สพฐ.สั่งตั้ง กก.สอบวินัยร้ายแรง ผอ.และ รองผอ.เขตพื้นที่ฯ เจ้าหน้าที่ 7 ราย ใน สพป.ขอนแก่น เขต 3 “ชินภัทร” ชี้ กก.สอบข้อเท็จจริงลงพื้นที่ตรวจสอบพบหลักฐานส่อพิรุธเพียบ ตั้งแต่ กก.คุมสอบไม่ทำตามข้อแนะนำ การจัดผังที่นั่งสอบใหม่เปลี่ยนจากเดิมที่กำหนด การปลอมแปลงบัตรประจำตัวผู้สอบ เตรียมย้ายผู้ถูกสอบออกจากพื้นที่ ขณะที่ “พงศ์เทพ” นัดประชุมบอร์ด 22 มี.ค.นี้ ระบุหากข้อมูลพอจะชี้ขาดทันที
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าในการสอบสวนกรณีทุจริตการจัดสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ว 12 ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ข้าราชการจำนวน 7 คน ประกอบด้วย 1.ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ขอนแก่น เขต 3, รอง ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 3 ที่รับผิดชอบการบริหารงานบุคคล, หัวหน้ากลุ่มบุคคลประจำ สพป.ขอนแก่น เขต 3 และผู้ทำหน้าที่ในการคุมสอบ 4 คน การตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงนี้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่ง สพฐ.ตั้งขึ้นก่อนหน้านี้ เพื่อให้ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงการจัดสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยใน สพป.ขอนแก่น เขต 3 ที่ปรากฏมีชื่อผู้สอบผ่านการคัดเลือกซ้ำกันกับ สพป.ศรีสะเกษ เขต 2
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า ผลการสอบที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงสรุปข้อมูลมาให้เมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา พบความผิดปกติหลายอย่าง โดยในรายงานระบุว่า กรรมการกำกับห้องสอบไม่ดำเนินการตามแนวปฏิบัติ สพฐ.ที่กำหนดชัดเจนว่า ให้ตรวจสอบชัดเจนหลักฐาน รูปถ่ายบนบัตรประจำตัวผู้สอบให้ชัดเจนว่า บุคคลที่เข้าสอบนั้นเป็นบุคคลเดียวกับผู้สมัครสอบ ลายมือชื่อของผู้เข้าสอบก็ไม่เหมือนกับลายมือชื่อผู้สมัครสอบ นอกจากนั้น ยังพบหลักฐานการปลอมแปลงบัตรประจำตัวผู้สมัครสอบซึ่งจะติดไว้มุมโต๊ะของผู้สอบ โดยพบว่า บัตรดังกล่าวมีรอยประทับตราของ สพป.ขอนแก่น เขต 3 ซ้ำกัน คาดว่าเพราะมีการเปลี่ยนรูปถ่ายบนบัตร ขณะเดียวกัน ยังพบเหตุพิรุธในการจัดที่นั่งสอบ สพฐ.กำหนดให้จัดที่นั่งสอบให้วนลูกศร จากหน้าห้องไปหลังห้อง และหลังห้องมาหน้าห้องสลับกันไป ห้องสอบละ 25 คน แต่กลับให้นั่งสอบเป็นลักษณะเรียงหน้ากระดานจากซ้ายไปขวา ไม่เป็นตามแบบแผน ซึ่งต้องไปตรวจสอบต่อไปว่า เป็นคำสั่งจากใครและให้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบหลักฐานมาตรวจสอบกรณีบัตรประจำตัวด้วย
“เราพบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมีความเชื่อมโยงกับเขตพื้นที่ สพฐ.จึงต้องดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงโดยจะดำเนินการตามข้อมูล หลักฐานที่มี ขอเรียนว่า อำนาจการบริหารงานบุคคลเป็นของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ สพฐ.ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงแต่หากเชื่อมโยง ผอ.หรือ รอง ผอ.เขตพื้นที่ฯ เป็นขอบเขตที่ สพฐ.ดำเนินการได้ ทั้งนี้จากหลักฐานต่างๆ ดังกล่าวที่รวบรวมมาได้มีข้อมูลเพียงพอว่ามีการโยงใยระหว่างบุคคลในเขต พื้นที่การศึกษากับบุคคลที่ปลอมตัวเข้ามาสอบแทนจึงเป็นเหตุให้ทางคณะกรรมการ และระหว่างการสอบวินัยร้ายแรงดังกล่าว จะมีการย้าย ผอ./รองผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 3 และหัวหน้ากลุ่มบุคคลฯ ออกจากเขตพื้นที่เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างคล่องตัว โปร่งใส และได้ข้อมูลครบถ้วนจากทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ หากผู้ใดมีข้อมูลหรือเบาะแสที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารและบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาใดๆ ก็ตาม หรือข้อมูลเบาะแสที่เกี่ยวกับบุคลากรในส่วนของ สพฐ.ขอให้แจ้งข้อมูลเข้ามายัง สพฐ.หรือจะแจ้งมายัง นายสุเทพ ชิตยวงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.ได้ตลอดเวลา สพฐ.จะลงไปตรวจสอบตามข้อมูลที่ได้มาโดยจะไม่มีการยกเว้นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ตนได้นำข้อมูลดังกล่าวรายงานต่อนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ รับทราบแล้วรวมทั้งได้นำข้อมูลการรวิเคราะห์คะแนนผลการสอบที่ผิดปกติ โดยเจาะลึกว่า จำนวนคนที่มีคะแนนผิดปกตินั้น สอบติดที่เขตพื้นที่การศึกษาใดบ้าง ซึ่งพบว่า ในจำนวนคนที่มีคะแนนสูงผิดปกติไม่ครบ 4 วิชา คะแนนภาค ข.ได้ไม่เยอะ ก็ไม่ได้สอบติดทำให้จำนวนผู้ทำคะแนนสูงผิดปกตินั้นเรียกบรรจุไม่เต็มจำนวน คาดว่า รมช.ศึกษาธิการ จะส่งต่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ต่อไป ส่วนการตัดสินใจจะยกเลิกการจัดสอบหรือไม่เป็นเรื่องของที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งข้อมูลต่างๆ จะถูกนำเสนอในที่ประชุม ก.ค.ศ.ด้วยซึ่งคาดว่าจะประชุมในวันที่ 22 มี.ค.2556 จากเดิมกำหนดไว้ 13 มี.ค.2556
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ในการประชุม บอร์ด ก.ค.ศ.เป็นวันที่ 22 มี.ค.นี้ ถ้ามีหลักฐานเพียงพอจะตัดสินให้ชัดเจนไปเลยว่า มีเขตพื้นที่การศึกษาใดบ้างที่ต้องยกเลิกการสอบ หรือยกเลิกผลสอบเป็นรายบุคคลใดบ้าง เชื่อว่า การประชุมวันนั้น น่าจะมีหลักฐานเพียงพอให้ตัดสินใจได้ ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า การตรวจสอบเรื่องทุจริตการจัดสอบคัดเลือกผู้ช่วยนั้น เป็นการสอบแบบเอาจริง และตรงไปตรงมา ไม่มีการเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยแน่นอน หากพบหลักฐานการทำผิด ศธ.จะลงโทษทางวินัย และต้องรับถูกดำเนินดคีทางอาญาด้วย
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าในการสอบสวนกรณีทุจริตการจัดสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ว 12 ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ข้าราชการจำนวน 7 คน ประกอบด้วย 1.ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ขอนแก่น เขต 3, รอง ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 3 ที่รับผิดชอบการบริหารงานบุคคล, หัวหน้ากลุ่มบุคคลประจำ สพป.ขอนแก่น เขต 3 และผู้ทำหน้าที่ในการคุมสอบ 4 คน การตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงนี้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่ง สพฐ.ตั้งขึ้นก่อนหน้านี้ เพื่อให้ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงการจัดสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยใน สพป.ขอนแก่น เขต 3 ที่ปรากฏมีชื่อผู้สอบผ่านการคัดเลือกซ้ำกันกับ สพป.ศรีสะเกษ เขต 2
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า ผลการสอบที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงสรุปข้อมูลมาให้เมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา พบความผิดปกติหลายอย่าง โดยในรายงานระบุว่า กรรมการกำกับห้องสอบไม่ดำเนินการตามแนวปฏิบัติ สพฐ.ที่กำหนดชัดเจนว่า ให้ตรวจสอบชัดเจนหลักฐาน รูปถ่ายบนบัตรประจำตัวผู้สอบให้ชัดเจนว่า บุคคลที่เข้าสอบนั้นเป็นบุคคลเดียวกับผู้สมัครสอบ ลายมือชื่อของผู้เข้าสอบก็ไม่เหมือนกับลายมือชื่อผู้สมัครสอบ นอกจากนั้น ยังพบหลักฐานการปลอมแปลงบัตรประจำตัวผู้สมัครสอบซึ่งจะติดไว้มุมโต๊ะของผู้สอบ โดยพบว่า บัตรดังกล่าวมีรอยประทับตราของ สพป.ขอนแก่น เขต 3 ซ้ำกัน คาดว่าเพราะมีการเปลี่ยนรูปถ่ายบนบัตร ขณะเดียวกัน ยังพบเหตุพิรุธในการจัดที่นั่งสอบ สพฐ.กำหนดให้จัดที่นั่งสอบให้วนลูกศร จากหน้าห้องไปหลังห้อง และหลังห้องมาหน้าห้องสลับกันไป ห้องสอบละ 25 คน แต่กลับให้นั่งสอบเป็นลักษณะเรียงหน้ากระดานจากซ้ายไปขวา ไม่เป็นตามแบบแผน ซึ่งต้องไปตรวจสอบต่อไปว่า เป็นคำสั่งจากใครและให้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบหลักฐานมาตรวจสอบกรณีบัตรประจำตัวด้วย
“เราพบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมีความเชื่อมโยงกับเขตพื้นที่ สพฐ.จึงต้องดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงโดยจะดำเนินการตามข้อมูล หลักฐานที่มี ขอเรียนว่า อำนาจการบริหารงานบุคคลเป็นของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ สพฐ.ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงแต่หากเชื่อมโยง ผอ.หรือ รอง ผอ.เขตพื้นที่ฯ เป็นขอบเขตที่ สพฐ.ดำเนินการได้ ทั้งนี้จากหลักฐานต่างๆ ดังกล่าวที่รวบรวมมาได้มีข้อมูลเพียงพอว่ามีการโยงใยระหว่างบุคคลในเขต พื้นที่การศึกษากับบุคคลที่ปลอมตัวเข้ามาสอบแทนจึงเป็นเหตุให้ทางคณะกรรมการ และระหว่างการสอบวินัยร้ายแรงดังกล่าว จะมีการย้าย ผอ./รองผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 3 และหัวหน้ากลุ่มบุคคลฯ ออกจากเขตพื้นที่เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างคล่องตัว โปร่งใส และได้ข้อมูลครบถ้วนจากทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ หากผู้ใดมีข้อมูลหรือเบาะแสที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารและบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาใดๆ ก็ตาม หรือข้อมูลเบาะแสที่เกี่ยวกับบุคลากรในส่วนของ สพฐ.ขอให้แจ้งข้อมูลเข้ามายัง สพฐ.หรือจะแจ้งมายัง นายสุเทพ ชิตยวงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.ได้ตลอดเวลา สพฐ.จะลงไปตรวจสอบตามข้อมูลที่ได้มาโดยจะไม่มีการยกเว้นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ตนได้นำข้อมูลดังกล่าวรายงานต่อนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ รับทราบแล้วรวมทั้งได้นำข้อมูลการรวิเคราะห์คะแนนผลการสอบที่ผิดปกติ โดยเจาะลึกว่า จำนวนคนที่มีคะแนนผิดปกตินั้น สอบติดที่เขตพื้นที่การศึกษาใดบ้าง ซึ่งพบว่า ในจำนวนคนที่มีคะแนนสูงผิดปกติไม่ครบ 4 วิชา คะแนนภาค ข.ได้ไม่เยอะ ก็ไม่ได้สอบติดทำให้จำนวนผู้ทำคะแนนสูงผิดปกตินั้นเรียกบรรจุไม่เต็มจำนวน คาดว่า รมช.ศึกษาธิการ จะส่งต่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ต่อไป ส่วนการตัดสินใจจะยกเลิกการจัดสอบหรือไม่เป็นเรื่องของที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งข้อมูลต่างๆ จะถูกนำเสนอในที่ประชุม ก.ค.ศ.ด้วยซึ่งคาดว่าจะประชุมในวันที่ 22 มี.ค.2556 จากเดิมกำหนดไว้ 13 มี.ค.2556
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ในการประชุม บอร์ด ก.ค.ศ.เป็นวันที่ 22 มี.ค.นี้ ถ้ามีหลักฐานเพียงพอจะตัดสินให้ชัดเจนไปเลยว่า มีเขตพื้นที่การศึกษาใดบ้างที่ต้องยกเลิกการสอบ หรือยกเลิกผลสอบเป็นรายบุคคลใดบ้าง เชื่อว่า การประชุมวันนั้น น่าจะมีหลักฐานเพียงพอให้ตัดสินใจได้ ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า การตรวจสอบเรื่องทุจริตการจัดสอบคัดเลือกผู้ช่วยนั้น เป็นการสอบแบบเอาจริง และตรงไปตรงมา ไม่มีการเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยแน่นอน หากพบหลักฐานการทำผิด ศธ.จะลงโทษทางวินัย และต้องรับถูกดำเนินดคีทางอาญาด้วย