“หมอประดิษฐ” สั่งระดมหน่วยแพทย์ และรถพยาบาลฉุกเฉินกว่า 14 ทีม เข้าช่วยเหลือผู้ประสบเหตุไฟไหม้ศูนย์อพยพบ้านแม่สุรินทร์ อ.ขุนยวม พร้อมสั่งตั้งศูนย์บัญชาการจัดการภัยพิบัติด้านสุขภาพ ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากควันไฟ เร่งแจกหน้ากากอนามัยป้องกันกลุ่มเสี่ยงสูดฝุ่นละอองเข้าปอด
วันนี้ (23 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ได้ส่งทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ พร้อมรถพยาบาลฉุกเฉิน อาหาร เครื่องมือแพทย์ ยาเวชภัณฑ์ จาก รพ.ปาย รพ.ศรีสังวาลย์ รพ.ขุนยวม รพ.แม่สะเรียง รพ.แม่ลาน้อย มูลนิธิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) แม่ฮ่องสอน และรถจากหน่วยบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยทหารรวมกว่า 14 ทีม เข้าไปในที่เกิดเหตุ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยร่วมกับท้องถิ่นอย่างเต็มที่ หลังเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ศูนย์อพยพบ้านแม่สุรินทร์ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดเมื่อเวลา 11.00 น. ได้รับรายงานมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 32 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 100 กว่าราย และมีบาดเจ็บต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 6 ราย รักษาตัวในโรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ รพ.มหาราช จังหวัดเชียงใหม่ 2 ราย มีอาการสาหัส ได้แก่ 1.นายปาทู อายุ 55 ปี ถูกไฟลวกประมาณร้อยละ 80 ของร่างกาย 2.เด็กชายชาเหน่ทู อายุ 13 ปี ถูกไฟลวก ร้อยละ 90 ของร่างกาย แพทย์ใส่เครื่องช่วยหายใจ อยู่ที่ รพ.ศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน 1 ราย ชื่อนายทูเง อายุ 22 ปี ถูกไฟลวกประมาณร้อยละ 18 ของร่างกาย และอยู่ที่โรงพยาบาลขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน 3 ราย ถูกไฟลวกร่างกายประมาณร้อยละ 10 ได้มอบหมายให้ นพ.วิศิษฐ์ ตั้งนภากร ผู้ตรวจราชการ สธ.ประจำเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 1 อำนวยการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่อย่างเต็มที่
นพ.วิศิษฐ์ กล่าวว่า ได้ให้ สสจ.จัดตั้งศูนย์บัญชาการจัดการภัยพิบัติด้านสุขภาพของจังหวัดแล้ว โดยมี นพ.ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทย์ สสจ.แม่ฮ่องสอนเป็นผู้บัญชาการ ร่วมกับศูนย์บัญชาการจัดการภัยพิบัติด้านสุขภาพของอำเภอขุนยวม โดยมี นพ.บุญเลิศ สุริยบรรเจิด ผอ.รพ.ขุนยวมเป็นประธาน เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังและประเมินสภาพปัญหาที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะจากควันไฟที่เกิดจากเพลิงไหม้ศูนย์พักพิง เพิ่มเติมจากปัญหาหมอกควันที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ รวมทั้งได้สั่งการให้พื้นที่ข้างเคียง เพิ่มการเฝ้าระวังผลกระทบจากควันไฟด้วย ซึ่งฝุ่นละอองจากควันไฟ ส่วนใหญ่จะทำให้เยื่อบุตาอักเสบ และส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ โดยได้รับรายงานว่าพื้นที่ที่ประสบควันไฟ มีผู้ป่วยเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลต่างๆเพิ่มขึ้นจากปกติ ร้อยละ 5-10 แต่ยังไม่พบรายใดมีอาการรุนแรง ขณะนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ดำเนินการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงและแจกหน้ากากอนามัยป้องกันการสูดฝุ่นละอองเข้าปอด ได้แก่ กลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคถุงลมปอดโป่งพอง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
วันนี้ (23 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ได้ส่งทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ พร้อมรถพยาบาลฉุกเฉิน อาหาร เครื่องมือแพทย์ ยาเวชภัณฑ์ จาก รพ.ปาย รพ.ศรีสังวาลย์ รพ.ขุนยวม รพ.แม่สะเรียง รพ.แม่ลาน้อย มูลนิธิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) แม่ฮ่องสอน และรถจากหน่วยบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยทหารรวมกว่า 14 ทีม เข้าไปในที่เกิดเหตุ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยร่วมกับท้องถิ่นอย่างเต็มที่ หลังเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ศูนย์อพยพบ้านแม่สุรินทร์ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดเมื่อเวลา 11.00 น. ได้รับรายงานมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 32 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 100 กว่าราย และมีบาดเจ็บต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 6 ราย รักษาตัวในโรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ รพ.มหาราช จังหวัดเชียงใหม่ 2 ราย มีอาการสาหัส ได้แก่ 1.นายปาทู อายุ 55 ปี ถูกไฟลวกประมาณร้อยละ 80 ของร่างกาย 2.เด็กชายชาเหน่ทู อายุ 13 ปี ถูกไฟลวก ร้อยละ 90 ของร่างกาย แพทย์ใส่เครื่องช่วยหายใจ อยู่ที่ รพ.ศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน 1 ราย ชื่อนายทูเง อายุ 22 ปี ถูกไฟลวกประมาณร้อยละ 18 ของร่างกาย และอยู่ที่โรงพยาบาลขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน 3 ราย ถูกไฟลวกร่างกายประมาณร้อยละ 10 ได้มอบหมายให้ นพ.วิศิษฐ์ ตั้งนภากร ผู้ตรวจราชการ สธ.ประจำเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 1 อำนวยการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่อย่างเต็มที่
นพ.วิศิษฐ์ กล่าวว่า ได้ให้ สสจ.จัดตั้งศูนย์บัญชาการจัดการภัยพิบัติด้านสุขภาพของจังหวัดแล้ว โดยมี นพ.ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทย์ สสจ.แม่ฮ่องสอนเป็นผู้บัญชาการ ร่วมกับศูนย์บัญชาการจัดการภัยพิบัติด้านสุขภาพของอำเภอขุนยวม โดยมี นพ.บุญเลิศ สุริยบรรเจิด ผอ.รพ.ขุนยวมเป็นประธาน เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังและประเมินสภาพปัญหาที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะจากควันไฟที่เกิดจากเพลิงไหม้ศูนย์พักพิง เพิ่มเติมจากปัญหาหมอกควันที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ รวมทั้งได้สั่งการให้พื้นที่ข้างเคียง เพิ่มการเฝ้าระวังผลกระทบจากควันไฟด้วย ซึ่งฝุ่นละอองจากควันไฟ ส่วนใหญ่จะทำให้เยื่อบุตาอักเสบ และส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ โดยได้รับรายงานว่าพื้นที่ที่ประสบควันไฟ มีผู้ป่วยเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลต่างๆเพิ่มขึ้นจากปกติ ร้อยละ 5-10 แต่ยังไม่พบรายใดมีอาการรุนแรง ขณะนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ดำเนินการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงและแจกหน้ากากอนามัยป้องกันการสูดฝุ่นละอองเข้าปอด ได้แก่ กลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคถุงลมปอดโป่งพอง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น