อธิการบดีจุฬาฯ จวกเพื่อนนิสิต ป.โทใช้คัตเตอร์กรีดหลังอาจารย์เหตุวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ต้องยอมรับมาตรฐานการศึกษา ยันอาจารย์ช่วยเหลือเต็มที่แล้ว เล็งหาที่พักใหม่ใกล้มหาวิทยาลัยให้อาจารย์
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีคนร้ายใช้อาวุธคัตเตอร์กรีดที่กลางหลังและท่อนแขนของ ผศ.ดร.จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ อายุ 49 ปี รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ที่บริเวณหน้าอาคารวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จุฬาฯ ว่า ผศ.ดร.จิรวัฒน์นั้นเป็นอาจารย์ที่ดีตั้งใจในการทำงาน และอุทิศตนเพื่อการศึกษาอย่างมาก สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย ส่วนสาเหตุของการทำร้ายร่างกายเพราะเพื่อนสนิทของนิสิตปริญญาโทไม่พอใจที่วิทยานิพนธ์ไม่ผ่านนั้น หากไม่ผ่านแล้วกลับมาทำร้ายร่างกายเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และเป็นเรื่องมาตรฐานทางการศึกษาที่ต้องยอมรับ และเท่าที่สอบถาม ผศ.ดร.จิรวัฒน์ก็ทราบว่าอาจารย์ได้พยายามช่วยเหลือนิสิตอย่างเต็มที่แล้ว แต่สุดท้ายนิสิตทำวิทยานิพนธ์ไม่ผ่านจริงๆ
“จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็รู้สึกเป็นห่วง แต่ระบบการรักษาความปลอดภัยในภาพรวม จุฬาฯ มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดต่างๆ มีปุ่มสัญญาณฉุกเฉิน ขณะเดียวกัน ก็มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้วย สำหรับอาจารย์จิรวัฒน์ นั้นเป็นคนตั้งใจทำงานกลับบ้าน 4-5 ทุ่มแทบทุกวันโดยส่วนใหญ่ก็เดินทางด้วยรถสาธารณะ ซึ่งจากนี้ผมจะคุยกับอาจารย์เพื่อหาที่พักใหม่ใกล้มหาวิทยาลัยให้อาจารย์ได้พัก” อธิการบดี จุฬาฯ กล่าว
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีคนร้ายใช้อาวุธคัตเตอร์กรีดที่กลางหลังและท่อนแขนของ ผศ.ดร.จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ อายุ 49 ปี รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ที่บริเวณหน้าอาคารวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จุฬาฯ ว่า ผศ.ดร.จิรวัฒน์นั้นเป็นอาจารย์ที่ดีตั้งใจในการทำงาน และอุทิศตนเพื่อการศึกษาอย่างมาก สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย ส่วนสาเหตุของการทำร้ายร่างกายเพราะเพื่อนสนิทของนิสิตปริญญาโทไม่พอใจที่วิทยานิพนธ์ไม่ผ่านนั้น หากไม่ผ่านแล้วกลับมาทำร้ายร่างกายเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และเป็นเรื่องมาตรฐานทางการศึกษาที่ต้องยอมรับ และเท่าที่สอบถาม ผศ.ดร.จิรวัฒน์ก็ทราบว่าอาจารย์ได้พยายามช่วยเหลือนิสิตอย่างเต็มที่แล้ว แต่สุดท้ายนิสิตทำวิทยานิพนธ์ไม่ผ่านจริงๆ
“จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็รู้สึกเป็นห่วง แต่ระบบการรักษาความปลอดภัยในภาพรวม จุฬาฯ มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดต่างๆ มีปุ่มสัญญาณฉุกเฉิน ขณะเดียวกัน ก็มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้วย สำหรับอาจารย์จิรวัฒน์ นั้นเป็นคนตั้งใจทำงานกลับบ้าน 4-5 ทุ่มแทบทุกวันโดยส่วนใหญ่ก็เดินทางด้วยรถสาธารณะ ซึ่งจากนี้ผมจะคุยกับอาจารย์เพื่อหาที่พักใหม่ใกล้มหาวิทยาลัยให้อาจารย์ได้พัก” อธิการบดี จุฬาฯ กล่าว