เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ 40 องค์กร เดินทางให้กำลังใจ “หมอประดิษฐ” หลังประกาศเตรียมเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่เป็น 85% ใหญ่ที่สุดในโลก “หมอประกิต” ย้ำทั่วโลกใช้แนวทางนี้ ลั่นไม่ต้องกลัวบริษัทบุหรี่ฟ้อง เพราะไม่ละเมิดสิทธิทางปัญญา ด้าน รมว.สธ.คาดประกาศใช้ในอีก 15 วัน

วันนี้ (20 ก.พ.) ที่กระทรวงสาธารณสุข ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เดินทางนำกลุ่มภาคีเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายนักวิชาการ รวมกัน 40 เครือข่ายกว่า 200 คน มาร่วมให้กำลังใจ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หลังจากคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ มีมติเมื่อวันที่ 1 ก.พ.2556 ในร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การเพิ่มภาพคำเตือนจากพื้นที่ร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 85 ทำให้ประเทศไทยจะมีขนาดภาพคำเตือนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า การเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่เป็นวิธีที่หลายประเทศทั่วโลกใช้ อย่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์มีความก้าวหน้าจนสามารถห้ามใส่โลโก้ของบริษัทได้ แม้ประเทศไทยจะยังทำไม่ได้ถึงขั้นนั้น แต่จะมีการพัฒนาในอนาคตต่อไป ส่วนประเด็นเรื่องการฟ้องร้องสิทธิทางปัญญานั้นไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพราะจากประสบการณ์ในหลายประเทศและการตัดสินของศาล พบว่า การขยายภาพคำเตือนไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิทางปัญญาหรือกีดกันทางการค้า เพราะเป็นนโยบายเพื่อปกป้องประชาชนและไม่มีการนำเครื่องหมายการค้าไปหาประโยชน์อื่นใด ที่สำคัญองค์การการค้าโลก (WTO) ก็ให้ประเทศสมาชิกออกกฎหมาย นโยบายเพื่อปกป้องสุขภาพประชาชนได้โดยต้องไม่เลือกปฏิบัติ หากบริษัทบุหรี่จะฟ้องก็คงจะแพ้อย่างแน่นอน
พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายวิชาชีพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกควบคุมยาสูบด้วยมาตรการต่างๆ โดยมาตรการที่ได้ผลคือ การขึ้นภาษี การห้ามโฆษณาทุกรูปแบบ การคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ไม่ให้ได้รับควันบุหรี่มือสอง และเตือนพิษภัยยาสูบ ซึ่งการขยายภาพคำเตือนถือเป็นหนึ่งในมาตรการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ที่ได้ผลและเป็นวิธีเตือนภัยยาสูบที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากส่วนหนึ่งของประชากรที่สูบบุหรี่นั้นอยู่ในเขตชนบทเข้าถึงสื่อได้น้อย และส่วนหนึ่งเป็นเด็กเยาวชน การพิมพ์ภาพให้ชัดเจนจึงเป็นส่วนช่วยให้ประชาชนรับรู้ถึงพิษภัยได้ชัดเจนก่อนตัดสินใจสูบบุหรี่
ด้าน นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ขอขอบคุณเครือข่ายฯ และเยาวชน ที่ให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวและร่วมแสดงพลังในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยขณะนี้การร่างประกาศการเพิ่มภาพคำเตือนฯ อยู่ระหว่างการทบทวนถ้อยคำตามกระบวนการทางกฎหมาย และจะลงนามได้ภายใน 15 วัน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้ทำตามกระบวนการทางกฎหมายอย่างถี่ถ้วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ถือเป็นเรื่องดีที่เยาวชนให้ความสนใจ เพราะการลดปริมาณการสูบบุหรี่ต้องเริ่มต้นตั้งแต่เยาวชน ดูได้จากอัตราการสูบบุหรี่ที่ยังมีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าอิทธิพลการโฆษณายังมีผลทำให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ได้อยู่จึงจำเป็นต้องมีนโยบายเพื่อควบคุมและป้องกันเยาวชน
วันนี้ (20 ก.พ.) ที่กระทรวงสาธารณสุข ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เดินทางนำกลุ่มภาคีเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายนักวิชาการ รวมกัน 40 เครือข่ายกว่า 200 คน มาร่วมให้กำลังใจ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หลังจากคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ มีมติเมื่อวันที่ 1 ก.พ.2556 ในร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การเพิ่มภาพคำเตือนจากพื้นที่ร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 85 ทำให้ประเทศไทยจะมีขนาดภาพคำเตือนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า การเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่เป็นวิธีที่หลายประเทศทั่วโลกใช้ อย่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์มีความก้าวหน้าจนสามารถห้ามใส่โลโก้ของบริษัทได้ แม้ประเทศไทยจะยังทำไม่ได้ถึงขั้นนั้น แต่จะมีการพัฒนาในอนาคตต่อไป ส่วนประเด็นเรื่องการฟ้องร้องสิทธิทางปัญญานั้นไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพราะจากประสบการณ์ในหลายประเทศและการตัดสินของศาล พบว่า การขยายภาพคำเตือนไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิทางปัญญาหรือกีดกันทางการค้า เพราะเป็นนโยบายเพื่อปกป้องประชาชนและไม่มีการนำเครื่องหมายการค้าไปหาประโยชน์อื่นใด ที่สำคัญองค์การการค้าโลก (WTO) ก็ให้ประเทศสมาชิกออกกฎหมาย นโยบายเพื่อปกป้องสุขภาพประชาชนได้โดยต้องไม่เลือกปฏิบัติ หากบริษัทบุหรี่จะฟ้องก็คงจะแพ้อย่างแน่นอน
พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายวิชาชีพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกควบคุมยาสูบด้วยมาตรการต่างๆ โดยมาตรการที่ได้ผลคือ การขึ้นภาษี การห้ามโฆษณาทุกรูปแบบ การคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ไม่ให้ได้รับควันบุหรี่มือสอง และเตือนพิษภัยยาสูบ ซึ่งการขยายภาพคำเตือนถือเป็นหนึ่งในมาตรการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ที่ได้ผลและเป็นวิธีเตือนภัยยาสูบที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากส่วนหนึ่งของประชากรที่สูบบุหรี่นั้นอยู่ในเขตชนบทเข้าถึงสื่อได้น้อย และส่วนหนึ่งเป็นเด็กเยาวชน การพิมพ์ภาพให้ชัดเจนจึงเป็นส่วนช่วยให้ประชาชนรับรู้ถึงพิษภัยได้ชัดเจนก่อนตัดสินใจสูบบุหรี่
ด้าน นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ขอขอบคุณเครือข่ายฯ และเยาวชน ที่ให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวและร่วมแสดงพลังในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยขณะนี้การร่างประกาศการเพิ่มภาพคำเตือนฯ อยู่ระหว่างการทบทวนถ้อยคำตามกระบวนการทางกฎหมาย และจะลงนามได้ภายใน 15 วัน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้ทำตามกระบวนการทางกฎหมายอย่างถี่ถ้วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ถือเป็นเรื่องดีที่เยาวชนให้ความสนใจ เพราะการลดปริมาณการสูบบุหรี่ต้องเริ่มต้นตั้งแต่เยาวชน ดูได้จากอัตราการสูบบุหรี่ที่ยังมีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าอิทธิพลการโฆษณายังมีผลทำให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ได้อยู่จึงจำเป็นต้องมีนโยบายเพื่อควบคุมและป้องกันเยาวชน