สธ.เตือนประชาชนให้งดดื่มเหล้าในช่วงหน้าร้อน ชี้อันตรายสูง เสี่ยงช็อก เสียชีวิตได้ แนะวิธีคลายร้อน ให้ดื่มน้ำมากๆ ให้ได้วันละอย่างน้อย 2 ลิตร จะช่วยให้ร่างกายปรับตัวดียิ่งขึ้น
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้สภาพอากาศในประเทศร้อนอบอ้าวมาก โดยเฉพาะในช่วงกลางวัน อุณหภูมิบางแห่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส เกินอุณหภูมิปกติของร่างกายซึ่งมีระดับที่ 37 องศาเซลเซียส จึงมีความเป็นห่วงสุขภาพประชาชนอาจมีการเจ็บป่วยจากอากาศร้อน โดยหากได้รับความร้อนสูง ร่างกายจะพยายามระบายความร้อนออก โดยการปรับเปลี่ยนอัตราและการหมุนเวียนโลหิต เพื่อทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิปกติ ความร้อนจะมีผลต่อการหมุนเวียนของเลือดในร่างกาย เกิดการสูญเสียน้ำผ่านทางผิวหนังและต่อมเหงื่อ ทำให้มีอาการหอบ หรือใจสั่น เนื่องจากความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว เพื่อรับการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้น เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังจะระบายความร้อนผ่านทางผิวหนังตอนที่เหงื่อออก
อากาศร้อนจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ 4 ระดับ ตั้งแต่ผิวหนังไหม้ ตะคริว อาการเพลียแดด และที่รุนแรงที่สุดคือ อาการของลมร้อน หรือที่เรียกว่าโรคฮีตสโตรก (Heat Stroke) เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนมากเกินหรือนานเกินไป สมองไม่ทำงาน ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ได้ และสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อาการที่สำคัญได้แก่ตัวร้อนจัดแต่ผิวหนังแห้ง ไม่มีเหงื่อออก กระสับกระส่าย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เสียชีวิตได้ ข้อมูลใน 5 ปีที่แล้วมีรายงานพบผู้ป่วยจากสภาพอากาศร้อน 81 ราย
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวต่อว่า เครื่องดื่มที่ไม่ควรดื่มในช่วงที่สภาพอากาศร้อน ก็คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดไม่ว่าจะดื่มโดยใส่น้ำแข็งหรือไม่ใส่ก็จะมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างมาก ถึงขั้นเกิดภาวะช็อกได้ โดยเฉพาะหากเป็นผู้มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก เนื่องจากในสภาวะที่อากาศร้อนอบอ้าวจะทำให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็ว และจะเพิ่มแรงดันโลหิตให้สูงขึ้นกว่าช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นหรือในช่วงที่มีอากาศปกติ โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ผ่านทางเหงื่อและทางปัสสาวะได้ง่ายขึ้นไปอีก ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำรุนแรงซึ่งอาจทำให้ช็อกหมดสติ และมีโอกาสเสียชีวิตได้แม้แต่คนที่ไม่มีโรคประจำตัว ฤทธิ์แอลกอฮอล์ก็ส่งผลกับอวัยวะภายใน ทั้งตับ ไต หัวใจ โดยเฉพาะระบบประสาท สมอง ประกอบกับภาวะอากาศที่ร้อนและแล้ง จะมีผลให้ประชาชนเกิดความเครียด อารมณ์หงุดหงิดได้ง่ายหากมีการดื่มสุราร่วมด้วย จะยิ่งส่งเสริมให้มีอาการมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตอยู่แล้วได้มอบหมายให้กรมสุขภาพจิตเตรียมบุคลากรไว้รองรับเรื่องนี้ด้วย ประชาชนสามารถขอรับบริการปรึกษาที่สายด่วน 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
วิธีการป้องกันอันตรายในช่วงที่มีอากาศร้อนที่สำคัญและง่ายที่สุด คือการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ โดยผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งหรือผู้ที่ออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 2ลิตรต่อวันส่วนผู้ที่ทำงานในที่ร่มควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ผู้ที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายจะไม่สามารถปรับตัวให้สู้กับอากาศร้อนได้เนื่องจากน้ำจะเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติคือ 37 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ต้องลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ประการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้รถ อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เกิดโรคฮีตสโตรกได้ง่าย
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวย้ำว่า ไม่มีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัย เพราะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลและสภาพแวดล้อมในขณะนั้น ทั้งนี้ ในการสังเกตว่าร่างกายตนเอง ได้รับน้ำเหมาะสมเพียงพอหรือไม่ สามารถสังเกตง่ายๆ จากสีของน้ำปัสสาวะ ถ้ามีสีเหลืองจางๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอ แต่ถ้ามีสีเหลืองเข้มคล้ายน้ำชา และปัสสาวะออกน้อยแสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะต้องดื่มน้ำให้มากๆ
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้สภาพอากาศในประเทศร้อนอบอ้าวมาก โดยเฉพาะในช่วงกลางวัน อุณหภูมิบางแห่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส เกินอุณหภูมิปกติของร่างกายซึ่งมีระดับที่ 37 องศาเซลเซียส จึงมีความเป็นห่วงสุขภาพประชาชนอาจมีการเจ็บป่วยจากอากาศร้อน โดยหากได้รับความร้อนสูง ร่างกายจะพยายามระบายความร้อนออก โดยการปรับเปลี่ยนอัตราและการหมุนเวียนโลหิต เพื่อทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิปกติ ความร้อนจะมีผลต่อการหมุนเวียนของเลือดในร่างกาย เกิดการสูญเสียน้ำผ่านทางผิวหนังและต่อมเหงื่อ ทำให้มีอาการหอบ หรือใจสั่น เนื่องจากความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว เพื่อรับการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้น เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังจะระบายความร้อนผ่านทางผิวหนังตอนที่เหงื่อออก
อากาศร้อนจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ 4 ระดับ ตั้งแต่ผิวหนังไหม้ ตะคริว อาการเพลียแดด และที่รุนแรงที่สุดคือ อาการของลมร้อน หรือที่เรียกว่าโรคฮีตสโตรก (Heat Stroke) เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนมากเกินหรือนานเกินไป สมองไม่ทำงาน ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ได้ และสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อาการที่สำคัญได้แก่ตัวร้อนจัดแต่ผิวหนังแห้ง ไม่มีเหงื่อออก กระสับกระส่าย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เสียชีวิตได้ ข้อมูลใน 5 ปีที่แล้วมีรายงานพบผู้ป่วยจากสภาพอากาศร้อน 81 ราย
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวต่อว่า เครื่องดื่มที่ไม่ควรดื่มในช่วงที่สภาพอากาศร้อน ก็คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดไม่ว่าจะดื่มโดยใส่น้ำแข็งหรือไม่ใส่ก็จะมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างมาก ถึงขั้นเกิดภาวะช็อกได้ โดยเฉพาะหากเป็นผู้มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก เนื่องจากในสภาวะที่อากาศร้อนอบอ้าวจะทำให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็ว และจะเพิ่มแรงดันโลหิตให้สูงขึ้นกว่าช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นหรือในช่วงที่มีอากาศปกติ โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ผ่านทางเหงื่อและทางปัสสาวะได้ง่ายขึ้นไปอีก ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำรุนแรงซึ่งอาจทำให้ช็อกหมดสติ และมีโอกาสเสียชีวิตได้แม้แต่คนที่ไม่มีโรคประจำตัว ฤทธิ์แอลกอฮอล์ก็ส่งผลกับอวัยวะภายใน ทั้งตับ ไต หัวใจ โดยเฉพาะระบบประสาท สมอง ประกอบกับภาวะอากาศที่ร้อนและแล้ง จะมีผลให้ประชาชนเกิดความเครียด อารมณ์หงุดหงิดได้ง่ายหากมีการดื่มสุราร่วมด้วย จะยิ่งส่งเสริมให้มีอาการมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตอยู่แล้วได้มอบหมายให้กรมสุขภาพจิตเตรียมบุคลากรไว้รองรับเรื่องนี้ด้วย ประชาชนสามารถขอรับบริการปรึกษาที่สายด่วน 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
วิธีการป้องกันอันตรายในช่วงที่มีอากาศร้อนที่สำคัญและง่ายที่สุด คือการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ โดยผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งหรือผู้ที่ออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 2ลิตรต่อวันส่วนผู้ที่ทำงานในที่ร่มควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ผู้ที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายจะไม่สามารถปรับตัวให้สู้กับอากาศร้อนได้เนื่องจากน้ำจะเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติคือ 37 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ต้องลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ประการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้รถ อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เกิดโรคฮีตสโตรกได้ง่าย
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวย้ำว่า ไม่มีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัย เพราะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลและสภาพแวดล้อมในขณะนั้น ทั้งนี้ ในการสังเกตว่าร่างกายตนเอง ได้รับน้ำเหมาะสมเพียงพอหรือไม่ สามารถสังเกตง่ายๆ จากสีของน้ำปัสสาวะ ถ้ามีสีเหลืองจางๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอ แต่ถ้ามีสีเหลืองเข้มคล้ายน้ำชา และปัสสาวะออกน้อยแสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะต้องดื่มน้ำให้มากๆ