ครั้งแรกของไทย! เปิดหอประวัติศาสตร์สุขภาพ รวบรวมตำรา เครื่องมือแพทย์ ภาพการทำงาน ฯลฯ ตั้งแต่อดีต หวังขยายผลเป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพและสังคม เป็นคลังความรู้ค้นคว้าวิจัยตำรายาการแพทย์แผนไทย เล็งประสานสถาบันการศึกษาแพทย์และสาธารณสุขจัดหลักสูตรประวัติศาสตร์สุขภาพ
วันนี้ (12 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.30 น.ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีรับมอบเอกสารจดหมายเหตุ เครื่องมือ และวัตถุจดหมายเหตุ จากกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ในพิธีเปิด “หอประวัติศาสตร์สุขภาพ” ว่า นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการจัดตั้งหอประวัติศาสตร์สุขภาพอย่างเป็นทางการ ซึ่งภายในจะรวบรวมประวัติศาสตร์การทำงานด้านสุขภาพตั้งแต่อดีต ทั้งรูปภาพ เครื่องมือเครื่องใช้สำคัญในการทำงาน เครื่องมือแพทย์ รถ และภาพยนตร์การออกหน่วยบริการของแพทย์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นรากเหง้าของการดูแลสุขภาพประชาชน ทั้งนี้ หอประวัติศาสตร์สุขภาพเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย (หพสท.) ซึ่งก่อตั้งโดย สธ.และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่งรวบรวมเอกสารด้านสุขภาพที่เก่าแก่มากกว่า 100 ปี
“เอกสารเก่าแก่ที่สุดเป็นตำราที่ไม่สามารถระบุเวลาได้อย่างแน่ชัด เพราะเป็นตำราที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ โดยเอกสารสำคัญคือ เอกสารส่วนบุคคลของบุคคลสำคัญด้านสุขภาพกว่าแสนชิ้น อาทิ เสม พริ้งพวงแก้ว, พ่อทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ ผู้เป็นกำลังหลักในการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทย เป็นต้น อย่างตำรายาของพ่อทองอ่อนก็มีผู้สนใจมาค้นคว้าข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาและวิจัยเป็นจำนวนมากว่ามีตัวยาอะไรบ้าง เนื่องจากมีตำราหลายขนานที่เชื่อว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม หอประวัติศาสตร์สุขภาพจะเป็นแหล่งเรียนรู้ฟรีสำหรับผู้ที่ต้องการค้นคว้าข้อมูล โดยสามารถมาค้นคว้าเอกสารจริงได้ที่หอประวัติศาสตร์สุขภาพ หรือในเว็บไซต์ของหอจดหมายเหตุฯได้” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า เป้าหมายงานอีกอย่างคือ การแสวงหาและอนุรักษ์เอกสาร โดยการกำหนดเป้าหมายในการเลือกสรรเอกสารวัตถุจดหมายเหตุที่ควรแสวงหามาเก็บไว้ และต้องทำงานให้ทันกับเวลาก่อนที่จะสูญหายไป เช่น การเก็บเอกสารเกี่ยวกับโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค รวมทั้งเอกสารการรณรงค์เรื่องการควบคุมการบริโภคยาสุบและสุรา เอกสารเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาและการสร้างความรู้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหาร หพสท.กล่าวว่า การรวบรวมประวัติศาสตร์สุขภาพในครั้งนี้ หวังว่าจะนำไปสู่การขยายผลที่เป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพและสังคมโดยรวม ซึ่งการทำงานในระยะต่อไปจะเน้นไปที่การเชื่อมต่อข้อมูลกับสถาบันการศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขทุกสาขา เพื่อให้เห็นความสำคัญและการใช้ประโยชน์ต่อยอดการเรียนรู้ โดยแต่ละสถาบันอาจสนับสนุนให้มีการจัดหลักสูตรเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์สุขภาพ รวมทั้งการจัดกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้กับผู้คนและท้องถิ่นต่างๆ ตลอดจนหันมาตระหนักและลงมือรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้วยตนเองให้เพิ่มมากขึ้น
นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการ หสพท.กล่าวว่า หอประวัติศาสตร์สุขภาพมีพื้นที่เกือบ 400 ตารางเมตร เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์การสาธารณสุขหรือสุขภาพของสังคมไทยในเชิงประสบการณ์ ซึ่งภายในหอประวัติศาสตร์ได้มีการจัดแสดงวัตถุ จดหมายเหตุ ภาพ เอกสาร และข้าวของที่มีความเป็นมาหลากหลาย พร้อมแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนเชื่อถือได้ โดยนิทรรศการทั้งหมดได้แบ่งพื้นที่เป็น 9 โซนหลักๆ ภายใต้บรรยากาศของการเดินชมตามอัธยาศัย อาทิ โซนสุขภาวะทางจิตวิญญาณ โซนการแพทย์ในสถานการณ์วิกฤต และโซนความตายและวาระสุดท้ายของชีวิต เป็นต้น สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมและเรียนรู้ได้ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.บริเวณชั้น 1 อาคารสุขภาพแห่งชาติ โดยไม่เสียค่าบริการ ส่วนกิจกรรมอื่นๆ คาดว่าจะจัดกิจกรรมเชิงรุกกับสถาบันการศึกษาทุกๆ 2-3 เดือน ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.nham.or.th
วันนี้ (12 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.30 น.ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีรับมอบเอกสารจดหมายเหตุ เครื่องมือ และวัตถุจดหมายเหตุ จากกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ในพิธีเปิด “หอประวัติศาสตร์สุขภาพ” ว่า นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการจัดตั้งหอประวัติศาสตร์สุขภาพอย่างเป็นทางการ ซึ่งภายในจะรวบรวมประวัติศาสตร์การทำงานด้านสุขภาพตั้งแต่อดีต ทั้งรูปภาพ เครื่องมือเครื่องใช้สำคัญในการทำงาน เครื่องมือแพทย์ รถ และภาพยนตร์การออกหน่วยบริการของแพทย์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นรากเหง้าของการดูแลสุขภาพประชาชน ทั้งนี้ หอประวัติศาสตร์สุขภาพเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย (หพสท.) ซึ่งก่อตั้งโดย สธ.และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่งรวบรวมเอกสารด้านสุขภาพที่เก่าแก่มากกว่า 100 ปี
“เอกสารเก่าแก่ที่สุดเป็นตำราที่ไม่สามารถระบุเวลาได้อย่างแน่ชัด เพราะเป็นตำราที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ โดยเอกสารสำคัญคือ เอกสารส่วนบุคคลของบุคคลสำคัญด้านสุขภาพกว่าแสนชิ้น อาทิ เสม พริ้งพวงแก้ว, พ่อทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ ผู้เป็นกำลังหลักในการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทย เป็นต้น อย่างตำรายาของพ่อทองอ่อนก็มีผู้สนใจมาค้นคว้าข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาและวิจัยเป็นจำนวนมากว่ามีตัวยาอะไรบ้าง เนื่องจากมีตำราหลายขนานที่เชื่อว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม หอประวัติศาสตร์สุขภาพจะเป็นแหล่งเรียนรู้ฟรีสำหรับผู้ที่ต้องการค้นคว้าข้อมูล โดยสามารถมาค้นคว้าเอกสารจริงได้ที่หอประวัติศาสตร์สุขภาพ หรือในเว็บไซต์ของหอจดหมายเหตุฯได้” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า เป้าหมายงานอีกอย่างคือ การแสวงหาและอนุรักษ์เอกสาร โดยการกำหนดเป้าหมายในการเลือกสรรเอกสารวัตถุจดหมายเหตุที่ควรแสวงหามาเก็บไว้ และต้องทำงานให้ทันกับเวลาก่อนที่จะสูญหายไป เช่น การเก็บเอกสารเกี่ยวกับโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค รวมทั้งเอกสารการรณรงค์เรื่องการควบคุมการบริโภคยาสุบและสุรา เอกสารเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาและการสร้างความรู้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหาร หพสท.กล่าวว่า การรวบรวมประวัติศาสตร์สุขภาพในครั้งนี้ หวังว่าจะนำไปสู่การขยายผลที่เป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพและสังคมโดยรวม ซึ่งการทำงานในระยะต่อไปจะเน้นไปที่การเชื่อมต่อข้อมูลกับสถาบันการศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขทุกสาขา เพื่อให้เห็นความสำคัญและการใช้ประโยชน์ต่อยอดการเรียนรู้ โดยแต่ละสถาบันอาจสนับสนุนให้มีการจัดหลักสูตรเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์สุขภาพ รวมทั้งการจัดกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้กับผู้คนและท้องถิ่นต่างๆ ตลอดจนหันมาตระหนักและลงมือรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้วยตนเองให้เพิ่มมากขึ้น
นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการ หสพท.กล่าวว่า หอประวัติศาสตร์สุขภาพมีพื้นที่เกือบ 400 ตารางเมตร เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์การสาธารณสุขหรือสุขภาพของสังคมไทยในเชิงประสบการณ์ ซึ่งภายในหอประวัติศาสตร์ได้มีการจัดแสดงวัตถุ จดหมายเหตุ ภาพ เอกสาร และข้าวของที่มีความเป็นมาหลากหลาย พร้อมแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนเชื่อถือได้ โดยนิทรรศการทั้งหมดได้แบ่งพื้นที่เป็น 9 โซนหลักๆ ภายใต้บรรยากาศของการเดินชมตามอัธยาศัย อาทิ โซนสุขภาวะทางจิตวิญญาณ โซนการแพทย์ในสถานการณ์วิกฤต และโซนความตายและวาระสุดท้ายของชีวิต เป็นต้น สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมและเรียนรู้ได้ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.บริเวณชั้น 1 อาคารสุขภาพแห่งชาติ โดยไม่เสียค่าบริการ ส่วนกิจกรรมอื่นๆ คาดว่าจะจัดกิจกรรมเชิงรุกกับสถาบันการศึกษาทุกๆ 2-3 เดือน ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.nham.or.th