คสช.มีมติยกร่างแผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ เร่งพัฒนาระบบสุขภาวะชุมชนทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เร่งระดมความร่วมมือทุกหน่วยงานดำเนินการให้เสร็จใน 1 ปี ก่อนเข้าที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ธ.ค.นี้
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยภายหลังการประชุม คสช.ว่า คสช.มีมติเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพระดับชาติในประเด็น “ระบบสุขภาพชุมชน” ซึ่งกรรมการทุกฝ่ายต่างเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชนที่มุ่งสร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนให้ขยายผลครอบคลุมตำบลทั่วประเทศ โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (area approach) สนับสนุนศักยภาพชุมชนให้สามารถจัดการและพึ่งพาตนเอง จนนำไปสู่ความเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” ซึ่งระบบสุขภาพชุมชนกับเรื่องของชุมชนเข็มแข็งเป็นเรื่องที่ซ้อนทับเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญของประเทศ และเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของชาติ ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า หลักคิดสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาวะชุมชน ต้องพัฒนาโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองและมีภูมิต้านทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ขณะที่หน่วยงานภายนอกจะเป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุน ไม่ใช่ผู้สั่งการหรือกำหนดแนวทางหรือประเด็นของการพัฒนาชุมชนแบบเดิม ซึ่งเป็นการสั่งการจากระดับบนลงล่าง ทำให้การพัฒนาสุขภาวะชุมชนไม่ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้านแต่ละพื้นที่
“หลังจาก คสช.เห็นชอบหลักการและแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชนตามเสนอแล้ว ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ระดมกำลังจากทุกภาคีเครือข่าย ทั้งรัฐ วิชาการ และชุมชนเดินหน้าจัดทำ “แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ ว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน” ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี และนำเสนอแผนยุทธศาสตร์เข้าสู่การพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ในเดือนธันวาคม 2556” รองนายกฯ กล่าว
นายปลอดประสพ กล่าวด้วยว่า แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ มีลักษณะของแผนยุทธศาสตร์สานพลัง ไม่ใช่แผนยุทธศาสตร์สั่งการหรือแผนบริหารจัดการของทางราชการ จึงจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันมีภาคส่วนต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการพัฒนาในระดับชุมชนจำนวนมาก ทั้งทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น ตำบลจัดการสุขภาพดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน, การดูแลสุขภาพประชากรกลุ่มเฉพาะ ทั้งผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเยาวชน การแก้ไขปัญหาความยากจนผ่านการจัดทำบัญชีครัวเรือน การส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านชุมชน (SML) สถาบันการเงินชุมชน แผนแม่บทชุมชน การส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองผ่านตำบลเรียนรู้ประชาธิปไตย หรือการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนตำบล
ศ.สุริชัย หวันแก้ว กรรมการสุขภาพแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า การวางยุทธศาสตร์เพื่อสร้างสุขภาวะระดับชุมชน ถือเป็นแนวนโยบายที่มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาประเทศ จึงสนับสนุนให้ คสช.ดำเนินการในเรื่องนี้ เพราะเมื่อทุกชุมชนมีสุขภาวะที่เข้มแข็งย่อมทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้น แต่ปัญหาและอุปสรรคในช่วงที่ผ่านมาก็คือการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แม้จะมีโครงการที่เป็นประโยชน์กับชุมชนจำนวนมาก แต่ยังดำเนินการแบบแยกส่วนและบางครั้งไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะอย่างเป็นระบบ เนื่องจากทุกหน่วยงานมีตัวชี้วัดของตนเอง จึงมุ่งตอบสนองการทำงานในส่วนที่รับผิดชอบเป็นหลักเพียงด้านเดียว
“การที่ คสช.จัดให้มีกระบวนการทำงาน หรือเปิดเวทีในการหารือร่วมกันถึงทิศทางในภาพรวมอย่างบูรณาการในระดับชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงถือเป็นแนวทางการพัฒนาที่ถูกต้อง โดยต้องก้าวข้ามอุปสรรคคือตัวชี้วัดของหน่วยงานที่แตกต่างกันได้จริงๆ ขณะเดียวกันก็ต้องทำให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและมีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่ของตนเองด้วย เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์ที่ยกร่างออกมาครั้งนี้ เป็นแผนที่เกิดจากการระดมสมองของทุกภาคีเครือข่ายจากระดับล่างขึ้นสู่บนอย่างแท้จริง” ศ.สุริชัย กล่าว
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยภายหลังการประชุม คสช.ว่า คสช.มีมติเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพระดับชาติในประเด็น “ระบบสุขภาพชุมชน” ซึ่งกรรมการทุกฝ่ายต่างเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชนที่มุ่งสร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนให้ขยายผลครอบคลุมตำบลทั่วประเทศ โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (area approach) สนับสนุนศักยภาพชุมชนให้สามารถจัดการและพึ่งพาตนเอง จนนำไปสู่ความเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” ซึ่งระบบสุขภาพชุมชนกับเรื่องของชุมชนเข็มแข็งเป็นเรื่องที่ซ้อนทับเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญของประเทศ และเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของชาติ ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า หลักคิดสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาวะชุมชน ต้องพัฒนาโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองและมีภูมิต้านทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ขณะที่หน่วยงานภายนอกจะเป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุน ไม่ใช่ผู้สั่งการหรือกำหนดแนวทางหรือประเด็นของการพัฒนาชุมชนแบบเดิม ซึ่งเป็นการสั่งการจากระดับบนลงล่าง ทำให้การพัฒนาสุขภาวะชุมชนไม่ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้านแต่ละพื้นที่
“หลังจาก คสช.เห็นชอบหลักการและแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชนตามเสนอแล้ว ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ระดมกำลังจากทุกภาคีเครือข่าย ทั้งรัฐ วิชาการ และชุมชนเดินหน้าจัดทำ “แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ ว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน” ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี และนำเสนอแผนยุทธศาสตร์เข้าสู่การพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ในเดือนธันวาคม 2556” รองนายกฯ กล่าว
นายปลอดประสพ กล่าวด้วยว่า แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ มีลักษณะของแผนยุทธศาสตร์สานพลัง ไม่ใช่แผนยุทธศาสตร์สั่งการหรือแผนบริหารจัดการของทางราชการ จึงจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันมีภาคส่วนต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการพัฒนาในระดับชุมชนจำนวนมาก ทั้งทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น ตำบลจัดการสุขภาพดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน, การดูแลสุขภาพประชากรกลุ่มเฉพาะ ทั้งผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเยาวชน การแก้ไขปัญหาความยากจนผ่านการจัดทำบัญชีครัวเรือน การส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านชุมชน (SML) สถาบันการเงินชุมชน แผนแม่บทชุมชน การส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองผ่านตำบลเรียนรู้ประชาธิปไตย หรือการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนตำบล
ศ.สุริชัย หวันแก้ว กรรมการสุขภาพแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า การวางยุทธศาสตร์เพื่อสร้างสุขภาวะระดับชุมชน ถือเป็นแนวนโยบายที่มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาประเทศ จึงสนับสนุนให้ คสช.ดำเนินการในเรื่องนี้ เพราะเมื่อทุกชุมชนมีสุขภาวะที่เข้มแข็งย่อมทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้น แต่ปัญหาและอุปสรรคในช่วงที่ผ่านมาก็คือการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แม้จะมีโครงการที่เป็นประโยชน์กับชุมชนจำนวนมาก แต่ยังดำเนินการแบบแยกส่วนและบางครั้งไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะอย่างเป็นระบบ เนื่องจากทุกหน่วยงานมีตัวชี้วัดของตนเอง จึงมุ่งตอบสนองการทำงานในส่วนที่รับผิดชอบเป็นหลักเพียงด้านเดียว
“การที่ คสช.จัดให้มีกระบวนการทำงาน หรือเปิดเวทีในการหารือร่วมกันถึงทิศทางในภาพรวมอย่างบูรณาการในระดับชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงถือเป็นแนวทางการพัฒนาที่ถูกต้อง โดยต้องก้าวข้ามอุปสรรคคือตัวชี้วัดของหน่วยงานที่แตกต่างกันได้จริงๆ ขณะเดียวกันก็ต้องทำให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและมีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่ของตนเองด้วย เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์ที่ยกร่างออกมาครั้งนี้ เป็นแผนที่เกิดจากการระดมสมองของทุกภาคีเครือข่ายจากระดับล่างขึ้นสู่บนอย่างแท้จริง” ศ.สุริชัย กล่าว