เครือข่ายแพทย์ดีเด่นศิริราช ออกแถลงการณ์ จวก “หมอประดิษฐ” รับจ๊อบการเมืองเข้ามาสั่นคลอนระบบสาธารณสุขจนตกเหว ชี้ส่งนักการเมืองเข้าแทรกซึมหน่วยงานต่างๆ ให้อ่อนแอลง เสี้ยมม็อบ รพ.ใหญ่ชนม็อบหมอชนบท ปลุกพยาบาลขัดแย้งแพทย์ บีบหมอชนบทเข้าเมือง หนุนแพทย์ รพ.ใหญ่ซบอกเอกชน เอื้อนโยบายเมดิคัล ฮับ ปล่อยข่าวเท็จทำลาย อภ.ไม่ให้แข่งกับเอกชน รวมพลังตะเพิดออกจากเก้าอี้เจ้ากระทรวง
วันนี้ (4 เม.ย.) เครือข่ายแพทย์ดีเด่นศิริราชพยาบาล ประกอบด้วย นพ.อภิสิทธ์ ธำรงวรางกูล รพ.อุบลรัตน์ ขอนแก่น ปี 2538 นพ.อดิสร วัฒนวงษ์สิงห์ รพ.พนมไพร ร้อยเอ็ด ปี 2539 นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ รพ.อุ้มผาง ตาก ปี 2541 นพ.รอซาลี ปัตยบุตร รพ.รามัน ยะลา ปี 2543 นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ รพ.สิชล นครศรีธรรมราช ปี 2544 นพ.เฉิดพันธ์ ภัทรพงศ์สินธู์ รพ.หนองบัวระเหว ปี 2545 นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ รพ.สมเด็จนาทวี สงขลา ปี 2548 นพ.วิชัย อัศวภาคย์ รพ.น้ำพอง ขอนแก่น ปี 2549 นพ.แสงชัย พงษ์พิชญ์พิทักษ์ รพ.สูงเม่น แพร่ ปี 2550 นพ.ภักดี สืบนุการณ์ รพร.ด่านซ้าย เลย ปี2553 และ นพ.สมศักดิ์ โสฬลลิขิต รพ.หนองม่วงไข่ แพร่ 2554 ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่อง “ระบบสาธารณสุขไทยจะตกเหว ถ้ามีหมอประดิษฐ เป็น รมว.” มีใจความดังนี้
กระทรวงสาธารณสุขมีพัฒนาการและผลงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง จากการทุ่มเทแรงกายและใจของเจ้าหน้าสาธารณสุขในพื้นที่ ในจังหวัดและในกระทรวง นำโดยผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มีประสบการณ์ มีคุณธรรม และยึดเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และได้สร้างระบบบริการสุขภาพ สร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสร้างหน่วยงานหลากหลายเพื่อช่วยกันพัฒนา ปฏิรูประบบสุขภาพไทย รวมทั้งสร้างระบบเครือข่ายตรวจสอบป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบของผู้มีอำนาจ จนเป็นตัวอย่าง เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
แต่ขณะนี้ภายใต้การครอบงำของกลุ่มธุรกิจการเมือง มีหมอนักธุรกิจที่ไม่เป็นที่ยอมรับของหมอ ไม่เคยออกไปใช้ทุนยังต่างจังหวัด ไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองและการบริหารภาครัฐ ไม่รู้จักปัญหาสาธารณสุขความทุกข์ของประชาชนในชนบท ไม่เคยเข้าพื้นที่จริงของสามจังหวัดภาคใต้ แต่ใช้ความใกล้ชิดจากที่เคยทำธุรกิจร่วมกับผู้นำรัฐบาล รับจ๊อบทางการเมืองเข้าแยกสลาย สร้างความแตกร้าวในแวดวงสาธารณสุข ด้วยการส่งนักการเมืองของพรรค นักวิชาการพวกพ้อง และนักธุรกิจเข้ายึดครองการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักวิจัยระบบสาธารณสุข และหน่วยงานต่างๆ เพื่อออกนโยบายแยกสลายให้หน่วยงานต่างๆ อ่อนแอลง วางแผนล้มระบบหลักประกันสุขภาพทำให้เป็นระบบอนาถาสงเคราะห์ผู้ยากไร้ แอบสั่ง รพ.ใหญ่ในเมืองให้จัดม็อบ รพ.ละไม่น้อยกว่าหนึ่งคันรถบัสทิ้งผู้ป่วยเพื่อหนุนอำนาจของตนเอง และใช้ม็อบของ รพ.ใหญ่ในเมืองชนการเคลื่อนไหวของ รพ.ในชนบท ปลุกพยาบาลให้ขัดแย้งกับแพทย์ ทันตแพทย์และเภสัชกรที่ทำงานในชนบท ทำให้ระบบบริการผู้ป่วยในพื้นที่ปั่นป่วนขัดแย้งอย่างรุนแรงไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ผู้ป่วยใน รพ.ชุมชนไม่สามารถส่งต่อไปยัง รพ.ใหญ่ในเมืองได้ ออกระเบียบทางการเงินที่บีบบังคับให้แพทย์และบุคลากรอื่นทิ้ง รพ.ชุมชน เข้าเมืองเพื่อทดแทนกำลังคนของ รพ.ใหญ่ในเมืองที่จะขาดแคลนจากการย้ายไป รพ.เอกชนรองรับการเปิดตลาด Medical Hub ที่กลุ่มธุรกิจทางการแพทย์และการเมืองได้เข้ายึดกุมตลาดไว้ล่วงหน้าแล้ว
และท้ายที่สุดอาศัยอำนาจรัฐมนตรี ปลุกกระแสสร้างความเสียหาย ให้ข่าวอันเป็นเท็จ ทำลายภาพพจน์ขององค์การเภสัชกรรมของรัฐให้อ่อนเปลี้ยไม่สามารถเข่งขันกับเอกชนได้ เปิดทางเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจยาข้ามชาติเข้ายึดครองตลาดยาไทยนับแสนล้านบาท ทั้งหมดนี้เพราะ รมว.หมอนักธุรกิจที่รับจ๊อบทางการเมืองมาทำลายองค์กร ทำลายระบบ และทำลายเครือข่ายตรวจสอบการทุจริตทั้งทางตรงและทุจริตเชิงนโยบายให้อ่อนแอลง เพื่อเปิดทางให้ออกนโยบายและจัดระบบที่เอื้อกับธุรกิจทางการเมืองและเอกชนได้ง่ายขึ้นในอนาคต
สถานการณ์ความเสี่ยงตกเหวของระบบสาธารณสุขไทยในขณะนี้ เกิดขึ้นจากความอ่อนแอของหน่วยงานสาธารณสุขที่ถูกแยกสลายและยึดครองจากผู้มีอำนาจทางการเมือง และเกิดจากการใช้อำนาจของ รมว.หมอนักธุรกิจที่รับจ๊อบทางการเมืองเพื่อเอื้อธุรกิจเอกชนและทุนข้ามชาติ ร่วมกับฝ่ายประจำบางคนที่สนองการเมืองโดยไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นขอเพียงให้ตนเองมีตำแหน่ง และอยู่ในตำแหน่งได้ก็พอ
พวกเราหมอที่ทำงานอยู่ในชนบท มีความเป็นห่วงและรับไม่ได้กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้ จึงต้องรวมตัวเป็นเครือข่าย เพื่อฟ้องต่อสังคม เรียกร้องต่อชาวสาธารณสุขให้เป็นเอกภาพ ลุกขึ้นปกป้องระบบ ปกป้องประโยชน์ และสุขภาพของประชาชน และเรียกร้องให้รัฐมนตรีสาธารณสุข ที่รับจ็อบทางการเมืองมาทำลายระบบสาธารณสุข ให้ออกไป
วันนี้ (4 เม.ย.) เครือข่ายแพทย์ดีเด่นศิริราชพยาบาล ประกอบด้วย นพ.อภิสิทธ์ ธำรงวรางกูล รพ.อุบลรัตน์ ขอนแก่น ปี 2538 นพ.อดิสร วัฒนวงษ์สิงห์ รพ.พนมไพร ร้อยเอ็ด ปี 2539 นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ รพ.อุ้มผาง ตาก ปี 2541 นพ.รอซาลี ปัตยบุตร รพ.รามัน ยะลา ปี 2543 นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ รพ.สิชล นครศรีธรรมราช ปี 2544 นพ.เฉิดพันธ์ ภัทรพงศ์สินธู์ รพ.หนองบัวระเหว ปี 2545 นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ รพ.สมเด็จนาทวี สงขลา ปี 2548 นพ.วิชัย อัศวภาคย์ รพ.น้ำพอง ขอนแก่น ปี 2549 นพ.แสงชัย พงษ์พิชญ์พิทักษ์ รพ.สูงเม่น แพร่ ปี 2550 นพ.ภักดี สืบนุการณ์ รพร.ด่านซ้าย เลย ปี2553 และ นพ.สมศักดิ์ โสฬลลิขิต รพ.หนองม่วงไข่ แพร่ 2554 ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่อง “ระบบสาธารณสุขไทยจะตกเหว ถ้ามีหมอประดิษฐ เป็น รมว.” มีใจความดังนี้
กระทรวงสาธารณสุขมีพัฒนาการและผลงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง จากการทุ่มเทแรงกายและใจของเจ้าหน้าสาธารณสุขในพื้นที่ ในจังหวัดและในกระทรวง นำโดยผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มีประสบการณ์ มีคุณธรรม และยึดเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และได้สร้างระบบบริการสุขภาพ สร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสร้างหน่วยงานหลากหลายเพื่อช่วยกันพัฒนา ปฏิรูประบบสุขภาพไทย รวมทั้งสร้างระบบเครือข่ายตรวจสอบป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบของผู้มีอำนาจ จนเป็นตัวอย่าง เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
แต่ขณะนี้ภายใต้การครอบงำของกลุ่มธุรกิจการเมือง มีหมอนักธุรกิจที่ไม่เป็นที่ยอมรับของหมอ ไม่เคยออกไปใช้ทุนยังต่างจังหวัด ไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองและการบริหารภาครัฐ ไม่รู้จักปัญหาสาธารณสุขความทุกข์ของประชาชนในชนบท ไม่เคยเข้าพื้นที่จริงของสามจังหวัดภาคใต้ แต่ใช้ความใกล้ชิดจากที่เคยทำธุรกิจร่วมกับผู้นำรัฐบาล รับจ๊อบทางการเมืองเข้าแยกสลาย สร้างความแตกร้าวในแวดวงสาธารณสุข ด้วยการส่งนักการเมืองของพรรค นักวิชาการพวกพ้อง และนักธุรกิจเข้ายึดครองการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักวิจัยระบบสาธารณสุข และหน่วยงานต่างๆ เพื่อออกนโยบายแยกสลายให้หน่วยงานต่างๆ อ่อนแอลง วางแผนล้มระบบหลักประกันสุขภาพทำให้เป็นระบบอนาถาสงเคราะห์ผู้ยากไร้ แอบสั่ง รพ.ใหญ่ในเมืองให้จัดม็อบ รพ.ละไม่น้อยกว่าหนึ่งคันรถบัสทิ้งผู้ป่วยเพื่อหนุนอำนาจของตนเอง และใช้ม็อบของ รพ.ใหญ่ในเมืองชนการเคลื่อนไหวของ รพ.ในชนบท ปลุกพยาบาลให้ขัดแย้งกับแพทย์ ทันตแพทย์และเภสัชกรที่ทำงานในชนบท ทำให้ระบบบริการผู้ป่วยในพื้นที่ปั่นป่วนขัดแย้งอย่างรุนแรงไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ผู้ป่วยใน รพ.ชุมชนไม่สามารถส่งต่อไปยัง รพ.ใหญ่ในเมืองได้ ออกระเบียบทางการเงินที่บีบบังคับให้แพทย์และบุคลากรอื่นทิ้ง รพ.ชุมชน เข้าเมืองเพื่อทดแทนกำลังคนของ รพ.ใหญ่ในเมืองที่จะขาดแคลนจากการย้ายไป รพ.เอกชนรองรับการเปิดตลาด Medical Hub ที่กลุ่มธุรกิจทางการแพทย์และการเมืองได้เข้ายึดกุมตลาดไว้ล่วงหน้าแล้ว
และท้ายที่สุดอาศัยอำนาจรัฐมนตรี ปลุกกระแสสร้างความเสียหาย ให้ข่าวอันเป็นเท็จ ทำลายภาพพจน์ขององค์การเภสัชกรรมของรัฐให้อ่อนเปลี้ยไม่สามารถเข่งขันกับเอกชนได้ เปิดทางเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจยาข้ามชาติเข้ายึดครองตลาดยาไทยนับแสนล้านบาท ทั้งหมดนี้เพราะ รมว.หมอนักธุรกิจที่รับจ๊อบทางการเมืองมาทำลายองค์กร ทำลายระบบ และทำลายเครือข่ายตรวจสอบการทุจริตทั้งทางตรงและทุจริตเชิงนโยบายให้อ่อนแอลง เพื่อเปิดทางให้ออกนโยบายและจัดระบบที่เอื้อกับธุรกิจทางการเมืองและเอกชนได้ง่ายขึ้นในอนาคต
สถานการณ์ความเสี่ยงตกเหวของระบบสาธารณสุขไทยในขณะนี้ เกิดขึ้นจากความอ่อนแอของหน่วยงานสาธารณสุขที่ถูกแยกสลายและยึดครองจากผู้มีอำนาจทางการเมือง และเกิดจากการใช้อำนาจของ รมว.หมอนักธุรกิจที่รับจ๊อบทางการเมืองเพื่อเอื้อธุรกิจเอกชนและทุนข้ามชาติ ร่วมกับฝ่ายประจำบางคนที่สนองการเมืองโดยไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นขอเพียงให้ตนเองมีตำแหน่ง และอยู่ในตำแหน่งได้ก็พอ
พวกเราหมอที่ทำงานอยู่ในชนบท มีความเป็นห่วงและรับไม่ได้กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้ จึงต้องรวมตัวเป็นเครือข่าย เพื่อฟ้องต่อสังคม เรียกร้องต่อชาวสาธารณสุขให้เป็นเอกภาพ ลุกขึ้นปกป้องระบบ ปกป้องประโยชน์ และสุขภาพของประชาชน และเรียกร้องให้รัฐมนตรีสาธารณสุข ที่รับจ็อบทางการเมืองมาทำลายระบบสาธารณสุข ให้ออกไป