กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ แนะคนไทยทำบุญวันมาฆบูชาด้วยการถวายสมุนไพรให้วัด ทั้งยา อาหาร และน้ำที่ทำจากสมุนไพร หวังช่วยต้านโรคเรื้อรังให้พระสงฆ์
นพ.สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เปิดเผยว่า กิจกรรมหลักที่คนไทยมักปฏิบัติในวันมาฆบูชาคือ ทำบุญใส่บาตร ถวายสังฆทาน ปฏิบัติธรรม ฟังธรรมเทศนา และเวียนเทียน โดยวันมาฆบูชาในปีนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ก.พ. 2556 จึงอยากเชิญชวนให้ประชาชนที่จะจัดสำรับทำบุญใส่บาตรหรือถวายสังฆทานนั้น ขอให้นึกถึงชุดตู้ยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในกลุ่มสมุนไพรเป็นอันดับแรกๆ โดยเน้นในเรื่องของผักพื้นบ้านอาหารเป็นยา เนื่องจากเมนูอาหารที่มีส่วนประกอบของพืช ผัก สมุนไพร จะมีสรรพคุณหลากหลายในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง เช่น ยำเห็ด แกงป่าใส่มะเขือ แกงเลียง แกงมะรุม แกงฟักทองใส่ใบแมงลัก สะเดาน้ำปลาหวาน ต้มหรือผัดผักที่หาได้ง่ายตามริมรั้ว เช่น ใบตำลึง ยอดฟักทอง ดอกแค เป็นต้น ส่วนน้ำสมุนไพร อาทิ น้ำใบบัวบก ช่วยแก้ร้อนในดับกระหายน้ำ น้ำตะไคร้แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับปัสสาวะ น้ำอัญชัญช่วยบำรุงตา ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะผิดปกติ ระบายท้อง น้ำมะนาว ช่วยขับเสมหะลดอาการไอ เจ็บคอ คลื่นไส้ เป็นต้น
“นอกจากนี้ ขอแนะนำให้ทุกวัดมีตู้ยาสมุนไพรประจำวัดสำหรับใช้ในยามฉุกเฉินเมื่อมีอาการผิดปกติในอาการพื้นฐาน โดยเฉพาะยาสามัญ 6 ชนิด ได้แก่ ยาแก้ไอมะแว้ง ขมิ้นชันแก้ท้องอืด แน่นท้อง ฟ้าทะลายโจร แก้เจ็บคอ ครีมพญายอ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ผื่น คัน งูสวัด เจลว่านหางจระเข้ แก้พิษไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เจลไพลบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซื่งยาดังกล่าวสามารถหาซื้อได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง แต่ละชนิดจะมีวันเดือนปีที่ผลิต วันหมดอายุและวิธีการใช้ยา การเก็บรักษาที่ถูกต้อง จึงมั่นใจได้ว่ายามีความปลอดภัยสามารถใช้ได้” อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าว
นพ.สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เปิดเผยว่า กิจกรรมหลักที่คนไทยมักปฏิบัติในวันมาฆบูชาคือ ทำบุญใส่บาตร ถวายสังฆทาน ปฏิบัติธรรม ฟังธรรมเทศนา และเวียนเทียน โดยวันมาฆบูชาในปีนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ก.พ. 2556 จึงอยากเชิญชวนให้ประชาชนที่จะจัดสำรับทำบุญใส่บาตรหรือถวายสังฆทานนั้น ขอให้นึกถึงชุดตู้ยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในกลุ่มสมุนไพรเป็นอันดับแรกๆ โดยเน้นในเรื่องของผักพื้นบ้านอาหารเป็นยา เนื่องจากเมนูอาหารที่มีส่วนประกอบของพืช ผัก สมุนไพร จะมีสรรพคุณหลากหลายในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง เช่น ยำเห็ด แกงป่าใส่มะเขือ แกงเลียง แกงมะรุม แกงฟักทองใส่ใบแมงลัก สะเดาน้ำปลาหวาน ต้มหรือผัดผักที่หาได้ง่ายตามริมรั้ว เช่น ใบตำลึง ยอดฟักทอง ดอกแค เป็นต้น ส่วนน้ำสมุนไพร อาทิ น้ำใบบัวบก ช่วยแก้ร้อนในดับกระหายน้ำ น้ำตะไคร้แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับปัสสาวะ น้ำอัญชัญช่วยบำรุงตา ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะผิดปกติ ระบายท้อง น้ำมะนาว ช่วยขับเสมหะลดอาการไอ เจ็บคอ คลื่นไส้ เป็นต้น
“นอกจากนี้ ขอแนะนำให้ทุกวัดมีตู้ยาสมุนไพรประจำวัดสำหรับใช้ในยามฉุกเฉินเมื่อมีอาการผิดปกติในอาการพื้นฐาน โดยเฉพาะยาสามัญ 6 ชนิด ได้แก่ ยาแก้ไอมะแว้ง ขมิ้นชันแก้ท้องอืด แน่นท้อง ฟ้าทะลายโจร แก้เจ็บคอ ครีมพญายอ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ผื่น คัน งูสวัด เจลว่านหางจระเข้ แก้พิษไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เจลไพลบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซื่งยาดังกล่าวสามารถหาซื้อได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง แต่ละชนิดจะมีวันเดือนปีที่ผลิต วันหมดอายุและวิธีการใช้ยา การเก็บรักษาที่ถูกต้อง จึงมั่นใจได้ว่ายามีความปลอดภัยสามารถใช้ได้” อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าว