xs
xsm
sm
md
lg

ระดมสมองบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำห้วยหลวง ครั้งที่ 2

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

อุดรธานี - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 2 โครงการระบบเครือข่ายน้ำโครงข่ายพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยหลวง

วันนี้ (22 ม.ค.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการระบบเครือข่ายน้ำในพื้นที่วิกฤตน้ำ 19 พื้นที่ เพื่อศึกษาความเหมาะสม และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับพื้นที่ 4 ห้วยหลวง โดยมีนายอภิชัย เชียร์ศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุม ที่โรงแรมบ้านเชียง อ.เมือง จ.อุดรธานี

นายวัฒนา ไชยคุณ วิศวกรโยธาราบปฏิบัติการ สำนักทรัพยากรน้ำภาค 3 จ.อุดรธานี กล่าวว่า ตามที่มติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ วันที่ 15 มิถุนายน 2553 และมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 มิถุนายน 2553 อนุมัติให้กรมทรัพยากรน้ำศึกษาความเหมาะสมโครงการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในระดับลุ่มน้ำโขง ชี มูล โครงการนี้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 25554 ระยะเวลาดำเนินงาน 15 เดือน ปัจจุบันได้ขยายสัญญาถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556

ทั้งนี้ โครงการมีภารกิจ ประกอบด้วย 1. ศึกษาประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการน้ำภายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้น้ำพรมแดนแม่น้ำโขง และการใช้น้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน 2. ศึกษาความเหมาะสมวิเคราะห์ผลกกระทบสิ่งแวดล้อม ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และประเมินผลกระทบด้านสังคมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการ

3. ศึกษาจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารน้ำอย่างบูรณาการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4. ศึกษารูปแบบบริหารจัดการองค์กรน้ำ การปรับโครงสร้างการผลิต การเพิ่มมูลค่าผลผลิต และการตลาด ตลอดจนระเบียบ ข้อบังคับ ในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบ โดยประชาชนมีส่วนร่วม และ 5. รับฟังความคิดเห็น การประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอนตลอดระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ

นายวัฒนากล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนภาคส่วนต่างๆ และผู้มีส่วนได้เสียในระดับลุ่มน้ำโขง ชี มูล ครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัดแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งสรุปว่าจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และผันน้ำโขงมาเพิ่มในปลายฤดูฝน และทุกจังหวัดมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบน้ำ และจัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ต้นน้ำสำหรับแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง

“การประชุมครั้งนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 ในระดับพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยหลวง เพื่อนำเสนอรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการเครือข่ายน้ำ ผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้พิจารณาผลการศึกษาร่วมกัน โดยมีบริษัท เซ้าธ์อีสท์ เอเชีย เทคโนโลยี จำกัด เป็นผู้ศึกษาโครงการ

นายสุพจน์ เจียระนัยปรีเปรม วิศวกรแหล่งน้ำ บริษัท เซ้าธ์อีสท์ เอเชีย เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า สิ่งที่ต้องทำการแก้ไขอันดับแรกในภาคอีสานคือ แหล่งกักเก็บน้ำ โดยจะเน้นพัฒนาแหล่งน้ำเดิมให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยในลุ่มน้ำห้วยหลวงที่ได้ศึกษานั้น ขณะนี้มีอยู่กว่า 400 แห่งที่จะต้องรีบปรับปรุง ซึ่งแหล่งน้ำขนาดเล็กจะปรับให้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ส่วนแหล่งน้ำขนาดใหญ่หากสามารถส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้มากกว่า 500 ไร่จะวางเครือข่ายน้ำให้
กำลังโหลดความคิดเห็น