“หมอประดิษฐ” ลั่นไม่ลาออก บอกไม่ได้ทำผิดอะไร วอนแพทย์ชนบทอย่าดึงการเมืองมาปนเรื่องวิชาชีพ ย้ำอารยะขัดขืนทำได้ แต่ต้องชอบธรรม ห้ามทิ้งคนไข้ ด้านบุคลากรทางการแพทย์ยื่น 2.8 หมื่นรายหนุน P4P ขณะที่ภาคีเครือข่ายวิชาชีพการแพทย์ฯออกแถลงการณ์ P4P สร้างความสมดุล 3 มิติ
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังตัวแทนบุคลากรทางการแพทย์เข้าพบเพื่อให้กำลังใจ พร้อมยื่นรายชื่อบุคลากรทางการแพทย์ที่สนับสนุน P4P ขั้นต้น จำนวนกว่า 28,000 รายชื่อ ว่า ตนจะไม่ลาออก เพราะไม่ได้ทำผิดอะไร ที่ผ่านมาพยายามทำความเข้าใจร่วมกันมาโดยตลอด จากนี้อาจจะออกหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการเพื่อให้มานั่งหารือร่วมกัน เพราะหากไม่คุยเรื่องจะไม่จบ ซึ่งในเรื่องค่าตอบแทนนั้นตนได้มอบนโยบายให้มีการจ่ายแบบผสมผสานระหว่างจ่ายตามพื้นที่และแบบ P4P ส่วนในแนวปฏิบัติ หากกลุ่มที่คัดค้านเห็นว่า วิธีการปฏิบัติไม่สามารถดำเนินการได้หรือติดขัดอย่างไรก็มีสิทธิ์เข้ามาหารือ เพื่อจะได้นำเป็นแนววิธีการไปใช้ในการดำเนินการในระยะต่อไป หรือไม่เห็นด้วยกับการจัดแบ่งพื้นที่ รพช.ใหม่ก็สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 19 เม.ย.นี้
เมื่อถามถึงกรณีแพทย์ชนบทเตรียมดำเนินการแผนดาวกระจายกดดันให้ ส.ส.และกรรมการพรรคเพื่อไทย บีบออกจากตำแหน่ง นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ไม่เข้าใจว่าแพทย์ชนบทมองประเด็นค่าตอบแทนมาทำงานทางด้านการเมืองอย่างไร ทำไมถึงเอาวิชาชีพลงไปยุ่งกับงานทางการเมือง แต่ขอทำความเข้าใจเรื่องการชี้แจงกับประชาชนก่อนว่า ต้องชี้แจงในเรื่องที่ถูกต้องแล้วดูว่าภาคประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ และตนไม่คิดว่าเรื่องที่ทำเป็นเรื่องที่ผิด ประชาชนก็คงเข้าใจ ส.ส.เองก็เข้าใจ เพียงแต่กังวลว่าอย่าไปดึงการเมืองลงมายุ่ง ทุกวันนี้ก็เอาการเมืองมายุ่งโดยไม่เป็นระบบอยู่แล้ว ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องการเมือง การเมืองจะช่วยให้ระบบมั่นคงเท่านั้น เมื่อได้รับการอนุมัติมาแล้วก็ไม่ควรเอาการเมืองมายุ่งให้มากกว่านี้อีก และยังไม่เห็นว่า ส.ส.ในพรรคจะแสดงความไม่พอใจ มีแต่สนับสนุน เพียงแต่ขอให้เดินหน้าทำความเข้าใจให้มากขึ้น ซึ่งตนพร้อมทำความเข้าใจกับทุกคน และพรรคไม่ได้ขอให้ตนชี้แจงเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะมีความเข้าใจในเรื่องนี้และที่มาที่ไปอย่างดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเคลื่อนไหวแบบดาวกระจายของแพทย์ชนบทจะส่งผลต่อการทำงานหรือไม่ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ถ้าจะส่งผลก็คืออยากให้แพทย์เอาเวลาไปทำงาน ดูแลประชาชน รักษาประชาชน และทำความเข้าใจกับประชาชน หากไปเคลื่อนไหวในเวลาที่ไม่เสียงานก็ไม่ว่าอะไร จะส่งผลต่อเมื่อเอาเวลางานไปเคลื่อนไหว ไม่น่าจะมีผลอะไรถ้าไม่มีการเอาเวลาทำงานไปทำก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไร
“การอารยะขัดขืนที่ทำต่อผม ผมไม่ถืออะไร เพราะให้อภัยทั้งหมดหากเป็นการกระทำอะไรที่ล่วงเกิน แต่การกระทำบางอย่างขอให้กระทำอย่างสมควร เพราะบางครั้งการแต่งดำในบางทีก็อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดบางเรื่องได้ อารยะขัดขืนก็ต้องแปลก่อนว่า ถ้าขัดขืนหมายถึงสิ่งที่จะไม่ทำตามหน้าที่ที่ควรกระทำอันนี้คงไม่ยอม แต่ถ้าเป็นการกระทำที่ชอบธรรมอยู่ก็ไม่ว่ากัน เช่น บางคนบอกว่าจะไม่ไหว้ผม ก็ไม่ว่ากัน เพราะไม่ได้มีในระเบียบราชการว่าต้องไหว้ผู้บังคับบัญชา แต่หากมีการประชุมวางแผนดูแลประชาชนก็ต้องมา และลงไปทำในการดูแลประชาชนแบบนี้อารยะขัดขืนไม่ได้” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน ภาคีเครือข่ายวิชาชีพการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบด้วยแพทยสภา แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ กลุ่มสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางแห่งประเทศไทย (ราชวิทยาลัย) สภาการพยาบาล สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาเทคนิคการแพทย์ ได้ร่วมออกแถลงการณ์ ดังนี้ สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 31 มีนาคม 2556 ที่อนุมัติในหลักการให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลากรและให้กระทรวงสาธารณสุขออกเกณฑ์ระเบียบได้แล้วนั้น ก่อให้เกิดกระแสทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในสังคม สื่อมวลชน อันอาจก่อให้เกิดความสับสนของประชาชนและสุ่มเสี่ยงต่อการแบ่งแยกในกระทรวงสาธารณสุข ด้วยความกังวลอย่างยิ่งภาคีเครือข่ายวิชาชีพฯได้พิจารณากรณีการปรับเปลี่ยนวิธีการจ่ายค่าตอบแทนนี้อย่างถี่ถ้วน มีความเห็นร่วมกันว่า การปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน (Pay for Performance) เป็นการสร้างความสมดุลใน 3 มิติ ได้แก่ มิติระหว่างโรงพยาบาลทุกระดับ มิติระหว่างวิชาชีพ มิติระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพโดยใช้หลักการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อระบบ ส่งผลถึงประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยั่งยืน และเมื่อพิจารณาในประเด็นหลัก ภาคีเครือข่ายฯมีมติ ความเห็นดังนี้
1.โรงพยาบาลที่ทุรกันดาร เสี่ยงภัย และขาดแคลนบุคลากร ยังคงได้รับค่าตอบแทนเช่นเดิม 2.เป็นการจ่ายค่าตอบแทนบางส่วนอย่างมีเหตุผล ตามภาระงาน อันเป็นหลักการสากล 3.เป็นการสรุปจากการทดลองของโรงพยาบาลนำร่องเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งได้ผลดีมากกว่าผลเสีย 4.เป็นเหตุผลด้านงบประมาณที่ใช้อ้างอิงต่อสำนักงบประมาณ 5.เป็นการกระจายค่าตอบแทนให้บุคลากรทุกระดับอย่างครอบคลุมและไม่เหลื่อมล้ำ 6.มีความยืดหยุ่น ในเรื่องกรอบเงิน กรอบเวลา และวิธีการของแต่ละโรงพยาบาล 7.เน้นการมีส่วนร่วมของแต่ละวิชาชีพ ซึ่งจะดูแล ควบคุมกันเองอย่างมีประสิทธิภาพ และ 8.วงเงินโดยรวมเท่าเดิม ไม่น้อยกว่าประกาศฯกระทรวงสาธารณสุข ฉบับ 4, 6, 7
ข้อเสนอแนะ 1.กระทรวงสาธารณสุขต้องเร่งรัดสนับสนุนทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติ หลักเกณฑ์วิธีการนับผลงานอย่างอดทน และสร้างความเข้าใจต่อสังคม 2.กระทรวงสาธารณสุขต้องออกแบบเกณฑ์ วิธีการนับผลงานให้เหมาะสมและสะดวกกับแต่ละระดับของโรงพยาบาลเพื่อสามารถปฏิบัติได้โดยง่าย โดยเฉพาะในช่วงแรก เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
แพทยสภา แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ กลุ่มสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางแห่งประเทศไทย(ราชวิทยาลัย) สภาการพยาบาล สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาเทคนิคการแพทย์ ในฐานะผู้แทนตามกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพทั้งประเทศ จึงสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการจ่ายบางส่วนแบบผสมผสาน ตามมติคณะรัฐมนตรี ภาคีเครือข่ายวิชาชีพฯ ยังศรัทธาผู้ประกอบวิชาชีพจะทรงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์วิชาชีพ จริยธรรม ความซื่อสัตย์ รักษาความสามัคคีภายใต้ความคิดที่แตกต่างได้ ภาคีเครือข่ายวิชาชีพฯเชื่อมั่นในพระราชดำรัสของพระราชบิดา “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัว เป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ ให้บริสุทธิ์” เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังตัวแทนบุคลากรทางการแพทย์เข้าพบเพื่อให้กำลังใจ พร้อมยื่นรายชื่อบุคลากรทางการแพทย์ที่สนับสนุน P4P ขั้นต้น จำนวนกว่า 28,000 รายชื่อ ว่า ตนจะไม่ลาออก เพราะไม่ได้ทำผิดอะไร ที่ผ่านมาพยายามทำความเข้าใจร่วมกันมาโดยตลอด จากนี้อาจจะออกหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการเพื่อให้มานั่งหารือร่วมกัน เพราะหากไม่คุยเรื่องจะไม่จบ ซึ่งในเรื่องค่าตอบแทนนั้นตนได้มอบนโยบายให้มีการจ่ายแบบผสมผสานระหว่างจ่ายตามพื้นที่และแบบ P4P ส่วนในแนวปฏิบัติ หากกลุ่มที่คัดค้านเห็นว่า วิธีการปฏิบัติไม่สามารถดำเนินการได้หรือติดขัดอย่างไรก็มีสิทธิ์เข้ามาหารือ เพื่อจะได้นำเป็นแนววิธีการไปใช้ในการดำเนินการในระยะต่อไป หรือไม่เห็นด้วยกับการจัดแบ่งพื้นที่ รพช.ใหม่ก็สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 19 เม.ย.นี้
เมื่อถามถึงกรณีแพทย์ชนบทเตรียมดำเนินการแผนดาวกระจายกดดันให้ ส.ส.และกรรมการพรรคเพื่อไทย บีบออกจากตำแหน่ง นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ไม่เข้าใจว่าแพทย์ชนบทมองประเด็นค่าตอบแทนมาทำงานทางด้านการเมืองอย่างไร ทำไมถึงเอาวิชาชีพลงไปยุ่งกับงานทางการเมือง แต่ขอทำความเข้าใจเรื่องการชี้แจงกับประชาชนก่อนว่า ต้องชี้แจงในเรื่องที่ถูกต้องแล้วดูว่าภาคประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ และตนไม่คิดว่าเรื่องที่ทำเป็นเรื่องที่ผิด ประชาชนก็คงเข้าใจ ส.ส.เองก็เข้าใจ เพียงแต่กังวลว่าอย่าไปดึงการเมืองลงมายุ่ง ทุกวันนี้ก็เอาการเมืองมายุ่งโดยไม่เป็นระบบอยู่แล้ว ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องการเมือง การเมืองจะช่วยให้ระบบมั่นคงเท่านั้น เมื่อได้รับการอนุมัติมาแล้วก็ไม่ควรเอาการเมืองมายุ่งให้มากกว่านี้อีก และยังไม่เห็นว่า ส.ส.ในพรรคจะแสดงความไม่พอใจ มีแต่สนับสนุน เพียงแต่ขอให้เดินหน้าทำความเข้าใจให้มากขึ้น ซึ่งตนพร้อมทำความเข้าใจกับทุกคน และพรรคไม่ได้ขอให้ตนชี้แจงเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะมีความเข้าใจในเรื่องนี้และที่มาที่ไปอย่างดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเคลื่อนไหวแบบดาวกระจายของแพทย์ชนบทจะส่งผลต่อการทำงานหรือไม่ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ถ้าจะส่งผลก็คืออยากให้แพทย์เอาเวลาไปทำงาน ดูแลประชาชน รักษาประชาชน และทำความเข้าใจกับประชาชน หากไปเคลื่อนไหวในเวลาที่ไม่เสียงานก็ไม่ว่าอะไร จะส่งผลต่อเมื่อเอาเวลางานไปเคลื่อนไหว ไม่น่าจะมีผลอะไรถ้าไม่มีการเอาเวลาทำงานไปทำก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไร
“การอารยะขัดขืนที่ทำต่อผม ผมไม่ถืออะไร เพราะให้อภัยทั้งหมดหากเป็นการกระทำอะไรที่ล่วงเกิน แต่การกระทำบางอย่างขอให้กระทำอย่างสมควร เพราะบางครั้งการแต่งดำในบางทีก็อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดบางเรื่องได้ อารยะขัดขืนก็ต้องแปลก่อนว่า ถ้าขัดขืนหมายถึงสิ่งที่จะไม่ทำตามหน้าที่ที่ควรกระทำอันนี้คงไม่ยอม แต่ถ้าเป็นการกระทำที่ชอบธรรมอยู่ก็ไม่ว่ากัน เช่น บางคนบอกว่าจะไม่ไหว้ผม ก็ไม่ว่ากัน เพราะไม่ได้มีในระเบียบราชการว่าต้องไหว้ผู้บังคับบัญชา แต่หากมีการประชุมวางแผนดูแลประชาชนก็ต้องมา และลงไปทำในการดูแลประชาชนแบบนี้อารยะขัดขืนไม่ได้” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน ภาคีเครือข่ายวิชาชีพการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบด้วยแพทยสภา แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ กลุ่มสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางแห่งประเทศไทย (ราชวิทยาลัย) สภาการพยาบาล สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาเทคนิคการแพทย์ ได้ร่วมออกแถลงการณ์ ดังนี้ สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 31 มีนาคม 2556 ที่อนุมัติในหลักการให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลากรและให้กระทรวงสาธารณสุขออกเกณฑ์ระเบียบได้แล้วนั้น ก่อให้เกิดกระแสทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในสังคม สื่อมวลชน อันอาจก่อให้เกิดความสับสนของประชาชนและสุ่มเสี่ยงต่อการแบ่งแยกในกระทรวงสาธารณสุข ด้วยความกังวลอย่างยิ่งภาคีเครือข่ายวิชาชีพฯได้พิจารณากรณีการปรับเปลี่ยนวิธีการจ่ายค่าตอบแทนนี้อย่างถี่ถ้วน มีความเห็นร่วมกันว่า การปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน (Pay for Performance) เป็นการสร้างความสมดุลใน 3 มิติ ได้แก่ มิติระหว่างโรงพยาบาลทุกระดับ มิติระหว่างวิชาชีพ มิติระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพโดยใช้หลักการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อระบบ ส่งผลถึงประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยั่งยืน และเมื่อพิจารณาในประเด็นหลัก ภาคีเครือข่ายฯมีมติ ความเห็นดังนี้
1.โรงพยาบาลที่ทุรกันดาร เสี่ยงภัย และขาดแคลนบุคลากร ยังคงได้รับค่าตอบแทนเช่นเดิม 2.เป็นการจ่ายค่าตอบแทนบางส่วนอย่างมีเหตุผล ตามภาระงาน อันเป็นหลักการสากล 3.เป็นการสรุปจากการทดลองของโรงพยาบาลนำร่องเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งได้ผลดีมากกว่าผลเสีย 4.เป็นเหตุผลด้านงบประมาณที่ใช้อ้างอิงต่อสำนักงบประมาณ 5.เป็นการกระจายค่าตอบแทนให้บุคลากรทุกระดับอย่างครอบคลุมและไม่เหลื่อมล้ำ 6.มีความยืดหยุ่น ในเรื่องกรอบเงิน กรอบเวลา และวิธีการของแต่ละโรงพยาบาล 7.เน้นการมีส่วนร่วมของแต่ละวิชาชีพ ซึ่งจะดูแล ควบคุมกันเองอย่างมีประสิทธิภาพ และ 8.วงเงินโดยรวมเท่าเดิม ไม่น้อยกว่าประกาศฯกระทรวงสาธารณสุข ฉบับ 4, 6, 7
ข้อเสนอแนะ 1.กระทรวงสาธารณสุขต้องเร่งรัดสนับสนุนทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติ หลักเกณฑ์วิธีการนับผลงานอย่างอดทน และสร้างความเข้าใจต่อสังคม 2.กระทรวงสาธารณสุขต้องออกแบบเกณฑ์ วิธีการนับผลงานให้เหมาะสมและสะดวกกับแต่ละระดับของโรงพยาบาลเพื่อสามารถปฏิบัติได้โดยง่าย โดยเฉพาะในช่วงแรก เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
แพทยสภา แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ กลุ่มสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางแห่งประเทศไทย(ราชวิทยาลัย) สภาการพยาบาล สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาเทคนิคการแพทย์ ในฐานะผู้แทนตามกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพทั้งประเทศ จึงสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการจ่ายบางส่วนแบบผสมผสาน ตามมติคณะรัฐมนตรี ภาคีเครือข่ายวิชาชีพฯ ยังศรัทธาผู้ประกอบวิชาชีพจะทรงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์วิชาชีพ จริยธรรม ความซื่อสัตย์ รักษาความสามัคคีภายใต้ความคิดที่แตกต่างได้ ภาคีเครือข่ายวิชาชีพฯเชื่อมั่นในพระราชดำรัสของพระราชบิดา “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัว เป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ ให้บริสุทธิ์” เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน