ปสธ.สั่งทุกหน่วยงานในสังกัดลดใช้ไฟฟ้าแบบเคร่งครัด หวังปฏิบัติต่อเนื่องในระยะยาว เผยเปลี่ยนหลอดไฟในสำนักปลัด สธ.เป็นแบบประหยัดแล้วกว่า 800 หลอด เล็งเปลี่ยนอีกกว่า 4,000 หลอด ย้ำทุกสถานพยาบาลเตรียมรับมือวิกฤตพลังงาน 4-12 เม.ย.นี้ ส่วนระยะยาวให้หาแหล่งพลังงานทดแทน
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงมาตรการลดใช้พลังงานตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรองรับภาวะวิกฤตด้านพลังงานไฟฟ้าในช่วงวันที่ 4-12 เม.ย.นี้ ว่า สธ.มีมาตรการควบคุมการใช้ไฟฟ้าและพลังงานของหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศอย่างเคร่งครัด ทั้งในส่วนของสำนักงานด้านการบริหารและสถานพยาบาลทุกแห่ง โดยได้ส่งหนังสือเวียนแจ้งกำชับให้ทุกหน่วยงาน ช่วยกันลดการไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นอย่างจริงจัง และให้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จนเคยชินเป็นนิสัย
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า มาตรการประหยัดพลังงานที่ สธ.ดำเนินการอยู่ขณะนี้มี 3 มาตรการ ได้แก่ 1.ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปลี่ยนหลอดไฟจำนวน 880 หลอด ภายในอาคาร 1 ของสำนักงานปลัด สธ.โดยเปลี่ยนจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที 8 ซึ่งใช้ทั่วๆ ไป เป็นหลอดผอมเบอร์ 5 (T5) ซึ่งเป็นหลอดชนิดประหยัด และจะเร่งดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟส่วนที่เหลืออยู่อีกประมาณ 4,200 หลอดให้เป็นหลอดผอมทั้งหมด 2.ลดจำนวนการใช้ลิฟท์ในเวลาที่ไม่เร่งด่วน โดยให้แต่ละอาคารปิดลิฟท์ 1 ตัว ตั้งแต่เวลา 9.00-11.00 น. และในเวลา 13.30-15.00 น.และ 3.จัดพิมพ์แผ่นพับแจกจ่ายสำนักงานต่างๆ ขอความร่วมมือในการใช้เครื่องปรับอากาศภายในสำนักงาน รวมทั้งห้องผู้บริหาร ตามคำแนะนำของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เช่น ปรับตั้งอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส ให้ดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ ปิดเครื่องปรับอากาศและหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกครั้งเมื่อไม่อยู่ในห้อง หรือในเวลาพักเที่ยง เป็นต้น โดยได้มอบหมายให้สำนักโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สธ. ติดตามประเมินผล ตั้งเป้าลดการใช้พลังงานลงให้ได้ร้อยละ 10 ต่อเดือน โดยเฉพาะช่วงวันที่ 4-12 เม.ย. 2556 ที่คาดว่าจะมีวิกฤตด้านพลังงาน ได้กำชับให้สถานบริการทั่วประเทศเตรียมพร้อมรับมือ เช่น เตรียมเครื่องสำรองไฟ เตรียมน้ำมันสำรองให้เพียงพอ เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อการให้บริการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย
“การประหยัดพลังงานในระยะยาวนั้น สธ.ได้ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงอย่างต่อเนื่อง เช่น หากจัดซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่แทนเครื่องเก่าที่ชำรุดของสำนักงาน จะต้องซื้อชนิดที่เป็นรุ่นประหยัดพลังงานเสมอ เป็นต้น รวมทั้งให้จัดหาพลังงานทดแทน เช่น พลังไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ซึ่งการประหยัดนั้นไม่ได้ดูที่ค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเน้นให้ทุกคนทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานและไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า และมีประโยชน์มากที่สุด แต่ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนด้วย” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงมาตรการลดใช้พลังงานตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรองรับภาวะวิกฤตด้านพลังงานไฟฟ้าในช่วงวันที่ 4-12 เม.ย.นี้ ว่า สธ.มีมาตรการควบคุมการใช้ไฟฟ้าและพลังงานของหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศอย่างเคร่งครัด ทั้งในส่วนของสำนักงานด้านการบริหารและสถานพยาบาลทุกแห่ง โดยได้ส่งหนังสือเวียนแจ้งกำชับให้ทุกหน่วยงาน ช่วยกันลดการไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นอย่างจริงจัง และให้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จนเคยชินเป็นนิสัย
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า มาตรการประหยัดพลังงานที่ สธ.ดำเนินการอยู่ขณะนี้มี 3 มาตรการ ได้แก่ 1.ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปลี่ยนหลอดไฟจำนวน 880 หลอด ภายในอาคาร 1 ของสำนักงานปลัด สธ.โดยเปลี่ยนจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที 8 ซึ่งใช้ทั่วๆ ไป เป็นหลอดผอมเบอร์ 5 (T5) ซึ่งเป็นหลอดชนิดประหยัด และจะเร่งดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟส่วนที่เหลืออยู่อีกประมาณ 4,200 หลอดให้เป็นหลอดผอมทั้งหมด 2.ลดจำนวนการใช้ลิฟท์ในเวลาที่ไม่เร่งด่วน โดยให้แต่ละอาคารปิดลิฟท์ 1 ตัว ตั้งแต่เวลา 9.00-11.00 น. และในเวลา 13.30-15.00 น.และ 3.จัดพิมพ์แผ่นพับแจกจ่ายสำนักงานต่างๆ ขอความร่วมมือในการใช้เครื่องปรับอากาศภายในสำนักงาน รวมทั้งห้องผู้บริหาร ตามคำแนะนำของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เช่น ปรับตั้งอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส ให้ดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ ปิดเครื่องปรับอากาศและหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกครั้งเมื่อไม่อยู่ในห้อง หรือในเวลาพักเที่ยง เป็นต้น โดยได้มอบหมายให้สำนักโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สธ. ติดตามประเมินผล ตั้งเป้าลดการใช้พลังงานลงให้ได้ร้อยละ 10 ต่อเดือน โดยเฉพาะช่วงวันที่ 4-12 เม.ย. 2556 ที่คาดว่าจะมีวิกฤตด้านพลังงาน ได้กำชับให้สถานบริการทั่วประเทศเตรียมพร้อมรับมือ เช่น เตรียมเครื่องสำรองไฟ เตรียมน้ำมันสำรองให้เพียงพอ เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อการให้บริการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย
“การประหยัดพลังงานในระยะยาวนั้น สธ.ได้ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงอย่างต่อเนื่อง เช่น หากจัดซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่แทนเครื่องเก่าที่ชำรุดของสำนักงาน จะต้องซื้อชนิดที่เป็นรุ่นประหยัดพลังงานเสมอ เป็นต้น รวมทั้งให้จัดหาพลังงานทดแทน เช่น พลังไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ซึ่งการประหยัดนั้นไม่ได้ดูที่ค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเน้นให้ทุกคนทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานและไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า และมีประโยชน์มากที่สุด แต่ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนด้วย” ปลัด สธ.กล่าว