สภาคณาจารย์ มมส.ออกแถลงการณ์ จี้ “ศุภชัย” อธิการแจงกรณี สตง.ตรวจสอบและแสดงสปิริตทิ้งเก้าอี้ อธ.มมส.เปิดทางให้การสอบสวนโปร่งใส
นายพัฒนพงษ์ วันจันทึก ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักตรวจสอบพิเศษภาค 7 ได้สอบกรณีการดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารวิทยพัฒนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามสัญญาจ้างเลขที่ จ.07/2553 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 ของ มมส. ในขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินล่วงหน้า 50% ของสัญญาจ้าง มีพฤติการณ์ไม่ชอบด้วยระเบียบ กฎหมาย และเป็นการทุจริตประพฤติมิชอบ ขณะเดียวกัน สตง.และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ยังชี้ว่า นายศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดี มมส.มีพฤติกรรมที่ส่อเจตนาทุจริตและการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้รับเหมา นอกจากนั้น สตง.ยังรายงานพฤติกรรมที่อธิการบดีเบิกเงินค่าตอบแทนตำแหน่งอธิการบดีเกินจำนวนที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติโดยไม่มีระเบียบรองรับ ตรวจสอบได้ว่าเงินที่เบิกเกินไปเป็นจำนวนอย่างน้อย 2 ล้านบาท ซึ่งล่าสุด สกอ.ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงอธิการบดีและผู้เกี่ยวข้อง โดยมีนายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)เป็นประธาน
ประธานสภาคณาจารย์ฯ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวนี้ได้มีการเสนอเข้าไปเพื่อรับการพิจารณาในสภามหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ความวุ่นวายในสภามหาวิทยาลัยได้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง กรรมการสภามหาวิทยาลัย ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่าน ได้ยื่นจดหมายลาออกต่อนายกสภาในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ต่อมา นายอักขราทร จุฬารัตน นายกสภามหาวิทยาลัย ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งกลางที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา โดยสาเหตุที่นายกสภามหาวิทยาลัยลาออกจากตำแหน่ง นอกจากเรื่องปัญหาการทุจริตภายในแล้ว ยังมีปัญหาในการตั้งกรรมการสรรหาอธิการบดี มมส แทน นายศุภชัย ซึ่งกำลังจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งในเดือนมิถุนายน 2556 ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องดังกล่าว นายกสภาฯ พยายามจะคัดเลือกผู้ที่มีความเป็นกลางมาเป็นกรรมการสรรหาตามอำนาจ แต่กรรมการสภามหาวิทยาลัยบางท่านได้เกิดข้อโต้แย้งอย่างรุนแรงในสภามหาวิทยาลัย จนเป็นเหตุทำให้นายกสภามหาวิทยาลัยประกาศลาออกกลางที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย นอกจากนั้น ยังเป็นที่ทราบเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ สตง.ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมและปรากฏหลักฐานชัดเจนจนเป็นข้อสังเกตในการดำเนินการโครงการก่อสร้างและการดำเนินการอื่นๆ อันเกิดความเสียหายแก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เช่น กรณีในการก่อสร้างศูนย์กีฬามหาวิทยาลัย กรณีการโยกย้ายสถานที่ฝากเงินจำนวน 1,300 ล้านบาท ของมหาวิทยาลัยโดยไม่เป็นไปตามระเบียบ
นายพัฒนพงษ์ กล่าวด้วยว่า เพราะฉะนั้น เพื่อยุติความวุ่นวายทั้งหมดที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต สภาคณาจารย์จึงมีมติ ออกแถลงการณ์ของที่ประชุมสภาคณาจารย์ มมส.ฉบับที่ 1/2556 เรื่อง “แนวทางการแก้ไขวิกฤตการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม” เรียกร้อง ไปยังอธิการบดี มมส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.เรียกร้องให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามออกแถลงการณ์ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อกรณีดังกล่าวต่อประชาคมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2.เรียกร้องให้อธิการบดีแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดโอกาสให้กระบวนการสอบสวนดำเนินไปด้วยความโปร่งใส 3.ให้สภา มมส.เอาใจใส่ในการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยยึดหลักธรรมาภิบาล 4.เรียกร้องให้ สกอ.และ ป.ป.ช.เร่งให้มีการดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว 5.เรียกร้องให้การประชุมสภามหาวิทยาลัยในการประชุมวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นโมฆะ เนื่องจากมีการดำเนินการที่ไม่เหมาะสม ในการแต่งตั้งกรรมการสรรหาอธิการบดี หลังจากนายกสภามหาวิทยาลัยลาออก 6.เรียกร้องให้กระบวนการสรรหาอธิการบดีและนายกสภามหาวิทยาลัยเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลโดยเปิดโอกาสให้คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตมีส่วนร่วมกับกระบวนการสรรหาดังกล่าวด้วย
“ในสัปดาห์หน้าตนในฐานะประธานสภาคณาจารย์จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อหน่วยงานที่เกี่ยวของ ตั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สตง. ป.ป.ช. เพื่อขอให้เร่งดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าว” ประธานสภาคณาจารย์ฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้พยายามโทร.ติดต่อเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นไปยังอธิการบดี มมส.แต่ไม่สามารถติดต่อได้
นายพัฒนพงษ์ วันจันทึก ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักตรวจสอบพิเศษภาค 7 ได้สอบกรณีการดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารวิทยพัฒนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามสัญญาจ้างเลขที่ จ.07/2553 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 ของ มมส. ในขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินล่วงหน้า 50% ของสัญญาจ้าง มีพฤติการณ์ไม่ชอบด้วยระเบียบ กฎหมาย และเป็นการทุจริตประพฤติมิชอบ ขณะเดียวกัน สตง.และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ยังชี้ว่า นายศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดี มมส.มีพฤติกรรมที่ส่อเจตนาทุจริตและการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้รับเหมา นอกจากนั้น สตง.ยังรายงานพฤติกรรมที่อธิการบดีเบิกเงินค่าตอบแทนตำแหน่งอธิการบดีเกินจำนวนที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติโดยไม่มีระเบียบรองรับ ตรวจสอบได้ว่าเงินที่เบิกเกินไปเป็นจำนวนอย่างน้อย 2 ล้านบาท ซึ่งล่าสุด สกอ.ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงอธิการบดีและผู้เกี่ยวข้อง โดยมีนายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)เป็นประธาน
ประธานสภาคณาจารย์ฯ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวนี้ได้มีการเสนอเข้าไปเพื่อรับการพิจารณาในสภามหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ความวุ่นวายในสภามหาวิทยาลัยได้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง กรรมการสภามหาวิทยาลัย ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่าน ได้ยื่นจดหมายลาออกต่อนายกสภาในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ต่อมา นายอักขราทร จุฬารัตน นายกสภามหาวิทยาลัย ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งกลางที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา โดยสาเหตุที่นายกสภามหาวิทยาลัยลาออกจากตำแหน่ง นอกจากเรื่องปัญหาการทุจริตภายในแล้ว ยังมีปัญหาในการตั้งกรรมการสรรหาอธิการบดี มมส แทน นายศุภชัย ซึ่งกำลังจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งในเดือนมิถุนายน 2556 ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องดังกล่าว นายกสภาฯ พยายามจะคัดเลือกผู้ที่มีความเป็นกลางมาเป็นกรรมการสรรหาตามอำนาจ แต่กรรมการสภามหาวิทยาลัยบางท่านได้เกิดข้อโต้แย้งอย่างรุนแรงในสภามหาวิทยาลัย จนเป็นเหตุทำให้นายกสภามหาวิทยาลัยประกาศลาออกกลางที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย นอกจากนั้น ยังเป็นที่ทราบเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ สตง.ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมและปรากฏหลักฐานชัดเจนจนเป็นข้อสังเกตในการดำเนินการโครงการก่อสร้างและการดำเนินการอื่นๆ อันเกิดความเสียหายแก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เช่น กรณีในการก่อสร้างศูนย์กีฬามหาวิทยาลัย กรณีการโยกย้ายสถานที่ฝากเงินจำนวน 1,300 ล้านบาท ของมหาวิทยาลัยโดยไม่เป็นไปตามระเบียบ
นายพัฒนพงษ์ กล่าวด้วยว่า เพราะฉะนั้น เพื่อยุติความวุ่นวายทั้งหมดที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต สภาคณาจารย์จึงมีมติ ออกแถลงการณ์ของที่ประชุมสภาคณาจารย์ มมส.ฉบับที่ 1/2556 เรื่อง “แนวทางการแก้ไขวิกฤตการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม” เรียกร้อง ไปยังอธิการบดี มมส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.เรียกร้องให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามออกแถลงการณ์ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อกรณีดังกล่าวต่อประชาคมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2.เรียกร้องให้อธิการบดีแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดโอกาสให้กระบวนการสอบสวนดำเนินไปด้วยความโปร่งใส 3.ให้สภา มมส.เอาใจใส่ในการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยยึดหลักธรรมาภิบาล 4.เรียกร้องให้ สกอ.และ ป.ป.ช.เร่งให้มีการดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว 5.เรียกร้องให้การประชุมสภามหาวิทยาลัยในการประชุมวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นโมฆะ เนื่องจากมีการดำเนินการที่ไม่เหมาะสม ในการแต่งตั้งกรรมการสรรหาอธิการบดี หลังจากนายกสภามหาวิทยาลัยลาออก 6.เรียกร้องให้กระบวนการสรรหาอธิการบดีและนายกสภามหาวิทยาลัยเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลโดยเปิดโอกาสให้คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตมีส่วนร่วมกับกระบวนการสรรหาดังกล่าวด้วย
“ในสัปดาห์หน้าตนในฐานะประธานสภาคณาจารย์จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อหน่วยงานที่เกี่ยวของ ตั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สตง. ป.ป.ช. เพื่อขอให้เร่งดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าว” ประธานสภาคณาจารย์ฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้พยายามโทร.ติดต่อเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นไปยังอธิการบดี มมส.แต่ไม่สามารถติดต่อได้