กรมศิลป์เปิดถกแผนแม่บทแหล่งมรดกโลกบ้านเชียงที่สกลนคร ให้ อปท.ประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ นอกจากแหล่งมรดกโลกบ้านเชียงที่อุดรธานี
นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนารับฟังความคิดเห็น “ร่างแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกโลกวัฒนธรรมบ้านเชียง บ้านดอนธงชัย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร” เมื่อเร็วๆ นี้ว่า สืบเนื่องจากในปี 2536 กรมศิลปากรได้รับแจ้งจาก นายสีห์พนม วิชิตวรสาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจ.สกลนครในขณะนั้นว่า พบแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเชียงที่บ้านดอนธงชัย ซึ่งเป็นแหล่งที่ยังคงมีความสมบูรณ์ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร จึงดำเนินการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านดอนธงชัย เมื่อปี 2537 จำนวน 20 หลุม และได้ข้อสรุปว่า แหล่งโบราณคดีแห่งนี้มีศักยภาพและความเหมาะสมในการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง และศูนย์ศึกษาแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือไปจากแหล่งมรดกโลกที่บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ต่อมาในปี 2540 จากนั้นสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น ได้ดำเนินการขุดค้นเพิ่มเติมอีก จำนวน 10 หลุม ที่วัดชัยมงคล บ้านดอนธงชัย เพื่อศึกษาการกระจายตัวหลักฐานทางโบราณคดี พร้อมทั้งจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเชียงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
นายสหวัฒน์ กล่าวว่า ศักยภาพและความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านดอนธงชัย ในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งศึกษามรดกโลกวัฒนธรรมบ้านเชียงที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 อนุมัติหลักการและกรอบวงเงินในการดำเนินการโครงการพิพิธภัณฑ์ดอนธงชัย ตามแผนแม่บทฯ ซึ่งกรมศิลปากรได้แต่งตั้งคณะทำงานทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเชียง วัดชัยมงคล บ้านดอนธงชัย ฉบับที่จัดทำในปี 2540 ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ทั้งในด้านหลักการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี โบราณวัตถุ แนวทางการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้ชื่อแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุงปี 2556 ว่า แผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกโลกวัฒนธรรมบ้านเชียง บ้านดอนธงชัย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
ซึ่งการเสวนารับฟังความคิดเห็นจะทำให้ทุกภาคส่วนรับทราบความสำคัญ เกิดความเข้าใจ การประสานงาน และความร่วมมือร่วมใจในการผลักดันให้การจัดทำแผนแม่บทฯ สำเร็จลุล่วง และนำไปสู่การปฏิบัติต่อไปในอนาคต เพื่อประโยชน์อันยั่งยืนของชุมชน ท้องถิ่นต่อไป
นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนารับฟังความคิดเห็น “ร่างแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกโลกวัฒนธรรมบ้านเชียง บ้านดอนธงชัย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร” เมื่อเร็วๆ นี้ว่า สืบเนื่องจากในปี 2536 กรมศิลปากรได้รับแจ้งจาก นายสีห์พนม วิชิตวรสาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจ.สกลนครในขณะนั้นว่า พบแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเชียงที่บ้านดอนธงชัย ซึ่งเป็นแหล่งที่ยังคงมีความสมบูรณ์ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร จึงดำเนินการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านดอนธงชัย เมื่อปี 2537 จำนวน 20 หลุม และได้ข้อสรุปว่า แหล่งโบราณคดีแห่งนี้มีศักยภาพและความเหมาะสมในการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง และศูนย์ศึกษาแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือไปจากแหล่งมรดกโลกที่บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ต่อมาในปี 2540 จากนั้นสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น ได้ดำเนินการขุดค้นเพิ่มเติมอีก จำนวน 10 หลุม ที่วัดชัยมงคล บ้านดอนธงชัย เพื่อศึกษาการกระจายตัวหลักฐานทางโบราณคดี พร้อมทั้งจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเชียงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
นายสหวัฒน์ กล่าวว่า ศักยภาพและความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านดอนธงชัย ในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งศึกษามรดกโลกวัฒนธรรมบ้านเชียงที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 อนุมัติหลักการและกรอบวงเงินในการดำเนินการโครงการพิพิธภัณฑ์ดอนธงชัย ตามแผนแม่บทฯ ซึ่งกรมศิลปากรได้แต่งตั้งคณะทำงานทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมบ้านเชียง วัดชัยมงคล บ้านดอนธงชัย ฉบับที่จัดทำในปี 2540 ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ทั้งในด้านหลักการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี โบราณวัตถุ แนวทางการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้ชื่อแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุงปี 2556 ว่า แผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกโลกวัฒนธรรมบ้านเชียง บ้านดอนธงชัย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
ซึ่งการเสวนารับฟังความคิดเห็นจะทำให้ทุกภาคส่วนรับทราบความสำคัญ เกิดความเข้าใจ การประสานงาน และความร่วมมือร่วมใจในการผลักดันให้การจัดทำแผนแม่บทฯ สำเร็จลุล่วง และนำไปสู่การปฏิบัติต่อไปในอนาคต เพื่อประโยชน์อันยั่งยืนของชุมชน ท้องถิ่นต่อไป