สธ.ขับเคลื่อน “ทีมสุขภาพชุมชน” หวังคนไทย “สุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน” ลดเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และโรคจากการประกอบอาชีพ ตั้งเป้าปี 2556 ทำชุมชนจัดการสุขภาพแข็งแรง เมืองไทยเข้มแข็ง 1,756 ตำบล
วันนี้ (14 ก.พ.) ที่โรงแรมเซ็นจูรี พาร์ค กทม. นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน “ชุมชนจัดการสุขภาพเข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง” แก่ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดทั่วประเทศ ว่า สธ.มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนา “ชุมชนจัดการสุขภาพเข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง” ภายใต้แนวคิด “สุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน” เป็นรูปแบบวิธีการจัดการใหม่ โดยองค์ประกอบต่างๆ ในชุมชน เช่น ประชาชนในชุมชน เป็นศูนย์กลางกลไกการขับเคลื่อนในการเป็นเจ้าของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาวะชุมชน โดยมีเครือข่ายในระดับตำบล ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการดำเนินงานพัฒนาและขับเคลื่อนพลังชุมชนร่วมกัน ได้ผลผลิตจากกระบวนการใช้ชุมชน โดยใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร ทุน แรงงานในชุมชนเป็นหลัก การสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน เพื่อเป็นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นการผสมผสานภูมิปัญญาสากล การดำเนินการแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบ ใช้กระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจหลัก และการพึ่งพาตนเองของครอบครัวและชุมชนเป็นเป้าหมาย
นาวาอากาศตรี นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ในปี พ.ศ.2556 มีเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนางานสุขภาพภาคประชาชนให้เกิดเป็น “ชุมชนจัดการสุขภาพเข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง” จำนวน 1,756 ตำบล โดยจะดำเนินการทุกจังหวัด อำเภอๆ ละ 2 ตำบล และที่จังหวัดน่าน นำร่องในทุกตำบล จำนวน 99 ตำบล โดยการพัฒนาศักยภาพแก่ผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.เชี่ยวชาญ อสม.นักจัดการสุขภาพชุมชน จำนวน 50,000 คน เป็น “ทีมสุขภาพชุมชน” ในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง ลดอัตราการป่วยและตายจากโรคเรื้อรัง 5 โรคสำคัญ ได้แก่ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง รวมทั้งโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ลดความรุนแรงของโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้เจ็บป่วย และมีการจัดทำวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ ใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร ทุน แรงงานในชุมชนเป็นหลัก เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี คนในชุมชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ใช้พลังงานสะอาดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นลดความยากจนลงได้
วันนี้ (14 ก.พ.) ที่โรงแรมเซ็นจูรี พาร์ค กทม. นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน “ชุมชนจัดการสุขภาพเข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง” แก่ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดทั่วประเทศ ว่า สธ.มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนา “ชุมชนจัดการสุขภาพเข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง” ภายใต้แนวคิด “สุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน” เป็นรูปแบบวิธีการจัดการใหม่ โดยองค์ประกอบต่างๆ ในชุมชน เช่น ประชาชนในชุมชน เป็นศูนย์กลางกลไกการขับเคลื่อนในการเป็นเจ้าของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสุขภาวะชุมชน โดยมีเครือข่ายในระดับตำบล ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการดำเนินงานพัฒนาและขับเคลื่อนพลังชุมชนร่วมกัน ได้ผลผลิตจากกระบวนการใช้ชุมชน โดยใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร ทุน แรงงานในชุมชนเป็นหลัก การสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน เพื่อเป็นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นการผสมผสานภูมิปัญญาสากล การดำเนินการแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบ ใช้กระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจหลัก และการพึ่งพาตนเองของครอบครัวและชุมชนเป็นเป้าหมาย
นาวาอากาศตรี นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ในปี พ.ศ.2556 มีเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนางานสุขภาพภาคประชาชนให้เกิดเป็น “ชุมชนจัดการสุขภาพเข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง” จำนวน 1,756 ตำบล โดยจะดำเนินการทุกจังหวัด อำเภอๆ ละ 2 ตำบล และที่จังหวัดน่าน นำร่องในทุกตำบล จำนวน 99 ตำบล โดยการพัฒนาศักยภาพแก่ผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.เชี่ยวชาญ อสม.นักจัดการสุขภาพชุมชน จำนวน 50,000 คน เป็น “ทีมสุขภาพชุมชน” ในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง ลดอัตราการป่วยและตายจากโรคเรื้อรัง 5 โรคสำคัญ ได้แก่ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง รวมทั้งโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ลดความรุนแรงของโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้เจ็บป่วย และมีการจัดทำวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ ใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร ทุน แรงงานในชุมชนเป็นหลัก เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี คนในชุมชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ใช้พลังงานสะอาดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นลดความยากจนลงได้