วงถกค่าตอบแทนมีมติเปลี่ยนอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายระยะ 2 ให้เป็นตัวเลขลอย สามารถเปลี่ยนได้หลังพ้นระยะ 1 ที่เหลือเห็นชอบทั้งหมด! ด้าน “หมอประดิษฐ” ไม่แคร์! แพทย์ชนบทฟ้องศาลปกครองหากเดินหน้าจ่าย P4P บอกเป็นสิทธิ์ที่ทำได้ แต่ย้อนถามหากวิชาชีพอื่นฟ้องกลับจะว่าอย่างไร สพศท.ชี้ฟ้องจริงเตรียมถูกสอบวินัย
วันนี้ (28 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาทบทวนค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยกับหลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบผสมผสานคือ ยังคงมีทั้งเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายและตามภาระงาน (P4P : Pay for Performance) โดยพื้นที่เสี่ยงภัย ทุรกันดารยังคงมีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายในอัตราเดิม ส่วนการจ่ายแบบ P4P จะมีการพิจารณาทั้งจากภาระงานและภารกิจ ไม่ใช่แค่การตรวจคนไข้อย่างเดียว แต่รวมงานส่งเสริมป้องกันโรคด้วย เป็นต้น ที่สำคัญยังพิจารณาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยกับการจัดแบ่งพื้นที่โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ใหม่ และตัวเลขอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ซึ่งแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกเริ่ม 1 เม.ย. 2556 และระยะ 2 เริ่ม 1 เม.ย. 2557 ซึ่งระยะที่ 2 สามารถดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดได้ตามผลการประเมินของการใช้ในระยะที่ 1
“กรณีเชิญกลุ่มแพทย์ชนบทประชุมแล้วแต่ไม่มา ทราบว่าจะไปชี้แจงกับคณะกรรมการกลั่นกรองเลย ก็เสียใจที่ว่าทำไมไม่มาหารือในรายละเอียดร่วมกันก่อน แล้วเข้าไปให้ข้อมูลกับคณะกรรมการกลั่นกรองเลยนั้นจะได้รายละเอียดไม่ครบ เพราะมีเวลาจำกัด ส่วนการจะฟ้องศาลปกครองหากรัฐบาลเดินหน้าปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนเพราะถือว่าทำให้เสียสิทธิ์นั้น สามารถทำได้ตามสิทธิ์ที่มี แต่ขอถามว่าถ้าวิชาชีพอื่นไปฟ้องศาลเช่นกันว่า การไม่ดำเนินการเรื่องนี้ทำให้เสียสิทธิ์บ้างจะเป็นอย่างไร” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดสธ. กล่าวว่า สธ.ได้ดำเนินการประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตามที่ ครม.มอบหมาย เมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ ผู้แทนจากกรมต่างๆที่มีหน่วยบริการในสังกัด ชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาลจาก รพศ./รพท.และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) สภาการพยาบาล ทันตแพทยสภา ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และสหวิชาชีพต่างๆ ส่วนแพทย์จาก รพช.ไม่เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบ 3 เรื่องหลัก คือ 1.การแบ่ง รพช.ออกเป็น 4 พื้นที่คือ พื้นที่ชุมชนเมือง พื้นที่ปกติ พื้นทีเฉพาะระดับ 1 และพื้นที่เฉพาะระดับ 2 เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน โดยจะแจ้งให้พื้นที่ทราบและเปิดให้มีการเสนอความเห็นเพิ่มเติมสำหรับการทบทวนภายใน 19 เม.ย.นี้ 2.การกำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เห็นด้วยตามที่ สธ.กำหนด แต่เภสัชกรขอให้มีการพิจารณา เนื่องจากได้รับเพียง 3,000 บาท ส่วนในระยะที่ 2 มีการเสนอให้เป็นตัวเลขอ้างอิง สามารถปรับได้หลังประเมินผลการดำเนินการพ้นระยะที่ 1 และ 3.หลักการจ่ายแบบ P4P ซึ่งขณะนี้ทุกวิชาชีพพร้อมที่จะดำเนินการเก็บข้อมูล ส่วนพื้นที่ที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่ดี สธ.และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) จะเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือ
“จากนี้ สธ.จะต้องไปพิจารณาในการออกระเบียบ 2 ฉบับ คือ ระเบียบเรื่องเงินบำรุงโรงพยาบาล ว่าด้วยอัตราค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ให้เป็นไปตามที่มีการกำหนดใหม่ที่จะใช้ในระยะที่ 1 และระเบียบเรื่องเงินบำรุงโรงพยาบาล ว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างระเบียบทั้ง 2 ฉบับ” ปลัด สธ.กล่าว
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) กล่าวว่า หากกลุ่มแพทย์ชนบทจะยื่นฟ้องศาลปกครองจริงก็ขอให้คิดทบทวนก่อน เนื่องจากหากยืนยันที่จะฟ้องก็จะต้องเตรียมถูกสอบวินัยจาก 2 สาเหตุ คือ 1.สร้างความแตกแยกให้กับ สธ.โดยการให้ข้อมูลเท็จและกล่าวหาผู้บังคับบัญชา และ 2.ไม่ให้ความร่วมมือกับ สธ.เพราะในการประชุมเรื่องค่าตอบแทนในวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา ทุกฝ่ายทุกกลุ่มวิชาชีพเข้าร่วมประชุมหมด ยกเว้นกลุ่มแพทย์ชนบทเท่านั้น ซึ่งในการประชุมทุกฝ่ายก็เห็นด้วยกับหลักการ และจะเริ่มดำเนินการไปก่อน 1 ปี หากมีปัญหาในเรื่องใดก็ค่อยปรับปรุงและแก้ไขต่อไป
ล้อมกรอบ
สำหรับ รพช.มีจำนวนทั้งสิ้น 738 แห่ง การจัดพื้นที่ใหม่ แบ่งเป็นพื้นที่ชุมชนเมือง 33 แห่ง ได้แก่ รพช.เขตเมือง 13 แห่ง รพ.บางกรวย รพ.บางบัวทอง รพ.บางใหญ่ รพ.ปากเกร็ด รพ.พนัสนิคม รพ.บ้านบึง รพ.อ่าวอุดม รพ.บางบ่อ รพ.บางจาก รพ.สามพราน รพ.ป่าตอง รพ.ถลาง และ รพ.หางดง
ส่วน รพช.เตรียมยกเป็น รพท.20 แห่ง ได้แก่ รพ.บางละมุง รพ.กบินทร์บุรี รพ.บางพลี รพ.แกลง รพ.อรัญประเทศ รพ.มาบตาพุด รพ.ชุมแพ รพ.กุมภวาปี รพ.เดชอุดม รพ.50 พรรษาฯ รพ.วารินชำราบ รพ.ปากช่องนานา รพ.เทพรัตน์นครราชสีมา รพ.สว่างแดนดิน รพ.นางรอง รพ.ปราสาท รพ.ฝาง รพ.จอมทอง รพ.สิชล และ รพ.ทุ่งสง
รพช.พื้นที่เฉพาะระดับ 1 จำนวน 66 แห่ง ประกอบด้วย รพ.เซกา รพ.ทองผาภูมิ รพ.ปาย รพ.แม่สะเรียง รพ.ลี้ รพ.เชียงของ รพ.ด่านซ้าย รพ.นครไทย รพ.กงหรา รพ.เกาะช้าง รพ.เกาะพะงัน รพ.คุระบุรีชัยพัฒน์ รพ.ชัยบุรี รพ.ชาติตระการ รพ.ชานุมาร รพ.เชียงม่วน รพ.ดงหลวง รพ.ดอยเต่า รพ.ตาพระยา รพ.ถ้ำพรรณรา
รพ.ท่าคันโท รพ.ทุ่งช้าง รพ.ทุ่งหว้า รพ.ทุ่งหัวช้าง รพ.เทพา รพ.นาจะหลวย รพ.นาทม รพ.นาน้อย รพ.นายูง รพ.นาหมื่น รพ.น้ำเกลี้ยง รพ.น้ำยืน รพ.น้ำโสม รพ.น้ำหนาว รพ.นิคมน้ำอูน รพ.โนนคูณ รพ.บางขัน รพ.บ้านหลวง รพ.บึงโขงหลง รพ.บุ่งคล้า
รพ.ปากชม รพ.ปางศิลาทอง รพ.พนมดงรักฯ รพ.พบพระ รพ.พะโต๊ะ รพ.ฟากท่า รพ.ภักดีชุมพล รพ.ภูสิงห์ รพ.ภูหลวง รพ.เมยวดี รพ.เมืองจันทร์ รพ.แม่แจ่ม รพ.แม่พริก รพ.แม่ระมาด รพ.แม่วงก์ รพ.แม่อาย รพ.ยางสีสุหราช รพ.ละอุ่น รพ.ศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์ รพ.พยาบาลสถานพระบารมี รพ.สมเด็นพระปิยฯ รพ.สองแคว รพ.สังคม รพ.สันติสุข รพ.สุขสำราญ และ รพ.จะนะ
รพช.พื้นที่เฉพาะระดับ 2 จำนวน 48 แห่ง ได้แก่ รพ.โคกโพธิ์ รพ.ท่าสองยาง รพ.ระแงะ รพ.รามัน รพ.รือเสาะ รพ.อุ้มผาง รพ.ยะหา รพ.สายบุรี รพ.ยี่งอฯ รพ.กรงปีนัง รพ.กะพ้อ รพ.กาบัง รพ.เกาะกูด รพ.เกาะยาวชัยพัฒน์ รพ.เกาะลันตา
รพ.ขุนยวม รพ.จะแนะ รพ.เจาะไอร้อง รพ.เฉลิมพระเกียรติ รพ.ตากใบ รพ.ทุ่งยางแดง รพ.ธารโต รพ.นาแห้ว รพ.บ่อเกลือ รพ.บันนังสตา รพ.บาเจาะ รพ.บ้านโคก รพ.ปะนาเระ รพ.ปางมะผ้า รพ.มายอ
รพ.แม่ฟ้าหลวง ระ.แม่ลาน รพ.แม่ลาน้อย รพ.ไม้แก่น รพ.ยะรัง รพ.ยะหริ่ง รพ.เวียงแก่น รพ.เวียงแหง รพ.แว้ง รพ.ศรีสาคร รพ.สบเมย รพ.สะบ้าย้อย รพ.สังขละบุรี รพ.สุคิริน รพ.สุไหงปาดี รพ.หนองจิก รพ.อมก๋อย และรพ.วัดจันทร์ฯ นอกเหนือจากนี้จัดเป็น รพช.พื้นที่ปกติ จำนวน 591 แห่ง
ส่วน รพท./รพศ.แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ พื้นที่ปกติ 87 แห่ง พื้นที่เฉพาะ กลุ่ม ก จำนวน 7 แห่ง คือ รพ.เกาะสมุย รพ.ตะกั่วป่า รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ รพ.ปัตตานี รพ.ยะลา รพ.บึงกาฬ และ รพ.สุไหงโก-ลก ส่วนพื้นที่เฉพาะ กลุ่ม ข จำนวน 2 แห่ง คือ รพ.เบตง จ.ยะลา และ รพ.ศรีสังวาล จ.แม่ฮ่องสอน
วันนี้ (28 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาทบทวนค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยกับหลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบผสมผสานคือ ยังคงมีทั้งเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายและตามภาระงาน (P4P : Pay for Performance) โดยพื้นที่เสี่ยงภัย ทุรกันดารยังคงมีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายในอัตราเดิม ส่วนการจ่ายแบบ P4P จะมีการพิจารณาทั้งจากภาระงานและภารกิจ ไม่ใช่แค่การตรวจคนไข้อย่างเดียว แต่รวมงานส่งเสริมป้องกันโรคด้วย เป็นต้น ที่สำคัญยังพิจารณาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยกับการจัดแบ่งพื้นที่โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ใหม่ และตัวเลขอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ซึ่งแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกเริ่ม 1 เม.ย. 2556 และระยะ 2 เริ่ม 1 เม.ย. 2557 ซึ่งระยะที่ 2 สามารถดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดได้ตามผลการประเมินของการใช้ในระยะที่ 1
“กรณีเชิญกลุ่มแพทย์ชนบทประชุมแล้วแต่ไม่มา ทราบว่าจะไปชี้แจงกับคณะกรรมการกลั่นกรองเลย ก็เสียใจที่ว่าทำไมไม่มาหารือในรายละเอียดร่วมกันก่อน แล้วเข้าไปให้ข้อมูลกับคณะกรรมการกลั่นกรองเลยนั้นจะได้รายละเอียดไม่ครบ เพราะมีเวลาจำกัด ส่วนการจะฟ้องศาลปกครองหากรัฐบาลเดินหน้าปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนเพราะถือว่าทำให้เสียสิทธิ์นั้น สามารถทำได้ตามสิทธิ์ที่มี แต่ขอถามว่าถ้าวิชาชีพอื่นไปฟ้องศาลเช่นกันว่า การไม่ดำเนินการเรื่องนี้ทำให้เสียสิทธิ์บ้างจะเป็นอย่างไร” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดสธ. กล่าวว่า สธ.ได้ดำเนินการประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตามที่ ครม.มอบหมาย เมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ ผู้แทนจากกรมต่างๆที่มีหน่วยบริการในสังกัด ชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาลจาก รพศ./รพท.และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) สภาการพยาบาล ทันตแพทยสภา ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และสหวิชาชีพต่างๆ ส่วนแพทย์จาก รพช.ไม่เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบ 3 เรื่องหลัก คือ 1.การแบ่ง รพช.ออกเป็น 4 พื้นที่คือ พื้นที่ชุมชนเมือง พื้นที่ปกติ พื้นทีเฉพาะระดับ 1 และพื้นที่เฉพาะระดับ 2 เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน โดยจะแจ้งให้พื้นที่ทราบและเปิดให้มีการเสนอความเห็นเพิ่มเติมสำหรับการทบทวนภายใน 19 เม.ย.นี้ 2.การกำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เห็นด้วยตามที่ สธ.กำหนด แต่เภสัชกรขอให้มีการพิจารณา เนื่องจากได้รับเพียง 3,000 บาท ส่วนในระยะที่ 2 มีการเสนอให้เป็นตัวเลขอ้างอิง สามารถปรับได้หลังประเมินผลการดำเนินการพ้นระยะที่ 1 และ 3.หลักการจ่ายแบบ P4P ซึ่งขณะนี้ทุกวิชาชีพพร้อมที่จะดำเนินการเก็บข้อมูล ส่วนพื้นที่ที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่ดี สธ.และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) จะเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือ
“จากนี้ สธ.จะต้องไปพิจารณาในการออกระเบียบ 2 ฉบับ คือ ระเบียบเรื่องเงินบำรุงโรงพยาบาล ว่าด้วยอัตราค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ให้เป็นไปตามที่มีการกำหนดใหม่ที่จะใช้ในระยะที่ 1 และระเบียบเรื่องเงินบำรุงโรงพยาบาล ว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างระเบียบทั้ง 2 ฉบับ” ปลัด สธ.กล่าว
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) กล่าวว่า หากกลุ่มแพทย์ชนบทจะยื่นฟ้องศาลปกครองจริงก็ขอให้คิดทบทวนก่อน เนื่องจากหากยืนยันที่จะฟ้องก็จะต้องเตรียมถูกสอบวินัยจาก 2 สาเหตุ คือ 1.สร้างความแตกแยกให้กับ สธ.โดยการให้ข้อมูลเท็จและกล่าวหาผู้บังคับบัญชา และ 2.ไม่ให้ความร่วมมือกับ สธ.เพราะในการประชุมเรื่องค่าตอบแทนในวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา ทุกฝ่ายทุกกลุ่มวิชาชีพเข้าร่วมประชุมหมด ยกเว้นกลุ่มแพทย์ชนบทเท่านั้น ซึ่งในการประชุมทุกฝ่ายก็เห็นด้วยกับหลักการ และจะเริ่มดำเนินการไปก่อน 1 ปี หากมีปัญหาในเรื่องใดก็ค่อยปรับปรุงและแก้ไขต่อไป
ล้อมกรอบ
สำหรับ รพช.มีจำนวนทั้งสิ้น 738 แห่ง การจัดพื้นที่ใหม่ แบ่งเป็นพื้นที่ชุมชนเมือง 33 แห่ง ได้แก่ รพช.เขตเมือง 13 แห่ง รพ.บางกรวย รพ.บางบัวทอง รพ.บางใหญ่ รพ.ปากเกร็ด รพ.พนัสนิคม รพ.บ้านบึง รพ.อ่าวอุดม รพ.บางบ่อ รพ.บางจาก รพ.สามพราน รพ.ป่าตอง รพ.ถลาง และ รพ.หางดง
ส่วน รพช.เตรียมยกเป็น รพท.20 แห่ง ได้แก่ รพ.บางละมุง รพ.กบินทร์บุรี รพ.บางพลี รพ.แกลง รพ.อรัญประเทศ รพ.มาบตาพุด รพ.ชุมแพ รพ.กุมภวาปี รพ.เดชอุดม รพ.50 พรรษาฯ รพ.วารินชำราบ รพ.ปากช่องนานา รพ.เทพรัตน์นครราชสีมา รพ.สว่างแดนดิน รพ.นางรอง รพ.ปราสาท รพ.ฝาง รพ.จอมทอง รพ.สิชล และ รพ.ทุ่งสง
รพช.พื้นที่เฉพาะระดับ 1 จำนวน 66 แห่ง ประกอบด้วย รพ.เซกา รพ.ทองผาภูมิ รพ.ปาย รพ.แม่สะเรียง รพ.ลี้ รพ.เชียงของ รพ.ด่านซ้าย รพ.นครไทย รพ.กงหรา รพ.เกาะช้าง รพ.เกาะพะงัน รพ.คุระบุรีชัยพัฒน์ รพ.ชัยบุรี รพ.ชาติตระการ รพ.ชานุมาร รพ.เชียงม่วน รพ.ดงหลวง รพ.ดอยเต่า รพ.ตาพระยา รพ.ถ้ำพรรณรา
รพ.ท่าคันโท รพ.ทุ่งช้าง รพ.ทุ่งหว้า รพ.ทุ่งหัวช้าง รพ.เทพา รพ.นาจะหลวย รพ.นาทม รพ.นาน้อย รพ.นายูง รพ.นาหมื่น รพ.น้ำเกลี้ยง รพ.น้ำยืน รพ.น้ำโสม รพ.น้ำหนาว รพ.นิคมน้ำอูน รพ.โนนคูณ รพ.บางขัน รพ.บ้านหลวง รพ.บึงโขงหลง รพ.บุ่งคล้า
รพ.ปากชม รพ.ปางศิลาทอง รพ.พนมดงรักฯ รพ.พบพระ รพ.พะโต๊ะ รพ.ฟากท่า รพ.ภักดีชุมพล รพ.ภูสิงห์ รพ.ภูหลวง รพ.เมยวดี รพ.เมืองจันทร์ รพ.แม่แจ่ม รพ.แม่พริก รพ.แม่ระมาด รพ.แม่วงก์ รพ.แม่อาย รพ.ยางสีสุหราช รพ.ละอุ่น รพ.ศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์ รพ.พยาบาลสถานพระบารมี รพ.สมเด็นพระปิยฯ รพ.สองแคว รพ.สังคม รพ.สันติสุข รพ.สุขสำราญ และ รพ.จะนะ
รพช.พื้นที่เฉพาะระดับ 2 จำนวน 48 แห่ง ได้แก่ รพ.โคกโพธิ์ รพ.ท่าสองยาง รพ.ระแงะ รพ.รามัน รพ.รือเสาะ รพ.อุ้มผาง รพ.ยะหา รพ.สายบุรี รพ.ยี่งอฯ รพ.กรงปีนัง รพ.กะพ้อ รพ.กาบัง รพ.เกาะกูด รพ.เกาะยาวชัยพัฒน์ รพ.เกาะลันตา
รพ.ขุนยวม รพ.จะแนะ รพ.เจาะไอร้อง รพ.เฉลิมพระเกียรติ รพ.ตากใบ รพ.ทุ่งยางแดง รพ.ธารโต รพ.นาแห้ว รพ.บ่อเกลือ รพ.บันนังสตา รพ.บาเจาะ รพ.บ้านโคก รพ.ปะนาเระ รพ.ปางมะผ้า รพ.มายอ
รพ.แม่ฟ้าหลวง ระ.แม่ลาน รพ.แม่ลาน้อย รพ.ไม้แก่น รพ.ยะรัง รพ.ยะหริ่ง รพ.เวียงแก่น รพ.เวียงแหง รพ.แว้ง รพ.ศรีสาคร รพ.สบเมย รพ.สะบ้าย้อย รพ.สังขละบุรี รพ.สุคิริน รพ.สุไหงปาดี รพ.หนองจิก รพ.อมก๋อย และรพ.วัดจันทร์ฯ นอกเหนือจากนี้จัดเป็น รพช.พื้นที่ปกติ จำนวน 591 แห่ง
ส่วน รพท./รพศ.แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ พื้นที่ปกติ 87 แห่ง พื้นที่เฉพาะ กลุ่ม ก จำนวน 7 แห่ง คือ รพ.เกาะสมุย รพ.ตะกั่วป่า รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ รพ.ปัตตานี รพ.ยะลา รพ.บึงกาฬ และ รพ.สุไหงโก-ลก ส่วนพื้นที่เฉพาะ กลุ่ม ข จำนวน 2 แห่ง คือ รพ.เบตง จ.ยะลา และ รพ.ศรีสังวาล จ.แม่ฮ่องสอน