เมืองไทยมี จยย.สูง 19 ล้านคัน แต่ไม่นิยมสวมหมวกกันน็อก ชอบเมาแล้วขับ ส่งผลเกิดอุบัติเหตุจนบาดเจ็บและตายพุ่ง 82% ตกชั่วโมงละคน เสี่ยงกว่ารถยนต์ถึง 37 เท่า ขึ้นอันดับ 3 ของโลก คกก.ศูนย์ความปลอดภัยฯ เล็งเรียกผู้ผลิตรถคุย หลังพบรถวงล้อกว้าง หน้ายางแคบ และมีความเร็วสูง ไม่เหมือนของต่างประเทศ ทำรถไม่เสถียรเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุง่าย
วันนี้ (25 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากข้อมูลอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ เมาแล้วขับ ร้อยละ 38.73 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.25 พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดคือไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 24.39 ทั้งนี้ รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่ใช้มากที่สุดในถนนเมืองไทย จากข้อมูลการจดทะเบียนยานพาหนะของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ในปี 2555 พบว่า ประเทศไทยมีรถจักรยานยนต์ 19 ล้านคัน คิดเป็นสัดส่วนสูงสุดถึงร้อยละ 58.6 ของรถที่จดทะเบียนสะสมทั้งหมดคือ 32.4 ล้านคัน รองลงมาคือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน หรือรถเก๋ง ร้อยละ 36.0 และจากข้อมูลของโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับชาติ ปี 2555 จากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า มีผู้บาดเจ็บและตายจากการใช้รถจักรยานยนต์ สัดส่วนสูงถึงร้อยละ 81.67 ของพาหนะผู้บาดเจ็บทั้งหมด และการใช้รถจักรยานยนต์มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่ารถยนต์ถึง 37 เท่า
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผลการประชุมเพื่อพัฒนาความปลอดภัยของรถจักรยานยนต์ พบว่า ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยเสียชีวิตชั่วโมงละ 1 คน จากการบาดเจ็บบนท้องถนน ซึ่งประเทศไทยมีการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุขนส่งสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก (Global Status Report 2013) และอีกประเด็นที่สำคัญมาก คือรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยมีลักษณะที่แตกต่างจากที่วางขายในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งอาจมีผลต่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายได้ ซึ่งมีข้อมูลจำเพาะด้านเทคนิค เช่น วงล้อกว้าง หน้ายางแคบ และมีความเร็วสูง เป็นต้น ซึ่งน่าจะมีผลต่อการเบรกและความเสถียรของรถจักรยานยนต์ ในที่ประชุมจึงเห็นควรให้บริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย มาเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการศูนย์ความปลอดภัยทางถนน ในเรื่องเหตุผลที่มีความแตกต่างของรถจักรยานยนต์ที่ผลิตในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอเกี่ยวกับการโฆษณา เช่น ควรห้ามโฆษณารถจักรยานยนต์ที่ส่งเสริมพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถจักรยานยนต์ อาทิ รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวโดยมีภาพผู้ใช้รถ 4 คน/1 คัน, มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์แต่ไม่มีหมวกนิรภัย, โฆษณาความเร็วกับความแรง เป็นต้น รวมถึงข้อเสนอให้พิจารณาเร่งรัดการสร้างช่องทางเฉพาะของรถจักรยานยนต์บนถนน เพราะมีความคุ้มค่าในการลงทุนถึง 6 เท่า
“เมาแล้วขับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เพราะพบว่าหลังเกิดอุบัติเหตุจะมีเรื่องของเมาสุราเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยกว่าร้อยละ 50 ดัวนั้น เมื่อดื่มสุราไม่ควรขับขี่ยานยนต์ทุกชนิด ควรให้เพื่อนที่ไม่ดื่มขับรถให้ หรือใช้บริการรถแท็กซี่แทน สำหรับหลักปฏิบัติ 10 ข้อ ในการขับขี่รถจักยานยนต์ให้ปลอดภัยมีดังนี้ 1.สวมหมวกกันน็อกทุกครั้งเวลาขับขี่ทั้งผู้ขับและผู้ซ้อน 2.หมั่นตรวจระบบเบรก ยาง และไฟให้พร้อมใช้งาน 3.มองดูด้านหลังและให้สัญญาณไฟทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนช่องทาง 4.สัญญาณจราจรที่สำคัญและควรจดจำ 5.อย่าขับขี่สวนทางหรือข้ามช่องทางวิ่ง 6.โปรดระมัดระวังและลดความเร็วทุกครั้ง เมื่อพบกับสภาพถนนที่ขรุขระ 7.อย่าขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด 8.ห้ามเสพหรือดื่มของมึนเมาขณะขับขี่ 9.การขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านบริเวณสี่แยก ควรหยุดรถหรือชะลอความเร็วของรถ และ 10.การขับขี่รถจักรยานยนต์บนถนนที่ไม่มีไฟส่องสว่าง ควรขับโดยใช้ความเร็วต่ำกว่าเวลากลางวัน หากพบอุบัติเหตุสามารถขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน โทร.สายด่วน 1669” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
วันนี้ (25 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากข้อมูลอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ เมาแล้วขับ ร้อยละ 38.73 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.25 พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดคือไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 24.39 ทั้งนี้ รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่ใช้มากที่สุดในถนนเมืองไทย จากข้อมูลการจดทะเบียนยานพาหนะของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ในปี 2555 พบว่า ประเทศไทยมีรถจักรยานยนต์ 19 ล้านคัน คิดเป็นสัดส่วนสูงสุดถึงร้อยละ 58.6 ของรถที่จดทะเบียนสะสมทั้งหมดคือ 32.4 ล้านคัน รองลงมาคือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน หรือรถเก๋ง ร้อยละ 36.0 และจากข้อมูลของโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับชาติ ปี 2555 จากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า มีผู้บาดเจ็บและตายจากการใช้รถจักรยานยนต์ สัดส่วนสูงถึงร้อยละ 81.67 ของพาหนะผู้บาดเจ็บทั้งหมด และการใช้รถจักรยานยนต์มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่ารถยนต์ถึง 37 เท่า
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผลการประชุมเพื่อพัฒนาความปลอดภัยของรถจักรยานยนต์ พบว่า ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยเสียชีวิตชั่วโมงละ 1 คน จากการบาดเจ็บบนท้องถนน ซึ่งประเทศไทยมีการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุขนส่งสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก (Global Status Report 2013) และอีกประเด็นที่สำคัญมาก คือรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยมีลักษณะที่แตกต่างจากที่วางขายในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งอาจมีผลต่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายได้ ซึ่งมีข้อมูลจำเพาะด้านเทคนิค เช่น วงล้อกว้าง หน้ายางแคบ และมีความเร็วสูง เป็นต้น ซึ่งน่าจะมีผลต่อการเบรกและความเสถียรของรถจักรยานยนต์ ในที่ประชุมจึงเห็นควรให้บริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย มาเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการศูนย์ความปลอดภัยทางถนน ในเรื่องเหตุผลที่มีความแตกต่างของรถจักรยานยนต์ที่ผลิตในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอเกี่ยวกับการโฆษณา เช่น ควรห้ามโฆษณารถจักรยานยนต์ที่ส่งเสริมพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถจักรยานยนต์ อาทิ รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวโดยมีภาพผู้ใช้รถ 4 คน/1 คัน, มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์แต่ไม่มีหมวกนิรภัย, โฆษณาความเร็วกับความแรง เป็นต้น รวมถึงข้อเสนอให้พิจารณาเร่งรัดการสร้างช่องทางเฉพาะของรถจักรยานยนต์บนถนน เพราะมีความคุ้มค่าในการลงทุนถึง 6 เท่า
“เมาแล้วขับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เพราะพบว่าหลังเกิดอุบัติเหตุจะมีเรื่องของเมาสุราเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยกว่าร้อยละ 50 ดัวนั้น เมื่อดื่มสุราไม่ควรขับขี่ยานยนต์ทุกชนิด ควรให้เพื่อนที่ไม่ดื่มขับรถให้ หรือใช้บริการรถแท็กซี่แทน สำหรับหลักปฏิบัติ 10 ข้อ ในการขับขี่รถจักยานยนต์ให้ปลอดภัยมีดังนี้ 1.สวมหมวกกันน็อกทุกครั้งเวลาขับขี่ทั้งผู้ขับและผู้ซ้อน 2.หมั่นตรวจระบบเบรก ยาง และไฟให้พร้อมใช้งาน 3.มองดูด้านหลังและให้สัญญาณไฟทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนช่องทาง 4.สัญญาณจราจรที่สำคัญและควรจดจำ 5.อย่าขับขี่สวนทางหรือข้ามช่องทางวิ่ง 6.โปรดระมัดระวังและลดความเร็วทุกครั้ง เมื่อพบกับสภาพถนนที่ขรุขระ 7.อย่าขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด 8.ห้ามเสพหรือดื่มของมึนเมาขณะขับขี่ 9.การขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านบริเวณสี่แยก ควรหยุดรถหรือชะลอความเร็วของรถ และ 10.การขับขี่รถจักรยานยนต์บนถนนที่ไม่มีไฟส่องสว่าง ควรขับโดยใช้ความเร็วต่ำกว่าเวลากลางวัน หากพบอุบัติเหตุสามารถขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน โทร.สายด่วน 1669” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว