สศร.จับมือกับ เวียดนาม คัดสรรวรรณกรรม ตีพิมพ์ 3 ภาษา “ไทย-เวียดนาม-อังกฤษ” เล็งแลกเปลี่ยนวรรณกรรมประเทศกลุ่มอาเซียน เพื่อรู้เขารู้เรา ขณะที่ ศิลปินแห่งชาติ ชมเวียดนาม แทรกภาษาและวรรณกรรมไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน
จากงานเสวนา เรื่อง “เปิดประเทศเพื่อนบ้านอ่านงานวรรณกรรม” วรรณกรรมสัมพันธ์ไทย ลาว เวียดนาม และงานเปิดตัวหนังสือ “ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) นายเขมชาติ เทพไชย ผอ.สศร.กล่าวว่า สศร.ร่วมกับ เวียดนาม คัดเลือผลงานวรรณกรรมเด่นๆ ของทั้งสองประเทศ ตีพิมพ์ 3 ภาษา ไทย เวียดนาม และอังกฤษ อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับความงานวรรณกรรมเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาติ และชาติพันธุ์ ของแต่ละประเทศแต่ละยุคสมัย ที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น ในปี 2558 ที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมอาเซียน สศร.ได้มีนโยบายสนับสนุน และส่งเสริมผลงานด้านวรรณกรรมของนักเขียนไทย เพื่อได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับนักเขียนอาเซียน 10 ประเทศ รวมทั้งจำเป็นต้องปลูกฝังค่านิยมการอ่านให้กับเด็กและเยาวชน รวมถึงประชาชนคนไทย ให้อ่านและเรียนรู้วรรณกรรมให้มากขึ้น รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวรรณกรรม เพื่อให้เกิดความรู้เขารู้เรา ว่า แต่ละประเทศมีชาติพันธุ์อย่างไร มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร และให้ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน 10 ประเทศ ได้เข้าใจในวิถีวัฒนธรรมของไทยด้วย
ทั้งนี้ สศร.จะมีการขยายลงนามความร่วมมือความสัมพันธ์ในด้านวรรณกรรมร่วมกับสมาชิก 10 ประเทศอาเซียนเพิ่มเติม จากที่ได้สร้างความร่วมมือระหว่าง ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย มาแล้ว ส่วนภายในประเทศ สศร.จะร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย หาแนวทาง ผลักดันการส่งเสริมการอ่านวรรณกรรมให้กับเด็กและเยาวชนไทย รวมทั้งต้องส่งเสริมงานวรรณกรรมดีๆ ให้เข้าไปภายในสถานศึกษา โดยจะเชิญศิลปิน นักวรรณกรรมไปเป็นวิทยากรต้นแบบ สะท้อนความรู้ และแนวความคิดเกี่ยวกับวรรณกรรมที่ดีๆ ให้กับนักเรียน ในสถานศึกษา เพราะเป็นที่น่าเสียดายว่า ผลงานวรรณกรรมที่ดี ไม่ค่อยได้ถูกเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณชน มีผู้อ่านอยู่ในวงที่จำกัด ดังนั้น ตั้งแต่ปีนี้ สศร. จะคัดเลือกวรรณกรรมที่ดีๆ และส่งไปยังห้องสมุดของโรงเรียนต่างๆ ให้ได้มากที่สุด เชื่อว่า ถ้าได้มีการเผยแพร่งานวรรณกรรมมากขึ้นจะทำให้เด็กได้ซึมซับและสนใจงานวรรณกรรมมากขึ้นตามมาด้วย
ด้านนายประภัสสร เสวิกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ กล่าวว่า ตนได้ศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับด้านวรรณกรรมในประเทศเวียดนาม พบว่าเวียดนามได้มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนด้านภาษาและวรรณกรรม ในปี 2556-2563 เพื่อให้คนรุ่นใหม่ หันมาสนใจวรรณกรรมของเวียดนาม และกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีที่กระทรวงศึกษาธิการของเวียดนาม ได้ร่วมมือกับสมาคมนักเขียนแห่งเวียดนาม ส่งเสริมการอ่านวรรณกรรม ในทุกระดับชั้นการศึกษา จึงอยากให้ประเทศไทย ได้ศึกษาต้นแบบการส่งเสริมการอ่านวรรณกรรมจากประเทศเวียดนามด้วย แล้วผลักดันให้คนไทยรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น
จากงานเสวนา เรื่อง “เปิดประเทศเพื่อนบ้านอ่านงานวรรณกรรม” วรรณกรรมสัมพันธ์ไทย ลาว เวียดนาม และงานเปิดตัวหนังสือ “ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) นายเขมชาติ เทพไชย ผอ.สศร.กล่าวว่า สศร.ร่วมกับ เวียดนาม คัดเลือผลงานวรรณกรรมเด่นๆ ของทั้งสองประเทศ ตีพิมพ์ 3 ภาษา ไทย เวียดนาม และอังกฤษ อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับความงานวรรณกรรมเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาติ และชาติพันธุ์ ของแต่ละประเทศแต่ละยุคสมัย ที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น ในปี 2558 ที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมอาเซียน สศร.ได้มีนโยบายสนับสนุน และส่งเสริมผลงานด้านวรรณกรรมของนักเขียนไทย เพื่อได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับนักเขียนอาเซียน 10 ประเทศ รวมทั้งจำเป็นต้องปลูกฝังค่านิยมการอ่านให้กับเด็กและเยาวชน รวมถึงประชาชนคนไทย ให้อ่านและเรียนรู้วรรณกรรมให้มากขึ้น รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวรรณกรรม เพื่อให้เกิดความรู้เขารู้เรา ว่า แต่ละประเทศมีชาติพันธุ์อย่างไร มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร และให้ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน 10 ประเทศ ได้เข้าใจในวิถีวัฒนธรรมของไทยด้วย
ทั้งนี้ สศร.จะมีการขยายลงนามความร่วมมือความสัมพันธ์ในด้านวรรณกรรมร่วมกับสมาชิก 10 ประเทศอาเซียนเพิ่มเติม จากที่ได้สร้างความร่วมมือระหว่าง ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย มาแล้ว ส่วนภายในประเทศ สศร.จะร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย หาแนวทาง ผลักดันการส่งเสริมการอ่านวรรณกรรมให้กับเด็กและเยาวชนไทย รวมทั้งต้องส่งเสริมงานวรรณกรรมดีๆ ให้เข้าไปภายในสถานศึกษา โดยจะเชิญศิลปิน นักวรรณกรรมไปเป็นวิทยากรต้นแบบ สะท้อนความรู้ และแนวความคิดเกี่ยวกับวรรณกรรมที่ดีๆ ให้กับนักเรียน ในสถานศึกษา เพราะเป็นที่น่าเสียดายว่า ผลงานวรรณกรรมที่ดี ไม่ค่อยได้ถูกเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณชน มีผู้อ่านอยู่ในวงที่จำกัด ดังนั้น ตั้งแต่ปีนี้ สศร. จะคัดเลือกวรรณกรรมที่ดีๆ และส่งไปยังห้องสมุดของโรงเรียนต่างๆ ให้ได้มากที่สุด เชื่อว่า ถ้าได้มีการเผยแพร่งานวรรณกรรมมากขึ้นจะทำให้เด็กได้ซึมซับและสนใจงานวรรณกรรมมากขึ้นตามมาด้วย
ด้านนายประภัสสร เสวิกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ กล่าวว่า ตนได้ศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับด้านวรรณกรรมในประเทศเวียดนาม พบว่าเวียดนามได้มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนด้านภาษาและวรรณกรรม ในปี 2556-2563 เพื่อให้คนรุ่นใหม่ หันมาสนใจวรรณกรรมของเวียดนาม และกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีที่กระทรวงศึกษาธิการของเวียดนาม ได้ร่วมมือกับสมาคมนักเขียนแห่งเวียดนาม ส่งเสริมการอ่านวรรณกรรม ในทุกระดับชั้นการศึกษา จึงอยากให้ประเทศไทย ได้ศึกษาต้นแบบการส่งเสริมการอ่านวรรณกรรมจากประเทศเวียดนามด้วย แล้วผลักดันให้คนไทยรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น