เตือนหน้าร้อนไม่ควรดื่มน้ำเย็นดับกระหาย แพทย์แผนไทยชี้ยิ่งดื่มยิ่งร้อนใน โดยเฉพาะผู้หญิงทำรอบเดือนหาย อ้วนฝ้าเกิดง่าย ปวดท้องเมนส์ เผยอย่ากินอาหารที่มีฤทธิ์เย็นในเวลาดึก เหตุร่างกายขับความร้อนจนไฟธาตุน้ำย่อยน้อย เสี่ยงเป็นท้องอืด แนะกินสมุนไพรมีฤทธิ์เย็นและขับลม ชู “น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น” แก้อาการผิวหนังไหม้แดด
ภญ.วรีวรรณ รัตรสาร แพทย์แผนไทยด้านเวชกรรมไทย กล่าวว่า ช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่กลางวันยาวกว่ากลางคืน ทำให้มีความร้อนสะสมในพื้นดินเป็นจำนวนมาก สิ่งที่มนุษย์เราได้รับผลกระทบโดยตรงคือการสูญเสียเหงื่อ ดังนั้น สิ่งที่ควรทำในหน้าร้อนคือดื่มน้ำมากๆ ประมาณวันละ 1.5-2 ลิตร แต่ไม่ควรดื่มแบบรวดเดียวเยอะๆ ควรดื่มแบบค่อยๆ จิบไปเรื่อยๆ แต่หากมีการเสียเหงื่อมากกว่าปกติก็ควรเพิ่มปริมาณจากที่เคยดื่มเข้าไป ที่สำคัญไม่ควรดื่มน้ำเย็นดับกระหาย แต่ควรดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง เพราะเราเป็นสัตว์เลือดอุ่น หากดื่มน้ำเย็นๆ เข้าไป ร่างกายก็จะปรับอุณหภูมิความร้อนขึ้นมา ยิ่งดื่มร่างกายก็ยิ่งร้อนใน นอกจากนี้ หน้าร้อนจะมีออกซิเจนบางเบา หากคนที่เสียเหงื่อมากแล้วยังอยู่ในที่ไม่มีต้นไม้ หัวใจจะทำงานหนัก เราสามารถใช้สมุนไพรช่วยให้หัวใจชุ่มชื้นขึ้นได้ โดยใช้น้ำต้มฝาง หรือจันทน์แดง ซึ่งมีสรรพคุณบำรุงเลือด ระบายไข้ แก้ร้อนใน แต่หากไม่ชอบกลิ่นก็สามารถต้มน้ำใบเตยแทนได้ แต่ต้องไม่นำไปแช่เย็น เพราะยิ่งดื่มร่างกายจะยิ่งร้อนใน
“ผู้หญิงไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะจะทำให้รอบเดือนมักเป็นลิ่ม รอบเดือนหายบ่อย เกิดฝ้าง่าย ปวดหัวง่าย อ้วนง่าย ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะพวกเราสัตว์เลือดอุ่น 37 องศา แต่ไม่เหมือนชาวต่างประเทศที่อยู่ในพื้นที่เย็นจัด กลุ่มนั้นกินน้ำเย็นไปก็ไม่เย็นไปกว่าอุณหภูมิภายนอก ที่พวกเราป่วยก็เพราะดื่มน้ำเย็นกันมาก แต่ไม่รู้ ทั้งป่วยเป็นไขมัน อ้วน เกิดฝ้า ปวดท้องเมนส์ ก็ล้วนเกิดจากน้ำเย็น” แพทย์แผนไทย กล่าว
ภญ.วรีวรรณ กล่าวอีกว่า สำหรับการรับประทานอาหารในหน้าร้อนนั้น ต้องเข้าใจหลักการก่อนว่าธาตุทั้ง 4 ในร่างกายจะสัมพันธ์กับอาหารและเวลา อย่างหน้าร้อนร่างกายจะรักษาอุณหภูมิไม่ให้ร้อนจนเกินไป พวกไฟธาตุหรือความร้อนในตับในน้ำดีที่ใช้ย่อยอาหารก็จะถูกขับออกไปไม่ให้ร่างกายร้อนเกินไปจนตับแตก ทำให้ช่วงเวลาบ่ายและเย็นลมในร่างกายจะกำเริบ และไม่มีความร้อนมากพอในการย่อยอาหาร ดังนั้น เวลารับประทานอาหารเย็นต้องไม่ดึกจนเกินไป และหากจะรับประทานอาหารคลายร้อนประเภทข้าวแช่ ไอศกรีม หรือผักผลไม้ที่มีลักษณะชุ่มน้ำและมีฤทธิ์เย็นอย่างแตงโม น้ำมะพร้าว ก็ไม่ควรรับประทานในช่วงบ่ายเป็นต้นไป เพราะจะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ ที่สำคัญผู้หญิงไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าวก่อนมีรอบเดือน 7 วัน หรือมีรอบเดือน เพราะจะทำให้รอบเดือนจะไม่มา เลื่อน หรือปวดท้องเมนส์ง่าย
“การกินผักและผลไม้ในหน้าร้อนควรกินตามฤดูกาล เพราะจะมีลักษณะชุ่มน้ำและมีฤทธิ์เย็น แต่หากจะกินในช่วงเวลาบ่ายหรือเย็นควรเลือกที่มีฤทธิ์ขับลมปนอยู่ด้วยเพื่อแก้อาการท้องอืด เช่น น้ำตะไคร้ ใบแมงลัก โหระพา ขมิ้น และว่านหางจรเข้ เป็นต้น ส่วนไอศกรีมที่มักชอบกินในหน้าร้อน หากจะกินในมื้อเย็นควรกินน้ำอุ่นตาม เพื่อให้ร่างกายไม่สร้างความร้อนขึ้นมาจนเป็นร้อนใน และไม่ควรกินหลังมื้ออาหาร เพราะกระเพาะต้องการความร้อนในการย่อย ส่วนผลไม้ที่ช่วยย่อยหลังอาหารได้ดีคือ มะละกอ หรือสับปะรด” แพทย์แผนไทย กล่าว
ภญ.วรีวรรณ กล่าวด้วยว่า ข้อควรระวังในหน้าร้อนอีกอย่างคือเรื่องอาหารเป็นพิษ เพราะเป็นช่วงหน้าของแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสีย โดยเฉพาะกลุ่มอาหารทะเล แต่หากเกิดอาการพื้นฐานของอาหารเป็นพิษ เช่น อาเจียน ให้รับประทานเครื่องดื่มที่มีพวกจุลินทรีย์ประเภทแอคทีฟ หรือใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นและกระเทียมสดผสมกัน เขย่าให้เกิดน้ำมันกระเทียม นำมารับประทานเพื่อฆ่าแบคทีเรียในกระเพาะ และกำจัดแก๊สที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
ภญ.วรีวรรณ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันบรรยากาศชั้นโอโซนถูกทำลาย ทำให้เกิดมีรังสียูวีที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนทะลุลงมา ทำให้คนเป็นมะเร็งผิวหนัง หรือผิวหนังแพ้แดดรุนแรงมากขึ้น หากมีอาการผิวหนังไหม้แดดสามารถใช้ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่มีฤทธิ์ช่วยฟื้นฟูเซลล์ ลดการอักเสบ หรือใช้ว่านหางจระเข้ เอามาปอกตีกับน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นบรรเทาได้ ส่วนการทำครีมกันแดดจากสมุนไพรแบบง่ายๆ สามารถใช้ขมิ้นมาตำหรือคั้นกับน้ำปูนใสเพื่อดับสีเหลืองและนำมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นได้ ส่วนผมแห้งจากแดดก็สามารถใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นมาชโลมได้เช่นกัน
ภญ.วรีวรรณ รัตรสาร แพทย์แผนไทยด้านเวชกรรมไทย กล่าวว่า ช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่กลางวันยาวกว่ากลางคืน ทำให้มีความร้อนสะสมในพื้นดินเป็นจำนวนมาก สิ่งที่มนุษย์เราได้รับผลกระทบโดยตรงคือการสูญเสียเหงื่อ ดังนั้น สิ่งที่ควรทำในหน้าร้อนคือดื่มน้ำมากๆ ประมาณวันละ 1.5-2 ลิตร แต่ไม่ควรดื่มแบบรวดเดียวเยอะๆ ควรดื่มแบบค่อยๆ จิบไปเรื่อยๆ แต่หากมีการเสียเหงื่อมากกว่าปกติก็ควรเพิ่มปริมาณจากที่เคยดื่มเข้าไป ที่สำคัญไม่ควรดื่มน้ำเย็นดับกระหาย แต่ควรดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง เพราะเราเป็นสัตว์เลือดอุ่น หากดื่มน้ำเย็นๆ เข้าไป ร่างกายก็จะปรับอุณหภูมิความร้อนขึ้นมา ยิ่งดื่มร่างกายก็ยิ่งร้อนใน นอกจากนี้ หน้าร้อนจะมีออกซิเจนบางเบา หากคนที่เสียเหงื่อมากแล้วยังอยู่ในที่ไม่มีต้นไม้ หัวใจจะทำงานหนัก เราสามารถใช้สมุนไพรช่วยให้หัวใจชุ่มชื้นขึ้นได้ โดยใช้น้ำต้มฝาง หรือจันทน์แดง ซึ่งมีสรรพคุณบำรุงเลือด ระบายไข้ แก้ร้อนใน แต่หากไม่ชอบกลิ่นก็สามารถต้มน้ำใบเตยแทนได้ แต่ต้องไม่นำไปแช่เย็น เพราะยิ่งดื่มร่างกายจะยิ่งร้อนใน
“ผู้หญิงไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะจะทำให้รอบเดือนมักเป็นลิ่ม รอบเดือนหายบ่อย เกิดฝ้าง่าย ปวดหัวง่าย อ้วนง่าย ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะพวกเราสัตว์เลือดอุ่น 37 องศา แต่ไม่เหมือนชาวต่างประเทศที่อยู่ในพื้นที่เย็นจัด กลุ่มนั้นกินน้ำเย็นไปก็ไม่เย็นไปกว่าอุณหภูมิภายนอก ที่พวกเราป่วยก็เพราะดื่มน้ำเย็นกันมาก แต่ไม่รู้ ทั้งป่วยเป็นไขมัน อ้วน เกิดฝ้า ปวดท้องเมนส์ ก็ล้วนเกิดจากน้ำเย็น” แพทย์แผนไทย กล่าว
ภญ.วรีวรรณ กล่าวอีกว่า สำหรับการรับประทานอาหารในหน้าร้อนนั้น ต้องเข้าใจหลักการก่อนว่าธาตุทั้ง 4 ในร่างกายจะสัมพันธ์กับอาหารและเวลา อย่างหน้าร้อนร่างกายจะรักษาอุณหภูมิไม่ให้ร้อนจนเกินไป พวกไฟธาตุหรือความร้อนในตับในน้ำดีที่ใช้ย่อยอาหารก็จะถูกขับออกไปไม่ให้ร่างกายร้อนเกินไปจนตับแตก ทำให้ช่วงเวลาบ่ายและเย็นลมในร่างกายจะกำเริบ และไม่มีความร้อนมากพอในการย่อยอาหาร ดังนั้น เวลารับประทานอาหารเย็นต้องไม่ดึกจนเกินไป และหากจะรับประทานอาหารคลายร้อนประเภทข้าวแช่ ไอศกรีม หรือผักผลไม้ที่มีลักษณะชุ่มน้ำและมีฤทธิ์เย็นอย่างแตงโม น้ำมะพร้าว ก็ไม่ควรรับประทานในช่วงบ่ายเป็นต้นไป เพราะจะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ ที่สำคัญผู้หญิงไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าวก่อนมีรอบเดือน 7 วัน หรือมีรอบเดือน เพราะจะทำให้รอบเดือนจะไม่มา เลื่อน หรือปวดท้องเมนส์ง่าย
“การกินผักและผลไม้ในหน้าร้อนควรกินตามฤดูกาล เพราะจะมีลักษณะชุ่มน้ำและมีฤทธิ์เย็น แต่หากจะกินในช่วงเวลาบ่ายหรือเย็นควรเลือกที่มีฤทธิ์ขับลมปนอยู่ด้วยเพื่อแก้อาการท้องอืด เช่น น้ำตะไคร้ ใบแมงลัก โหระพา ขมิ้น และว่านหางจรเข้ เป็นต้น ส่วนไอศกรีมที่มักชอบกินในหน้าร้อน หากจะกินในมื้อเย็นควรกินน้ำอุ่นตาม เพื่อให้ร่างกายไม่สร้างความร้อนขึ้นมาจนเป็นร้อนใน และไม่ควรกินหลังมื้ออาหาร เพราะกระเพาะต้องการความร้อนในการย่อย ส่วนผลไม้ที่ช่วยย่อยหลังอาหารได้ดีคือ มะละกอ หรือสับปะรด” แพทย์แผนไทย กล่าว
ภญ.วรีวรรณ กล่าวด้วยว่า ข้อควรระวังในหน้าร้อนอีกอย่างคือเรื่องอาหารเป็นพิษ เพราะเป็นช่วงหน้าของแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสีย โดยเฉพาะกลุ่มอาหารทะเล แต่หากเกิดอาการพื้นฐานของอาหารเป็นพิษ เช่น อาเจียน ให้รับประทานเครื่องดื่มที่มีพวกจุลินทรีย์ประเภทแอคทีฟ หรือใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นและกระเทียมสดผสมกัน เขย่าให้เกิดน้ำมันกระเทียม นำมารับประทานเพื่อฆ่าแบคทีเรียในกระเพาะ และกำจัดแก๊สที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
ภญ.วรีวรรณ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันบรรยากาศชั้นโอโซนถูกทำลาย ทำให้เกิดมีรังสียูวีที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนทะลุลงมา ทำให้คนเป็นมะเร็งผิวหนัง หรือผิวหนังแพ้แดดรุนแรงมากขึ้น หากมีอาการผิวหนังไหม้แดดสามารถใช้ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่มีฤทธิ์ช่วยฟื้นฟูเซลล์ ลดการอักเสบ หรือใช้ว่านหางจระเข้ เอามาปอกตีกับน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นบรรเทาได้ ส่วนการทำครีมกันแดดจากสมุนไพรแบบง่ายๆ สามารถใช้ขมิ้นมาตำหรือคั้นกับน้ำปูนใสเพื่อดับสีเหลืองและนำมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นได้ ส่วนผมแห้งจากแดดก็สามารถใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นมาชโลมได้เช่นกัน