“หมอประดิษฐ” มอบ สรพ.กำหนดแนวทางประเมินมาตรฐาน รพช.กว่า 800 แห่งทั่วประเทศ หลังขับเคลื่อนแผนพัฒนาสุขภาพเป็น 12 เครือข่ายบริการ คาดรับรองคุณภาพการรักษาเป็นรายโรคก่อน หวัง ปชช.รับบริการใกล้บ้านที่สุด มีความปลอดภัย ลดการฟ้องร้อง และลดภาระโรงพยาบาลขนาดใหญ่
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงาน สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ว่า ขณะนี้ สธ.ได้จัดทำแผนพัฒนาสุขภาพในเขตพื้นที่แบ่งออกเป็นเครือข่ายบริการของโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศรวม 12 เครือข่าย ดูแลประชาชนเครือข่ายละ 5-8 จังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ารับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม จึงได้มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สรพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการประเมินและรับรองมาตรฐานคุณภาพการรักษาและบริการในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งด้านการรักษา การป้องกันควบคุมโรค และการส่งเสริมสุขภาพ กำหนดแนวทางหรือหลักเกณฑ์ในการประเมินมาตรฐานของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) หรือโรงพยาบาลประจำอำเภอ ซึ่งมีจำนวนกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้แก่ประชาชน สามารถแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้ ประชาชนสามารถรับบริการใกล้บ้านที่สุด
“เบื้องต้นจะเริ่มจากการรับรองมาตรฐาน หรือรับรองคุณภาพการรักษาเป็นรายโรคหรือเฉพาะโรค เช่น การผ่าตัดไส้ติ่งของ รพช.แต่ละแห่งที่อยู่ในเครือข่ายบริการจังหวัดเดียวกันก่อน จากนั้นจะพัฒนาให้การรับรองมาตรฐานทั้งจังหวัด และจะพัฒนาไปจนถึงระดับเขตบริการทั้ง 12 เครือข่าย เพื่อให้เกิดมาตรฐานการรักษาที่ปลอดภัยทั้งสถานบริการและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพบริการ ซึ่งจะมีการประเมินและวัดผลด้วยว่าสถานบริการใดมีความน่าเชื่อถือ หรือไว้วางใจที่จะเข้ารับบริการ ลดปัญหาการร้องเรียน และสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนที่มารับบริการ” รมว.สาธารณสุขกล่าว
นพ.ประดิษฐกล่าวอีกว่า เรื่องที่น่าเป็นห่วงขณะนี้คือ กรณีที่ผู้บริโภคไปรับบริการจากสถานบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้ได้รับบริการที่ไม่มีคุณภาพและเกิดปัญหาฟ้องร้องตามมา หรือได้รับบริการที่อาจไม่มีความจำเป็น ทำให้เสียค่ารักษาพยาบาลแพงเกินเหตุ นับว่ามีความสำคัญและมีผลกระทบต่อนโยบายของรัฐบาลและ สธ.ที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการรักษาพยาบาล หรือเมดิคัลฮับ (Medical Hub) ซึ่งเรื่องนี้ สธ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยปัญหาข้อพิพาทด้านบริการสุขภาพหรือทางการแพทย์ขึ้นมา 1 ชุด โดยมีอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เป็นประธาน เพื่อให้เป็นตัวกลางในการประสานหรือพูดคุยกับทั้ง 2 ฝ่าย คือ ระหว่างประชาชนหรือผู้บริโภคกับโรงพยาบาล นอกจากนี้ ยังเน้นให้สถานบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ทรัพยากรร่วมกัน รวมทั้งประสานความร่วมมือและเชื่อมโยงข้อมูลกัน ทั้งในเรื่องของมาตรฐานการรักษาและข้อมูลเพื่อความปลอดภัยของผู้มารับบริการ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพที่สุด รวมทั้งให้ประชาชนรับทราบข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการเอง
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงาน สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ว่า ขณะนี้ สธ.ได้จัดทำแผนพัฒนาสุขภาพในเขตพื้นที่แบ่งออกเป็นเครือข่ายบริการของโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศรวม 12 เครือข่าย ดูแลประชาชนเครือข่ายละ 5-8 จังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ารับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม จึงได้มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สรพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการประเมินและรับรองมาตรฐานคุณภาพการรักษาและบริการในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งด้านการรักษา การป้องกันควบคุมโรค และการส่งเสริมสุขภาพ กำหนดแนวทางหรือหลักเกณฑ์ในการประเมินมาตรฐานของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) หรือโรงพยาบาลประจำอำเภอ ซึ่งมีจำนวนกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้แก่ประชาชน สามารถแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้ ประชาชนสามารถรับบริการใกล้บ้านที่สุด
“เบื้องต้นจะเริ่มจากการรับรองมาตรฐาน หรือรับรองคุณภาพการรักษาเป็นรายโรคหรือเฉพาะโรค เช่น การผ่าตัดไส้ติ่งของ รพช.แต่ละแห่งที่อยู่ในเครือข่ายบริการจังหวัดเดียวกันก่อน จากนั้นจะพัฒนาให้การรับรองมาตรฐานทั้งจังหวัด และจะพัฒนาไปจนถึงระดับเขตบริการทั้ง 12 เครือข่าย เพื่อให้เกิดมาตรฐานการรักษาที่ปลอดภัยทั้งสถานบริการและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพบริการ ซึ่งจะมีการประเมินและวัดผลด้วยว่าสถานบริการใดมีความน่าเชื่อถือ หรือไว้วางใจที่จะเข้ารับบริการ ลดปัญหาการร้องเรียน และสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนที่มารับบริการ” รมว.สาธารณสุขกล่าว
นพ.ประดิษฐกล่าวอีกว่า เรื่องที่น่าเป็นห่วงขณะนี้คือ กรณีที่ผู้บริโภคไปรับบริการจากสถานบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้ได้รับบริการที่ไม่มีคุณภาพและเกิดปัญหาฟ้องร้องตามมา หรือได้รับบริการที่อาจไม่มีความจำเป็น ทำให้เสียค่ารักษาพยาบาลแพงเกินเหตุ นับว่ามีความสำคัญและมีผลกระทบต่อนโยบายของรัฐบาลและ สธ.ที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการรักษาพยาบาล หรือเมดิคัลฮับ (Medical Hub) ซึ่งเรื่องนี้ สธ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยปัญหาข้อพิพาทด้านบริการสุขภาพหรือทางการแพทย์ขึ้นมา 1 ชุด โดยมีอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เป็นประธาน เพื่อให้เป็นตัวกลางในการประสานหรือพูดคุยกับทั้ง 2 ฝ่าย คือ ระหว่างประชาชนหรือผู้บริโภคกับโรงพยาบาล นอกจากนี้ ยังเน้นให้สถานบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ทรัพยากรร่วมกัน รวมทั้งประสานความร่วมมือและเชื่อมโยงข้อมูลกัน ทั้งในเรื่องของมาตรฐานการรักษาและข้อมูลเพื่อความปลอดภัยของผู้มารับบริการ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพที่สุด รวมทั้งให้ประชาชนรับทราบข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการเอง