คสช.รับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ป้องกันปัญหาและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ชูนโยบายเทคโนโลยีสะอาด เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม เตรียมสร้างกระบวนการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกระบวนการขับเคลื่อน
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยภายหลังการประชุม คสช.ว่า ที่ประชุมรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 เรื่อง “การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล” เพื่อสนับสนุนให้เกิดมาตรการจัดการและควบคุมดูแลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาวะของประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบพื้นที่โรงไฟฟ้าชีวมวล ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องมลพิษจากฝุ่นละออง หรือขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาชีวมวล ที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน อาทิ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคหัวใจ และโรคมะเร็งปอด ปัญหาน้ำเสียและแย่งการใช้น้ำของชุมชนเนื่องจากการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมาก รวมถึงถนนในชุมชนชำรุดจากการใช้รถบรรทุกขนส่ง
“ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการพลังงานสูงขึ้นมาก และต้องพยายามนำพาประเทศให้ก้าวพ้นจากการพึ่งพาพลังงานจากภายนอก ดังนั้นโยบายพลังงานทดแทน ถือเป็นนโยบายที่รัฐบาลพยายามส่งเสริม อย่างไรก็ตามรัฐบาลมีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความร่วมมือกันระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นที่ประชุมเห็นว่าต้องมีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยประธาน คสช.จะเป็นประธานการประชุมด้วยตนเอง เพื่อให้มีความชัดเจนในทางปฎิบัติ” นายปลอดประสพ กล่าว
นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ที่ คสช.แต่งตั้งได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานตามมติดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556 พบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบบ้างแล้ว อาทิ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ออกประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง มาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (ประเภทเชื้อเพลิงแข็ง) เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555
นอกจากนี้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาสถานะสุขภาพของชุมชนบริเวณโรงไฟฟ้าชีวมวล จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุบลราชธานี และอยู่ระหว่างพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อศึกษาการประกาศให้การประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535 ส่วนกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการปรับโครงสร้างให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค มาอยู่ภายใต้สังกัดกรมควบคุมมลพิษ เข้ามารับผิดชอบทำหน้าที่เฝ้าระวังในระดับพื้นที่ และจัดเตรียมอุปกรณ์ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ในกรณีมีปัญหาร้องเรียน ซึ่งมาตรการดังกล่าว มีความสอดคล้องกับสาระสำคัญตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในเรื่องนี้
ท้ายที่สุดคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้มีมติให้จัดประชุมร่วมโดยเชิญผู้แทนจากคณะกรรมการและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ประธาน คสช.เป็นประธานการประชุม เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติดังกล่าวร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยภายหลังการประชุม คสช.ว่า ที่ประชุมรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 เรื่อง “การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล” เพื่อสนับสนุนให้เกิดมาตรการจัดการและควบคุมดูแลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาวะของประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบพื้นที่โรงไฟฟ้าชีวมวล ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องมลพิษจากฝุ่นละออง หรือขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาชีวมวล ที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน อาทิ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคหัวใจ และโรคมะเร็งปอด ปัญหาน้ำเสียและแย่งการใช้น้ำของชุมชนเนื่องจากการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมาก รวมถึงถนนในชุมชนชำรุดจากการใช้รถบรรทุกขนส่ง
“ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการพลังงานสูงขึ้นมาก และต้องพยายามนำพาประเทศให้ก้าวพ้นจากการพึ่งพาพลังงานจากภายนอก ดังนั้นโยบายพลังงานทดแทน ถือเป็นนโยบายที่รัฐบาลพยายามส่งเสริม อย่างไรก็ตามรัฐบาลมีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความร่วมมือกันระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นที่ประชุมเห็นว่าต้องมีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยประธาน คสช.จะเป็นประธานการประชุมด้วยตนเอง เพื่อให้มีความชัดเจนในทางปฎิบัติ” นายปลอดประสพ กล่าว
นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ที่ คสช.แต่งตั้งได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานตามมติดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556 พบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบบ้างแล้ว อาทิ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ออกประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง มาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (ประเภทเชื้อเพลิงแข็ง) เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555
นอกจากนี้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาสถานะสุขภาพของชุมชนบริเวณโรงไฟฟ้าชีวมวล จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุบลราชธานี และอยู่ระหว่างพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อศึกษาการประกาศให้การประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535 ส่วนกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการปรับโครงสร้างให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค มาอยู่ภายใต้สังกัดกรมควบคุมมลพิษ เข้ามารับผิดชอบทำหน้าที่เฝ้าระวังในระดับพื้นที่ และจัดเตรียมอุปกรณ์ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ในกรณีมีปัญหาร้องเรียน ซึ่งมาตรการดังกล่าว มีความสอดคล้องกับสาระสำคัญตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในเรื่องนี้
ท้ายที่สุดคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้มีมติให้จัดประชุมร่วมโดยเชิญผู้แทนจากคณะกรรมการและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ประธาน คสช.เป็นประธานการประชุม เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติดังกล่าวร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป