รพร.เชียงของ พ้อ! ไร้แพทย์เฉพาะทางประจำ ทั้งที่มีทุนให้ถึง 4 สาขา แต่ไม่มีคนรับ หรือรับแต่เบี้ยวไม่ยอมทำงานใช้ทุน เล็งให้ทุนแพทย์เฉพาะพื้นที่เชียงราย และพะเยา หวังกลับมาทำงานในพื้นที่
นพ.สมปรารถน์ หมั่นจิตต์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ (รพร.เชียงของ) จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลมีแพทย์ทั่วไปจำนวน 7 คน แต่ไม่มีแพทย์เฉพาะทางประจำแม้แต่สาขาเดียว ทั้งที่ควรมีแพทย์เฉพาะทางประจำอย่างน้อย 4 สาขา ได้แก่ ศัลยกรรม อายุรกรรม สูตินรีเวชกรรม และกุมารเวชกรรม สาขาละ 2 คน แม้ที่ผ่านมา โรงพยาบาลได้ให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่อเฉพาะทางครบทั้ง 4 สาขา เป็นประจำทุกปีก็ตาม เนื่องจากมีแพทย์จากนอกพื้นที่ จ.เชียงราย ขอรับทุนกุมารแพทย์จำนวน 2 คน แต่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไม่กลับมาใช้ทุนที่โรงพยาบาล ที่สำคัญคือ ไม่มีแพทย์ขอรับทุนสูตินรีเวชฯ ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากการที่ศาลพิพากษาให้แพทย์มีความผิดรับโทษจำคุกกรณี ฟ้องร้องแพทย์โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งใน จ.นครศรีธรรมราช ผ่าคลอดโดยไม่มีวิสัญญีแพทย์ ดังนั้น การคัดเลือกแพทย์ขอรับทุนในปีต่อไป จะเน้นพิจารณาแพทย์ในพื้นที่ จ.เชียงราย และ จ.พะเยา เป็นหลัก เพราะเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้กลับมาทำงานในพื้นที่
นพ.สมปรารถน์ กล่าวอีกว่า รพร.เชียงของ อยู่ฝั่งตรงข้ามแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ทำให้มีคนลาวข้ามฝั่งมารักษาตัวจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคลอดบุตร ซึ่งพบว่าจำนวนผู้คลอดบุตรที่โรงพยาบาลทั้งหมด 400 คน เป็นคนลาวถึง 300 คน และฝากครรภ์จำนวน 80 คน เป็นคนลาว 40 คน อย่างไรก็ตาม คนลาวที่เข้ารับการรักษาส่วนใหญ่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง โดยผู้ป่วยนอกสามารถเก็บค่ารักษาได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ป่วยใน ถ้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 2-3 วัน จะเก็บค่ารักษาพยาบาลได้เต็มตามจำนวน หากพักนานกว่านี้จะมีปัญหาในเรื่องเก็บค่ารักษาพยาบาล แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสถานภาพทางการเงินของโรงพยาบาลมากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการรักษาโรคที่ไม่รุนแรง หากเป็นโรคที่รุนแรงจะส่งไปยัง รพ.เชียงรายฯ ซึ่งในละปี รพร.เชียงของ มียอดการเก็บค่ารักษาพยาบาลไม่ได้ประมาณ 1 แสนบาท ถือว่าไม่เป็นภาระมากนัก
“โรงพยาบาลไม่มีแพทย์เฉพาะทางแม้แต่สาขาเดียว โดยเฉพาะสูตินรีแพทย์นั้น ไม่มีแพทย์ขอรับทุนเลย ขณะที่โรงพยาบาลต้องให้บริการทั้งคนไทยและคนลาว โดยเฉพาะคนลาวที่ข้ามแดนมาคลอดเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมา จึงให้บริการได้เฉพาะกรณีคลอดเองโดยธรรมชาติเท่านั้น ไม่สามารถผ่าคลอดได้ เนื่องจากไม่มีสูตินรีแพทย์ แต่หากผู้ป่วยจำเป็นต้องผ่าคลอด จะส่งต่อไปยัง รพ.เชียงรายฯ ที่อยู่ห่างไปกว่า 100 กิโลเมตร แต่คาดว่า ภายใน 4-5 ปี รพร.เชียงของ น่าจะมีแพทย์เฉพาะทางครบทั้ง 4 สาขา โดยจะพิจารณาเพิ่มเติมแพทย์เฉพาะทางในสาขาศัลยกรรมกระดูก และวิสัญญีแพทย์ด้วย เพื่อให้บริการประชาชนได้ครอบคลุมมากขึ้นและรองรับ อ.เชียงของ ที่จะเป็นหนึ่งในพื้นที่เส้นทางเศรษฐกิจใหม่อินโดจีน” ผอ.รพร.เชียงของ กล่าว
นพ.สมปรารถน์ หมั่นจิตต์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ (รพร.เชียงของ) จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลมีแพทย์ทั่วไปจำนวน 7 คน แต่ไม่มีแพทย์เฉพาะทางประจำแม้แต่สาขาเดียว ทั้งที่ควรมีแพทย์เฉพาะทางประจำอย่างน้อย 4 สาขา ได้แก่ ศัลยกรรม อายุรกรรม สูตินรีเวชกรรม และกุมารเวชกรรม สาขาละ 2 คน แม้ที่ผ่านมา โรงพยาบาลได้ให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่อเฉพาะทางครบทั้ง 4 สาขา เป็นประจำทุกปีก็ตาม เนื่องจากมีแพทย์จากนอกพื้นที่ จ.เชียงราย ขอรับทุนกุมารแพทย์จำนวน 2 คน แต่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไม่กลับมาใช้ทุนที่โรงพยาบาล ที่สำคัญคือ ไม่มีแพทย์ขอรับทุนสูตินรีเวชฯ ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากการที่ศาลพิพากษาให้แพทย์มีความผิดรับโทษจำคุกกรณี ฟ้องร้องแพทย์โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งใน จ.นครศรีธรรมราช ผ่าคลอดโดยไม่มีวิสัญญีแพทย์ ดังนั้น การคัดเลือกแพทย์ขอรับทุนในปีต่อไป จะเน้นพิจารณาแพทย์ในพื้นที่ จ.เชียงราย และ จ.พะเยา เป็นหลัก เพราะเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้กลับมาทำงานในพื้นที่
นพ.สมปรารถน์ กล่าวอีกว่า รพร.เชียงของ อยู่ฝั่งตรงข้ามแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ทำให้มีคนลาวข้ามฝั่งมารักษาตัวจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคลอดบุตร ซึ่งพบว่าจำนวนผู้คลอดบุตรที่โรงพยาบาลทั้งหมด 400 คน เป็นคนลาวถึง 300 คน และฝากครรภ์จำนวน 80 คน เป็นคนลาว 40 คน อย่างไรก็ตาม คนลาวที่เข้ารับการรักษาส่วนใหญ่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง โดยผู้ป่วยนอกสามารถเก็บค่ารักษาได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ป่วยใน ถ้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 2-3 วัน จะเก็บค่ารักษาพยาบาลได้เต็มตามจำนวน หากพักนานกว่านี้จะมีปัญหาในเรื่องเก็บค่ารักษาพยาบาล แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสถานภาพทางการเงินของโรงพยาบาลมากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการรักษาโรคที่ไม่รุนแรง หากเป็นโรคที่รุนแรงจะส่งไปยัง รพ.เชียงรายฯ ซึ่งในละปี รพร.เชียงของ มียอดการเก็บค่ารักษาพยาบาลไม่ได้ประมาณ 1 แสนบาท ถือว่าไม่เป็นภาระมากนัก
“โรงพยาบาลไม่มีแพทย์เฉพาะทางแม้แต่สาขาเดียว โดยเฉพาะสูตินรีแพทย์นั้น ไม่มีแพทย์ขอรับทุนเลย ขณะที่โรงพยาบาลต้องให้บริการทั้งคนไทยและคนลาว โดยเฉพาะคนลาวที่ข้ามแดนมาคลอดเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมา จึงให้บริการได้เฉพาะกรณีคลอดเองโดยธรรมชาติเท่านั้น ไม่สามารถผ่าคลอดได้ เนื่องจากไม่มีสูตินรีแพทย์ แต่หากผู้ป่วยจำเป็นต้องผ่าคลอด จะส่งต่อไปยัง รพ.เชียงรายฯ ที่อยู่ห่างไปกว่า 100 กิโลเมตร แต่คาดว่า ภายใน 4-5 ปี รพร.เชียงของ น่าจะมีแพทย์เฉพาะทางครบทั้ง 4 สาขา โดยจะพิจารณาเพิ่มเติมแพทย์เฉพาะทางในสาขาศัลยกรรมกระดูก และวิสัญญีแพทย์ด้วย เพื่อให้บริการประชาชนได้ครอบคลุมมากขึ้นและรองรับ อ.เชียงของ ที่จะเป็นหนึ่งในพื้นที่เส้นทางเศรษฐกิจใหม่อินโดจีน” ผอ.รพร.เชียงของ กล่าว