กสพท.เล็งทบทวนใช้ O-Net เป็นองค์ประกอบเข้าเรียนแพทย์ปีหน้า ขณะที่ คณบดีวิทย์ จุฬาฯ ชี้ไม่เห็นทางออกนอกจากจัดสอบวิทย์ใหม่
ศ.นพ.อาวุธ ศรีสุกรี เลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) กล่าวถึงกรณีที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้คะแนนฟรี 24 คะแนนนักเรียนชั้น ม.6 ทุกคนในวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) หลัง สทศ.ได้แถลงขอโทษและชี้แจงว่าเกิดความผิดพลาดในระบบการดึงข้อสอบ ว่า กรณีที่ สทศ.ให้ฟรี 24 คะแนนวิชาวิทยาศาสตร์นั้น กสพท.ไม่กังวล เพราะบังเอิญว่าเด็กที่มาสมัครเข้าเรียนแพทย์ส่วนใหญ่เป็นเด็กเก่ง และมีน้อยมากที่คะแนน O-Net ไม่ผ่าน และ กสพท.ก็ใช้คะแนน O-Net มาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาต่อเท่านั้น ไม่ได้นำมาคิดคะแนนรวมแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น ไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรมาก และถ้ามองในแง่ดีก็คงต้องถือว่าเป็น 24 คะแนนที่ช่วยเด็ก และปีนี้จะไม่มีใครทำคะแนนในวิชาวิทยาศาสตร์ได้ 0 คะแนน
“ปกติก่อนจะมีการเปิดรับสมัครนักศึกษาแพทย์ของกลุ่ม กสพท.นั้น จะมีการหารือ เพื่อทบทวนภาพรวมของคะแนน และพิจารณาว่าจะใช้ O-Net เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกหรือไม่ ซึ่งมติที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเห็นว่ายังต้องใช้ O-Net อยู่ เพราะต้องการให้เด็กอยู่ในห้องเรียนจนจบการศึกษา โดยในการรับนักศึกษาแพทย์ในปีการศึกษา 2557 กสพท.ซึ่งจะมีขึ้นในอีก 2 เดือนข้างหน้า กสพท.จะหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาพิจารณา เพื่อจะทบทวนในเรื่องของมาตรฐานข้อสอบ และพิจารณาว่าจะยังใช้คะแนน O-Net เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือกอยู่หรือไม่” ศ.นพ.อาวุธ กล่าว
ด้าน ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การนำคะแนน O-Net ปีนี้ส่วนหนึ่งไปใช้เพื่อการสอบคัดเลือกคงต้องดูว่า การตัดคะแนนของผู้สอบคัดเลือกนั้น มีช่วงห่างของแต่ละคนเป็นเท่าไร และคะแนนที่เพิ่มมา 24 คะแนนจะมีผลมากน้อยเพียงใด โดยจะให้ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ นำข้อมูลมาคำนวณดู อย่างไรก็ตาม การสอบ O-Net เป็นการทดสอบระดับชาติที่ไม่ควรเกิดปัญหาขึ้น ทางออกของเรื่องนี้ ตนยังมองไม่เห็น นอกจากว่า สทศ.จะจัดสอบใหม่ในวิชาวิทย์
ขณะที่ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทย์ จุฬาฯ กล่าวว่า เท่าที่ดูข้อมูล ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ 1.กลุ่มเด็กซิล ซึ่งจะสอบเข้าระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชันใหม่ในปีนี้ จะมีคะแนนเฉลี่ยที่ต่ำกว่าเด็ก ม.6 ปีนี้ และเด็กซิลก็ไม่มีทางทำอะไรได้ เพราะO-Net สอบได้เพียงครั้งเดียว 2.ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยของO-Netในภาพรวมของเด็กสูงขึ้น 3.คะแนนเฉลี่ยของแต่ละคณะที่ใช้คะแนนสอบวิทย์สูงขึ้น ทั้งนี้ โดยส่วนตัวเห็นว่า กรณีที่ สทศ.ให้คะแนนฟรีทุกคน 24 คะแนน หากมองในอีกมุมหนึ่ง หากตัดคะแนนส่วนนี้ออกไป และให้คะแนนเต็มวิชาวิทย์ จาก 100 เป็น 76 คะแนน แล้วจึงเทียบคะแนนเป็นฐาน 100 ก็น่าจะพอลดผลกระทบของเด็กซิล กับ เด็ก ม.6 ปีนี้ รวมทั้งเด็ก ม.6 ด้วยกันเองด้วย
ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(บอร์ด สทศ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนได้มีการพูดคุยกับ รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น โดยจะรอผลการชี้แจงเป็นรายลักษณ์อักษรจาก ผอ.สทศ.ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันสุดวิสัยอย่างไร ซึ่งในส่วนของบอร์ดสทศ.เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ส่วนที่มีนักวิชาการออกมาเรียกร้องให้สทศ.จัดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นม.6 ใหม่นั้น ตนคงยังไม่สามารถพูดอะไรได้ในตอนนี้ ขอหารือในที่ประชุมบอร์ดก่อน เพราะการจัดสอบใหม่ จะต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายประการ โดยเฉพาะความพร้อมของข้อสอบว่ามีมากน้อยแค่ไหน
“ผมเข้าใจเสียงสะท้อนที่ออกมาในตอนนี้ แต่คงต้องขอเวลาพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ ให้รอบคอบก่อน รวมถึงจะต้องถาม ผอ.สทศ.ด้วยว่ามีความพร้อมหรือไม่ ส่วนการจัดสอบแบบทดสอบความถนัดทั่วไปหรือ GAT และความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการหรือ PAT ที่จะมีขึ้น ในวันที่ 2-5 มีนาคมนี้ นั้นทางบอร์ดได้กำชับไปยัง ผอ.สทศ. ว่าทุกครั้งที่มีการจัดสอบขอให้มีความรอบคอบ แต่ก็ไม่รู้ว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้น หลุดออกมาได้อย่างไร ซึ่งก็คงต้องมาดูรายละเอียดและหาวิธีแก้ไขต่อไป”ประธานบอร์ด สทศ.กล่าว
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการติดตามเห็นได้ว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นผู้มีส่วนรับผิดชอบก็ คือ สทศ.ได้ลงมาแก้ไขเยียวยาทันที เพื่อไม่ให้นักเรียนเสียผลประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าแม้จะเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการดำเนินการจัดสอบของ สทศ.หรือแม้กระทั่งการที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะพิจารณานำคะแนน O-Net มาเป็นเป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาต่อ ทั้งนี้ ส่วนที่มีข้อเสนอว่าน่าจะมีการจัดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ใหม่นั้น ตนมองว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดีคือการสอบใหม่ก็เพื่อแก้ไขปัญหาความผิดพลาดทั้งหมด แต่ข้อเสีย คือ การจัดสอบแต่ละครั้งต้องใช้เวลาในการเตรียมการมาก มีขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ มากมายที่ต้องทำให้พร้อมรองรับ เพราะฉะนั้น วิธีการแก้ไขของ สทศ.ในเวลานี้เป็นการเยียวยาเด็กที่ดีที่สุด
ศ.นพ.อาวุธ ศรีสุกรี เลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) กล่าวถึงกรณีที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้คะแนนฟรี 24 คะแนนนักเรียนชั้น ม.6 ทุกคนในวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) หลัง สทศ.ได้แถลงขอโทษและชี้แจงว่าเกิดความผิดพลาดในระบบการดึงข้อสอบ ว่า กรณีที่ สทศ.ให้ฟรี 24 คะแนนวิชาวิทยาศาสตร์นั้น กสพท.ไม่กังวล เพราะบังเอิญว่าเด็กที่มาสมัครเข้าเรียนแพทย์ส่วนใหญ่เป็นเด็กเก่ง และมีน้อยมากที่คะแนน O-Net ไม่ผ่าน และ กสพท.ก็ใช้คะแนน O-Net มาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาต่อเท่านั้น ไม่ได้นำมาคิดคะแนนรวมแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น ไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรมาก และถ้ามองในแง่ดีก็คงต้องถือว่าเป็น 24 คะแนนที่ช่วยเด็ก และปีนี้จะไม่มีใครทำคะแนนในวิชาวิทยาศาสตร์ได้ 0 คะแนน
“ปกติก่อนจะมีการเปิดรับสมัครนักศึกษาแพทย์ของกลุ่ม กสพท.นั้น จะมีการหารือ เพื่อทบทวนภาพรวมของคะแนน และพิจารณาว่าจะใช้ O-Net เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกหรือไม่ ซึ่งมติที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเห็นว่ายังต้องใช้ O-Net อยู่ เพราะต้องการให้เด็กอยู่ในห้องเรียนจนจบการศึกษา โดยในการรับนักศึกษาแพทย์ในปีการศึกษา 2557 กสพท.ซึ่งจะมีขึ้นในอีก 2 เดือนข้างหน้า กสพท.จะหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาพิจารณา เพื่อจะทบทวนในเรื่องของมาตรฐานข้อสอบ และพิจารณาว่าจะยังใช้คะแนน O-Net เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือกอยู่หรือไม่” ศ.นพ.อาวุธ กล่าว
ด้าน ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การนำคะแนน O-Net ปีนี้ส่วนหนึ่งไปใช้เพื่อการสอบคัดเลือกคงต้องดูว่า การตัดคะแนนของผู้สอบคัดเลือกนั้น มีช่วงห่างของแต่ละคนเป็นเท่าไร และคะแนนที่เพิ่มมา 24 คะแนนจะมีผลมากน้อยเพียงใด โดยจะให้ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ นำข้อมูลมาคำนวณดู อย่างไรก็ตาม การสอบ O-Net เป็นการทดสอบระดับชาติที่ไม่ควรเกิดปัญหาขึ้น ทางออกของเรื่องนี้ ตนยังมองไม่เห็น นอกจากว่า สทศ.จะจัดสอบใหม่ในวิชาวิทย์
ขณะที่ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทย์ จุฬาฯ กล่าวว่า เท่าที่ดูข้อมูล ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ 1.กลุ่มเด็กซิล ซึ่งจะสอบเข้าระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชันใหม่ในปีนี้ จะมีคะแนนเฉลี่ยที่ต่ำกว่าเด็ก ม.6 ปีนี้ และเด็กซิลก็ไม่มีทางทำอะไรได้ เพราะO-Net สอบได้เพียงครั้งเดียว 2.ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยของO-Netในภาพรวมของเด็กสูงขึ้น 3.คะแนนเฉลี่ยของแต่ละคณะที่ใช้คะแนนสอบวิทย์สูงขึ้น ทั้งนี้ โดยส่วนตัวเห็นว่า กรณีที่ สทศ.ให้คะแนนฟรีทุกคน 24 คะแนน หากมองในอีกมุมหนึ่ง หากตัดคะแนนส่วนนี้ออกไป และให้คะแนนเต็มวิชาวิทย์ จาก 100 เป็น 76 คะแนน แล้วจึงเทียบคะแนนเป็นฐาน 100 ก็น่าจะพอลดผลกระทบของเด็กซิล กับ เด็ก ม.6 ปีนี้ รวมทั้งเด็ก ม.6 ด้วยกันเองด้วย
ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(บอร์ด สทศ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนได้มีการพูดคุยกับ รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น โดยจะรอผลการชี้แจงเป็นรายลักษณ์อักษรจาก ผอ.สทศ.ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันสุดวิสัยอย่างไร ซึ่งในส่วนของบอร์ดสทศ.เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ส่วนที่มีนักวิชาการออกมาเรียกร้องให้สทศ.จัดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นม.6 ใหม่นั้น ตนคงยังไม่สามารถพูดอะไรได้ในตอนนี้ ขอหารือในที่ประชุมบอร์ดก่อน เพราะการจัดสอบใหม่ จะต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายประการ โดยเฉพาะความพร้อมของข้อสอบว่ามีมากน้อยแค่ไหน
“ผมเข้าใจเสียงสะท้อนที่ออกมาในตอนนี้ แต่คงต้องขอเวลาพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ ให้รอบคอบก่อน รวมถึงจะต้องถาม ผอ.สทศ.ด้วยว่ามีความพร้อมหรือไม่ ส่วนการจัดสอบแบบทดสอบความถนัดทั่วไปหรือ GAT และความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการหรือ PAT ที่จะมีขึ้น ในวันที่ 2-5 มีนาคมนี้ นั้นทางบอร์ดได้กำชับไปยัง ผอ.สทศ. ว่าทุกครั้งที่มีการจัดสอบขอให้มีความรอบคอบ แต่ก็ไม่รู้ว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้น หลุดออกมาได้อย่างไร ซึ่งก็คงต้องมาดูรายละเอียดและหาวิธีแก้ไขต่อไป”ประธานบอร์ด สทศ.กล่าว
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการติดตามเห็นได้ว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นผู้มีส่วนรับผิดชอบก็ คือ สทศ.ได้ลงมาแก้ไขเยียวยาทันที เพื่อไม่ให้นักเรียนเสียผลประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าแม้จะเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการดำเนินการจัดสอบของ สทศ.หรือแม้กระทั่งการที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะพิจารณานำคะแนน O-Net มาเป็นเป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาต่อ ทั้งนี้ ส่วนที่มีข้อเสนอว่าน่าจะมีการจัดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ใหม่นั้น ตนมองว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดีคือการสอบใหม่ก็เพื่อแก้ไขปัญหาความผิดพลาดทั้งหมด แต่ข้อเสีย คือ การจัดสอบแต่ละครั้งต้องใช้เวลาในการเตรียมการมาก มีขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ มากมายที่ต้องทำให้พร้อมรองรับ เพราะฉะนั้น วิธีการแก้ไขของ สทศ.ในเวลานี้เป็นการเยียวยาเด็กที่ดีที่สุด