วมในพื้นที่สาธารณะ ถือว่าลดลงมาก อาจมีเพียง 1% เท่านั้น ที่ยังมีพฤติกรรมดังกล่าวอยู่ ส่วนมากมักเป็นชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลบนภูเขา หรือถิ่นทุรกันดาร อาทิ อมก๋อย แม่ระมาด ที่ยังไม่มีการสร้างห้องน้ำ เนื่องจากขนวัสดุอุปกรณ์ลำบากในการก่อสร้าง แต่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีการดำเนินงานโดยการสร้างส้วมและห้องน้ำขึ้นภายในบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และรณรงค์ให้ชาวบ้านที่ยังไม่มีส้วมสามารถเข้ามาใช้ส้วมในบ้านของ อสม.ได้
“ประเทศไทยสามารถลดพฤติกรรมการขับถ่าย โดยไม่ใช้ห้องน้ำในพื้นที่สาธารณะได้มากกว่า 20 ปีแล้ว ทำให้การแพร่กระจายเชื้อโรค แบคทีเรีย และพยาธิในลำไส้ ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงระบาดลดลงได้ ซึ่งขณะนี้ก็กำลังเร่งรณรงค์ให้ทุกครัวเรือน มีส้วมใช้ได้แล้วถึง 99%” อดีตรองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม เรื่องการขับถ่ายยังคงเป็นเรื่องพฤติกรรมและวิธีการใช้ของคน คือ ต้องราดน้ำทำความสะอาดทุกครั้ง หลังใช้ห้องส้วม หากเป็นส้วมภายในบ้านเรือน ควรมีการทำความสะอาดเป็นประจำ 2-3 วันต่อครั้ง และล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด ส่วนส้วมในพื้นที่สาธารณะก็ต้องช่วยรักษาความสะอาด ซึ่งขณะนี้ส้วมสาธารณะหลายแห่งมีความสะอาดอย่างมาก ทั้งในวัด สถานที่ราชการ หรือตามโรงเรียน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ มีการปรับห้องน้ำให้สะอาด ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้บริการได้ นอกจากนี้ ห้องน้ำในห้างสรรพสินค้า และโรงแรม ก็ถือว่ามีความสะอาดได้มาตรฐาน ส่วนกรณีคนเมาที่ชอบขับถ่ายข้างทาง ถือว่าลดน้อยลงเช่นกัน
ทั้งนี้ จากข้อมูลเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้ประเมินสุขลักษณะส้วมสาธารณะ จำนวน 4 แห่งใน กทม.ได้แก่ ส้วมสาธารณะด้านหน้าโรงพยาบาลราชวิถี ส้วมสาธารณะบริเวณฝั่งถนนพหลโยธิน ส้วมสาธารณะฝั่งแฟชั่นมอลล์ และส้วมสาธารณะฝั่งวิคตอรีพอยท์ พบว่า ส้วมสาธารณะในการกำกับดูแลของสำนักจราจรและขนส่ง (สจส.) ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ มีปัญหาในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1.ผนัง เพดาน ที่กดโถปัสสาวะ โถปัสสาวะ ไม่สะอาด มีคราบสกปรกและชำรุด 2.อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ กระจก ไม่สะอาด มีคราบสกปรกและชำรุด และ 3.ถังรองรับมูลฝอย มีลักษณะรั่วซึมได้ ไม่สะอาดและไม่มีฝาปิด
นพ.สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ อดีตรองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงพฤติกรรมการขับถ่ายโดยไม่ใช้ห้องน้ำในที่สาธารณะ ว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการปัสสาวะ หรืออุจจาระ โดยไม่ใช้ส้วมในพื้นที่สาธารณะ ถือว่าลดลงมาก อาจมีเพียง 1% เท่านั้น ที่ยังมีพฤติกรรมดังกล่าวอยู่ ส่วนมากมักเป็นชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลบนภูเขา หรือถิ่นทุรกันดาร อาทิ อมก๋อย แม่ระมาด ที่ยังไม่มีการสร้างห้องน้ำ เนื่องจากขนวัสดุอุปกรณ์ลำบากในการก่อสร้าง แต่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีการดำเนินงานโดยการสร้างส้วมและห้องน้ำขึ้นภายในบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และรณรงค์ให้ชาวบ้านที่ยังไม่มีส้วมสามารถเข้ามาใช้ส้วมในบ้านของ อสม.ได้
“ประเทศไทยสามารถลดพฤติกรรมการขับถ่าย โดยไม่ใช้ห้องน้ำในพื้นที่สาธารณะได้มากกว่า 20 ปีแล้ว ทำให้การแพร่กระจายเชื้อโรค แบคทีเรีย และพยาธิในลำไส้ ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงระบาดลดลงได้ ซึ่งขณะนี้ก็กำลังเร่งรณรงค์ให้ทุกครัวเรือน มีส้วมใช้ได้แล้วถึง 99%” อดีตรองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม เรื่องการขับถ่ายยังคงเป็นเรื่องพฤติกรรมและวิธีการใช้ของคน คือ ต้องราดน้ำทำความสะอาดทุกครั้ง หลังใช้ห้องส้วม หากเป็นส้วมภายในบ้านเรือน ควรมีการทำความสะอาดเป็นประจำ 2-3 วันต่อครั้ง และล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด ส่วนส้วมในพื้นที่สาธารณะก็ต้องช่วยรักษาความสะอาด ซึ่งขณะนี้ส้วมสาธารณะหลายแห่งมีความสะอาดอย่างมาก ทั้งในวัด สถานที่ราชการ หรือตามโรงเรียน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ มีการปรับห้องน้ำให้สะอาด ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้บริการได้ นอกจากนี้ ห้องน้ำในห้างสรรพสินค้า และโรงแรม ก็ถือว่ามีความสะอาดได้มาตรฐาน ส่วนกรณีคนเมาที่ชอบขับถ่ายข้างทาง ถือว่าลดน้อยลงเช่นกัน
ทั้งนี้ จากข้อมูลเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้ประเมินสุขลักษณะส้วมสาธารณะ จำนวน 4 แห่งใน กทม.ได้แก่ ส้วมสาธารณะด้านหน้าโรงพยาบาลราชวิถี ส้วมสาธารณะบริเวณฝั่งถนนพหลโยธิน ส้วมสาธารณะฝั่งแฟชั่นมอลล์ และส้วมสาธารณะฝั่งวิคตอรีพอยท์ พบว่า ส้วมสาธารณะในการกำกับดูแลของสำนักจราจรและขนส่ง (สจส.) ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ มีปัญหาในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1.ผนัง เพดาน ที่กดโถปัสสาวะ โถปัสสาวะ ไม่สะอาด มีคราบสกปรกและชำรุด 2.อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ กระจก ไม่สะอาด มีคราบสกปรกและชำรุด และ 3.ถังรองรับมูลฝอย มีลักษณะรั่วซึมได้ ไม่สะอาดและไม่มีฝาปิด