นิด้าโพลชี้คนกรุงเชื่อมั่นโพลเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ถึงร้อยละ 52 เพราะผลทุกโพลเป็นไปในแนวทางเดียวกันแต่คิดว่าน่าจะตรงกับผลเลือกตั้งในวันที่ 3 มี.ค.เพียงร้อยละ 35 และยังเชื่อว่าสำนักโพลถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซงถึงร้อยละ 39 ระบุโพลไม่สามารถชี้นำผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ถึงร้อยละ 70
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “โพลกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12 - 13 กุมภาพันธ์ 2556 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ทั้ง 50 เขต จำนวน 1,500 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษา ทุกอาชีพ กรณีการทำโพล หรือ การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
จากการสำรวจ เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือต่อผลการสำรวจโพลเกี่ยวกับการเลือกตั้ง พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 52.40 เชื่อมั่นในระดับ ปานกลาง รองลงมาร้อยละ 19.07 เชื่อมั่นในระดับมาก และร้อยละ 17.60 เชื่อมั่นในระดับน้อย
ทั้งนี้ คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 39.07 เชื่อว่า สำนักโพลถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง เพราะผลสำรวจที่ออกมาทำให้เชื่อว่าน่าจะมีส่วน และอาจมีการว่าจ้างในการทำสำรวจ ร้อยละ 30.60 ไม่เชื่อว่า ถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง เพราะ เป็นการบริหารงานกันคนละส่วน ไม่สามารถแทรกแซงได้ และสำนักโพลน่าจะมีจรรยาบรรณและความเป็นกลางอยู่แล้ว
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลโพลว่าจะตรงกับผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่ พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 35.27 คิดว่า ผลโพล น่าจะตรง กับผลการเลือกตั้ง เพราะเมื่อเทียบจากหลายๆ สำนักผลที่ออกมาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และร้อยละ 31.13 คิดว่า ไม่น่าจะตรง กับผลการเลือกตั้ง เพราะ ยังมีกลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจอยู่อีก และความคิดเห็นย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ซึ่งยังไม่แน่นอน
ท้ายสุด เมื่อถามถึงผลโพลว่าสามารถชี้นำหรือมีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่นั้น คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 70.87 ระบุว่า ไม่สามารถชี้นำหรือมีผลต่อการตัดสินใจ เพราะแต่ละคนย่อมมีคนที่ตัวเองชอบหรือตัดสินใจเลือกไว้อยู่แล้ว ผลโพลเป็นเพียงข้อมูลสร้างสีสัน ในการเลือกตั้ง ส่วนการตัดสินใจจะเลือกใครนั้นจะพิจารณาจากตัวบุคคลหรือนโยบายมากกว่าและท้ายที่สุดก็คือตัวเราเอง เป็นผู้ตัดสินใจเอง มีเพียงร้อยละ 16.73 ที่ระบุว่า มีผล เพราะ สามารถชี้นำได้จริง โดยเฉพาะคนที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง อาจทำให้คล้อยตามได้ แต่ก็เป็นแค่บางส่วน
รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ให้ทัศนะว่า จากผลการสำรวจคะแนนความนิยมของผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ในแต่ละสำนักโพลที่นำเสนอในช่วงนี้ ต่างก็มีผลไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกันทุกสำนัก ดังนั้น คน กทม. จึงมีความเชื่อมั่นต่อผลการสำรวจที่ออกมาในระดับหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันก็ปฎิเสธความเชื่อของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ว่า สำนักโพลถูกการเมืองเข้ามาแทรกแซง ซึ่งไม่ว่าจะในวงการใดก็ตามประชาชนก็มองว่ามีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือถูกแทรกแซง เช่น สื่อมวลชน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามผลโพล เป็นเพียงตัวเลขที่สะท้อนความคิดเห็นออกมาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถพลิกผันหรือเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้น คะแนนความนิยมของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ก็ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ยังไม่แน่นอนโดยเฉพาะกลุ่มพลังเงียบที่ยังไม่ตัดสินใจ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “โพลกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12 - 13 กุมภาพันธ์ 2556 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ทั้ง 50 เขต จำนวน 1,500 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษา ทุกอาชีพ กรณีการทำโพล หรือ การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
จากการสำรวจ เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือต่อผลการสำรวจโพลเกี่ยวกับการเลือกตั้ง พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 52.40 เชื่อมั่นในระดับ ปานกลาง รองลงมาร้อยละ 19.07 เชื่อมั่นในระดับมาก และร้อยละ 17.60 เชื่อมั่นในระดับน้อย
ทั้งนี้ คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 39.07 เชื่อว่า สำนักโพลถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง เพราะผลสำรวจที่ออกมาทำให้เชื่อว่าน่าจะมีส่วน และอาจมีการว่าจ้างในการทำสำรวจ ร้อยละ 30.60 ไม่เชื่อว่า ถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง เพราะ เป็นการบริหารงานกันคนละส่วน ไม่สามารถแทรกแซงได้ และสำนักโพลน่าจะมีจรรยาบรรณและความเป็นกลางอยู่แล้ว
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลโพลว่าจะตรงกับผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่ พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 35.27 คิดว่า ผลโพล น่าจะตรง กับผลการเลือกตั้ง เพราะเมื่อเทียบจากหลายๆ สำนักผลที่ออกมาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และร้อยละ 31.13 คิดว่า ไม่น่าจะตรง กับผลการเลือกตั้ง เพราะ ยังมีกลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจอยู่อีก และความคิดเห็นย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ซึ่งยังไม่แน่นอน
ท้ายสุด เมื่อถามถึงผลโพลว่าสามารถชี้นำหรือมีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่นั้น คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 70.87 ระบุว่า ไม่สามารถชี้นำหรือมีผลต่อการตัดสินใจ เพราะแต่ละคนย่อมมีคนที่ตัวเองชอบหรือตัดสินใจเลือกไว้อยู่แล้ว ผลโพลเป็นเพียงข้อมูลสร้างสีสัน ในการเลือกตั้ง ส่วนการตัดสินใจจะเลือกใครนั้นจะพิจารณาจากตัวบุคคลหรือนโยบายมากกว่าและท้ายที่สุดก็คือตัวเราเอง เป็นผู้ตัดสินใจเอง มีเพียงร้อยละ 16.73 ที่ระบุว่า มีผล เพราะ สามารถชี้นำได้จริง โดยเฉพาะคนที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง อาจทำให้คล้อยตามได้ แต่ก็เป็นแค่บางส่วน
รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ให้ทัศนะว่า จากผลการสำรวจคะแนนความนิยมของผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ในแต่ละสำนักโพลที่นำเสนอในช่วงนี้ ต่างก็มีผลไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกันทุกสำนัก ดังนั้น คน กทม. จึงมีความเชื่อมั่นต่อผลการสำรวจที่ออกมาในระดับหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันก็ปฎิเสธความเชื่อของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ว่า สำนักโพลถูกการเมืองเข้ามาแทรกแซง ซึ่งไม่ว่าจะในวงการใดก็ตามประชาชนก็มองว่ามีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือถูกแทรกแซง เช่น สื่อมวลชน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามผลโพล เป็นเพียงตัวเลขที่สะท้อนความคิดเห็นออกมาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถพลิกผันหรือเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้น คะแนนความนิยมของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ก็ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ยังไม่แน่นอนโดยเฉพาะกลุ่มพลังเงียบที่ยังไม่ตัดสินใจ