"หมอชลน่าน" ขีดเดธไลน์ 2 เดือน ทำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ เบื้องต้นหารือทั้งผู้ให้บริการ-ผู้รับบริการ ได้ข้อสรุป 9 ประเด็น ยันเรื่องไม่สะดุดแน่ ด้านเครือข่ายผู้เสียหายฯ เผยรู้สึกมีหวัง
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ว่า การหารือในครั้งนี้ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เพื่อหาข้อสรุปในการจัดทำเนื้อหาสาระของกฎหมายดังกล่าว โดยสรุปมีมติร่วมใน 9 ประเด็น คือ 1.ต้องมีการพัฒนาระบบบริการให้มีมาตรฐาน 2.มีระบบเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการบริการให้ครอบคลุมทุกฝ่าย 3.พัฒนาระบบผู้ให้บริการทั้งทางแพ่งและอาญา เพื่อประโยชน์ทุกฝ่าย โดยการรักษาต้องได้มาตรฐานและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ 4.พัฒนาและสนับสนุนระบบการสร้างความสัมพันธ์อันดีในระบบสาธารณสุข 5.ให้มีระบบการเงินการคลังที่มีประสิทธิภาพ 6.ให้มีระบบการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ 7.ให้มีคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าใจในมาตรฐานการรักษาทุกระดับ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค 8.ให้มีหน่วยงานที่ดำเนินการในกระทรวงสาธารณสุข และ 9.ให้มีการวิเคราะห์ปัญหาว่ามีสาเหตุจากอะไร และสามารถตรวจสอบได้จริง
“ข้อสรุปใน 9 ประเด็นเป็นภาพรวม โดยจะมีการแตกประเด็นย่อยอีก ซึ่งทั้งหมดคือเนื้อหาสาระหลักที่ต้องจัดทำเป็นสาระบัญญัติ ส่วนจะนำไปใส่ไว้ในร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่หรือไม่ หรือจะเป็นร่างพ.ร.บ.เดิมแล้วนำมาปรับปรุง ยังไม่ได้หารือในรายละเอียดเรื่องนี้ แต่ได้ตั้งกรอบเวลาการทำงาน โดยภายใน 2 เดือนจะมีความชัดเจนขึ้น ยืนยันว่าเรื่องนี้จะไม่หยุดนิ่งแน่นอน” รมช.สาธารณสุข กล่าว
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า รู้สึกมีความหวังอีกครั้ง เนื่องจากร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวยกร่างมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงบัดนี้เป็นเวลา 6 ปี ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไม่ถูกประกาศใช้ แม้จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่ก็ถูกตีกลับให้มีการพิจารณาใหม่ ซึ่งหลังจากการประชุมครั้งนี้ นพ.ชลน่าน ระบุชัดเจนตั้งกรอบเวลา 2 เดือน ซึ่งหากทันวาระการพิจารณาของสภาฯในสมัยนี้ คือ ภายในวันที่ 18-21 เมษายนนี้ ก็จะดีมาก แต่หากไม่ทันคงต้องรอการประชุมสมัยหน้า ซึ่งประมาณปลายปีทีเดียว
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ว่า การหารือในครั้งนี้ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เพื่อหาข้อสรุปในการจัดทำเนื้อหาสาระของกฎหมายดังกล่าว โดยสรุปมีมติร่วมใน 9 ประเด็น คือ 1.ต้องมีการพัฒนาระบบบริการให้มีมาตรฐาน 2.มีระบบเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการบริการให้ครอบคลุมทุกฝ่าย 3.พัฒนาระบบผู้ให้บริการทั้งทางแพ่งและอาญา เพื่อประโยชน์ทุกฝ่าย โดยการรักษาต้องได้มาตรฐานและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ 4.พัฒนาและสนับสนุนระบบการสร้างความสัมพันธ์อันดีในระบบสาธารณสุข 5.ให้มีระบบการเงินการคลังที่มีประสิทธิภาพ 6.ให้มีระบบการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ 7.ให้มีคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าใจในมาตรฐานการรักษาทุกระดับ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค 8.ให้มีหน่วยงานที่ดำเนินการในกระทรวงสาธารณสุข และ 9.ให้มีการวิเคราะห์ปัญหาว่ามีสาเหตุจากอะไร และสามารถตรวจสอบได้จริง
“ข้อสรุปใน 9 ประเด็นเป็นภาพรวม โดยจะมีการแตกประเด็นย่อยอีก ซึ่งทั้งหมดคือเนื้อหาสาระหลักที่ต้องจัดทำเป็นสาระบัญญัติ ส่วนจะนำไปใส่ไว้ในร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่หรือไม่ หรือจะเป็นร่างพ.ร.บ.เดิมแล้วนำมาปรับปรุง ยังไม่ได้หารือในรายละเอียดเรื่องนี้ แต่ได้ตั้งกรอบเวลาการทำงาน โดยภายใน 2 เดือนจะมีความชัดเจนขึ้น ยืนยันว่าเรื่องนี้จะไม่หยุดนิ่งแน่นอน” รมช.สาธารณสุข กล่าว
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า รู้สึกมีความหวังอีกครั้ง เนื่องจากร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวยกร่างมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงบัดนี้เป็นเวลา 6 ปี ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไม่ถูกประกาศใช้ แม้จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่ก็ถูกตีกลับให้มีการพิจารณาใหม่ ซึ่งหลังจากการประชุมครั้งนี้ นพ.ชลน่าน ระบุชัดเจนตั้งกรอบเวลา 2 เดือน ซึ่งหากทันวาระการพิจารณาของสภาฯในสมัยนี้ คือ ภายในวันที่ 18-21 เมษายนนี้ ก็จะดีมาก แต่หากไม่ทันคงต้องรอการประชุมสมัยหน้า ซึ่งประมาณปลายปีทีเดียว