สธ.ยัน ปชช.ไม่ได้รับผลกระทบ หาก รพ.รัฐทั่วประเทศ ปรับเพิ่มค่าบริการ ชี้ ได้รับสิทธิตามกองทุนอยู่แล้ว แต่ต้องปรับเพื่อสะท้อนต้นทุน “หมอประดิษฐ” ยันไม่แตะเอกชน แต่เร่งกระบวนการคุ้มครองราคาไม่เป็นธรรม
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีการปรับเพิ่มอัตราค่าบริการรักษาพยาบาล 8 หมวดของสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ว่า ปัจจุบันประชาชนมีสิทธิในหลักประกันสุขภาพต่างๆ 3 หลักประกัน คือ กองทุนสวัสดิการข้าราชการ มีประชากร 6 ล้านคน กองทุนประกันสังคมมีประชากร 9 ล้านคน และกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) 48 ล้านคน โดยกองทุนเหล่านี้จะทำหน้าที่จ่ายเงินให้สถานพยาบาลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น กองทุนประกันสังคม จะจ่ายตามรายหัวที่ขึ้นทะเบียนประกันตน กับสถานพยาบาล กองทุนข้าราชการจ่ายตามจริง และกองทุนบัตรทองจ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัว โดยแยกการแบ่งจ่ายเป็นผู้ป่วยนอก จ่ายตามรายหัว และผู้ป่วยใน จ่ายตามกลุ่มโรค(ดีอาร์จี) ดังนั้น หลังจากปรับเพิ่มค่าบริการ กองทุนดังกล่าว ก็ยังทำหน้าที่จ่ายเงินตามกติกาของแต่ละกองทุนเหมือนเดิม ซึ่งประชาชนไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่อย่างใด
“การปรับเพิ่มค่าบริการครั้งนี้เป็นการสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งเป็นปกติของการทำงานย่อมต้องคำนวณต้นทุนที่แท้จริง และเปรียบเทียบรายรับกับรายจ่าย การปรับเพิ่มค่าบริการครั้งนี้ จึงไม่ได้หวังให้สถานพยาบาลได้เงินเพิ่มขึ้น เพราะแต่ละกองทุนก็จ่ายเงินตามกติกาเดิม เพียงแต่ต้องสะท้อนให้เห็นว่า สถานพยาบาลมีต้นทุนที่แท้จริงอย่างไร ส่วนการหารือกับกองทุนต่างๆ ในเรื่องต้นทุนของสถานพยาบาลนั้น เป็นขั้นตอนที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคต แต่ยืนยันว่า การปรับเพิ่มครั้งนี้ไม่สร้างภาระให้กับประชาชนแต่อย่างใด เนื่องจาก ประชาชนมีสิทธิตามกองทุนต่างๆ ครอบคลุมเกือบ 100% อยู่แล้ว” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า การปรับเพิ่มค่าบริการ มีการคำนวณตามหลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงที่ต้องบอกว่า ราคาขายอยู่ที่อัตราเท่าไร และเป็นเครื่องมือบอกว่า โรงพยาบาลจะต้องใช้งบประมาณในการบริหารงานอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละกองทุนที่กำหนดงบประมาณเพื่อจ่ายให้แก่สถานพยาบาลอาจยังไม่ได้พิจารณาในส่วนนี้ อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มค่าบริการ ก็ไม่ได้ทำให้โรงพยาบาลได้กำไรมากขึ้น หรือทำให้สภาพคล่องเปลี่ยนแปลง เพราะหลักเกณฑ์การจ่ายเงินของแต่ละกองทุนเป็นเหมือนเดิม
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับความเป็นห่วงเรื่องการการปรับเพิ่มค่าบริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลสังกัด สธ.ทั่วประเทศ ว่า จะทำให้สถานพยาบาลเอกชนปรับเพิ่มราคาตามนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า รัฐบาลไทยให้การประกันสุขภาพประชาชนทุกคน ดังนั้น จึงไม่ควบคุมภาคเอกชน เพราะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีความสามารถ อย่างไรก็ตาม ก็มีการกำหนดมาตรการขึ้นมาดูแล โดยยึดตามหลักวิชาการให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรม ในกรณีที่มีข้อข้องใจว่าเป็นการคิดราคาอย่างไม่เป็นธรรม โดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) จะทำหน้าที่กำหนดเกณฑ์ต่อไป โดยใช้ขนาดโรงพยาบาล เครื่องมือ การให้บริการมาคำนวณ และแบ่งเป็นเกรด ว่า ระดับราคาควรอยู่ตรงไหน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน ถือเป็นการทำหน้าที่ตัวกลางให้ทุกฝ่าย
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีการปรับเพิ่มอัตราค่าบริการรักษาพยาบาล 8 หมวดของสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ว่า ปัจจุบันประชาชนมีสิทธิในหลักประกันสุขภาพต่างๆ 3 หลักประกัน คือ กองทุนสวัสดิการข้าราชการ มีประชากร 6 ล้านคน กองทุนประกันสังคมมีประชากร 9 ล้านคน และกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) 48 ล้านคน โดยกองทุนเหล่านี้จะทำหน้าที่จ่ายเงินให้สถานพยาบาลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น กองทุนประกันสังคม จะจ่ายตามรายหัวที่ขึ้นทะเบียนประกันตน กับสถานพยาบาล กองทุนข้าราชการจ่ายตามจริง และกองทุนบัตรทองจ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัว โดยแยกการแบ่งจ่ายเป็นผู้ป่วยนอก จ่ายตามรายหัว และผู้ป่วยใน จ่ายตามกลุ่มโรค(ดีอาร์จี) ดังนั้น หลังจากปรับเพิ่มค่าบริการ กองทุนดังกล่าว ก็ยังทำหน้าที่จ่ายเงินตามกติกาของแต่ละกองทุนเหมือนเดิม ซึ่งประชาชนไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่อย่างใด
“การปรับเพิ่มค่าบริการครั้งนี้เป็นการสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งเป็นปกติของการทำงานย่อมต้องคำนวณต้นทุนที่แท้จริง และเปรียบเทียบรายรับกับรายจ่าย การปรับเพิ่มค่าบริการครั้งนี้ จึงไม่ได้หวังให้สถานพยาบาลได้เงินเพิ่มขึ้น เพราะแต่ละกองทุนก็จ่ายเงินตามกติกาเดิม เพียงแต่ต้องสะท้อนให้เห็นว่า สถานพยาบาลมีต้นทุนที่แท้จริงอย่างไร ส่วนการหารือกับกองทุนต่างๆ ในเรื่องต้นทุนของสถานพยาบาลนั้น เป็นขั้นตอนที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคต แต่ยืนยันว่า การปรับเพิ่มครั้งนี้ไม่สร้างภาระให้กับประชาชนแต่อย่างใด เนื่องจาก ประชาชนมีสิทธิตามกองทุนต่างๆ ครอบคลุมเกือบ 100% อยู่แล้ว” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า การปรับเพิ่มค่าบริการ มีการคำนวณตามหลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงที่ต้องบอกว่า ราคาขายอยู่ที่อัตราเท่าไร และเป็นเครื่องมือบอกว่า โรงพยาบาลจะต้องใช้งบประมาณในการบริหารงานอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละกองทุนที่กำหนดงบประมาณเพื่อจ่ายให้แก่สถานพยาบาลอาจยังไม่ได้พิจารณาในส่วนนี้ อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มค่าบริการ ก็ไม่ได้ทำให้โรงพยาบาลได้กำไรมากขึ้น หรือทำให้สภาพคล่องเปลี่ยนแปลง เพราะหลักเกณฑ์การจ่ายเงินของแต่ละกองทุนเป็นเหมือนเดิม
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับความเป็นห่วงเรื่องการการปรับเพิ่มค่าบริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลสังกัด สธ.ทั่วประเทศ ว่า จะทำให้สถานพยาบาลเอกชนปรับเพิ่มราคาตามนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า รัฐบาลไทยให้การประกันสุขภาพประชาชนทุกคน ดังนั้น จึงไม่ควบคุมภาคเอกชน เพราะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีความสามารถ อย่างไรก็ตาม ก็มีการกำหนดมาตรการขึ้นมาดูแล โดยยึดตามหลักวิชาการให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรม ในกรณีที่มีข้อข้องใจว่าเป็นการคิดราคาอย่างไม่เป็นธรรม โดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) จะทำหน้าที่กำหนดเกณฑ์ต่อไป โดยใช้ขนาดโรงพยาบาล เครื่องมือ การให้บริการมาคำนวณ และแบ่งเป็นเกรด ว่า ระดับราคาควรอยู่ตรงไหน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน ถือเป็นการทำหน้าที่ตัวกลางให้ทุกฝ่าย