คุณแม่คุณแม่หลายคน เป็นกังวลว่าลูกน้อยของตัวเองจะเข้าข่ายเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ และอีกจำนวนไม่น้อยที่กำลังเจ็บปวดกับการเห็นลูกน้อยอยู่ในภาวะนี้ ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ “รักษาให้หายได้” ด้วยวิธีการไม่ยาก
หลายปีที่ผ่านมา อุบัติการณ์เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นในเด็ก อยู่ที่ประมาณ 5-6 เปอร์เซ็นต์ของเด็กวัยเรียน ตามการอธิบายของ พญ.ปราณี เมืองน้อย กุมารแพทย์/จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเด็ก เราสามารถรู้และจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ดังนี้
1.สังเกตอาการ
ซนผิดปกติ หรือเป็นเด็กไฮเปอร์ แต่ส่วนมากแล้ว เด็กอายุ 5-6 ขวบ จะมีความซนตามวัย เป็นธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นชอบสำรวจ แต่พออายุ 7 ขวบ ส่วนใหญ่เด็กจะเริ่มควบคุมคุมตัวเองได้ ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ ให้สังเกตความรุนแรง ความบ่อย ความถี่ ในการที่ลูกกระทำพฤติกรรมนั้นๆ หรือผลกระทบที่เกิดกับเขา เช่น ผลกระทบที่เกิดกับการเรียน หรือการเข้าสังคม แล้วดูต่อไปว่า เขาเป็นในหลายๆ สถานที่หรือเป็นอยู่สถานที่เดียว ถ้าเป็นที่เดียว ส่วนใหญ่จะไม่ใช่สมาธิสั้น แต่ถ้าเป็นสองที่ขึ้นไปและเป็นจนสร้างความรบกวนคนอื่นมาก เรียนไม่ได้เดินไปเดินมา ก็ให้ระวังไว้ว่าอาจจะเป็นโรคสมาธิสั้น
2.ผลกระทบ
พอเข้าเจ็ดขวบ เด็กทั่วไปต้องใช้สมาธิในการเรียนเยอะขึ้น ถ้าลูกไม่สามารถคงสมาธิไว้ได้นานๆ ส่วนใหญ่จะโดนครูตำหนิเป็นอันดับแรก แล้วจากนั้นก็จะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ เขาจะเริ่มรู้สึกว่า เขาไม่ได้รับการยอมรับ ก็อาจจะทำให้ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองของเขามีน้อย แล้วเขาอาจจะเผลอทำให้เขาคิดต่อไปอีกว่าเขาไม่ได้เป็นเด็กฉลาด ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ เพราะเด็กสมาธิสั้นหลายคนก็เป็นเด็กฉลาด
3.วิธีรักษา
อาการสมาธิสั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับสมอง รักษาแล้วอาจไม่หายขาด เพียงแต่ว่าเมื่อโตขึ้น ถ้าควบคุมตัวเองได้เยอะขึ้น หรือมีวุฒิภาวะทางอารมณ์เยอะขึ้น ก็ทำตัวเหมือนคนปกติ จนบางคนนึกว่าเขาหายแล้ว แต่จริงๆ ไม่ได้หาย
วิธีรักษา จะต้องทานยาควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม ถ้าอายุยังน้อย แล้วเริ่มมีคนทัก หรือเริ่มมีปัญหากับเพื่อนๆ การยับยั้งตัวเองไม่ค่อยดี คุณพ่อคุณแม่อาจจะเลือกวิธีปรับพฤติกรรมก่อนเพื่อให้เขามีการควบคุมตัวเอง ยับยั้งตัวเองได้ดีขึ้น การปรับพฤติกรรมก็คล้ายกับการฝึกระเบียบวินัยลูกตั้งแต่เล็กๆ
ส่วนการทานยา อาจจะมีผลข้างเคียงบ้างเล็กน้อย เช่น เบื่ออาหาร แต่เทียบไม่ได้เลยกับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น เพราะจะทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น เรียนรู้ได้มากขึ้น และมีความภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น ส่วนผลข้างเคียงนั้น ทานยาสักอาทิตย์สองอาทิตย์ เด็กจะเริ่มคุ้นเคยยา และไม่ก่อปัญหาอะไร
ล้อมกรอบ
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ http:// www.manager.co.th/vdo
หลายปีที่ผ่านมา อุบัติการณ์เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นในเด็ก อยู่ที่ประมาณ 5-6 เปอร์เซ็นต์ของเด็กวัยเรียน ตามการอธิบายของ พญ.ปราณี เมืองน้อย กุมารแพทย์/จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเด็ก เราสามารถรู้และจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ดังนี้
1.สังเกตอาการ
ซนผิดปกติ หรือเป็นเด็กไฮเปอร์ แต่ส่วนมากแล้ว เด็กอายุ 5-6 ขวบ จะมีความซนตามวัย เป็นธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นชอบสำรวจ แต่พออายุ 7 ขวบ ส่วนใหญ่เด็กจะเริ่มควบคุมคุมตัวเองได้ ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ ให้สังเกตความรุนแรง ความบ่อย ความถี่ ในการที่ลูกกระทำพฤติกรรมนั้นๆ หรือผลกระทบที่เกิดกับเขา เช่น ผลกระทบที่เกิดกับการเรียน หรือการเข้าสังคม แล้วดูต่อไปว่า เขาเป็นในหลายๆ สถานที่หรือเป็นอยู่สถานที่เดียว ถ้าเป็นที่เดียว ส่วนใหญ่จะไม่ใช่สมาธิสั้น แต่ถ้าเป็นสองที่ขึ้นไปและเป็นจนสร้างความรบกวนคนอื่นมาก เรียนไม่ได้เดินไปเดินมา ก็ให้ระวังไว้ว่าอาจจะเป็นโรคสมาธิสั้น
2.ผลกระทบ
พอเข้าเจ็ดขวบ เด็กทั่วไปต้องใช้สมาธิในการเรียนเยอะขึ้น ถ้าลูกไม่สามารถคงสมาธิไว้ได้นานๆ ส่วนใหญ่จะโดนครูตำหนิเป็นอันดับแรก แล้วจากนั้นก็จะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ เขาจะเริ่มรู้สึกว่า เขาไม่ได้รับการยอมรับ ก็อาจจะทำให้ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองของเขามีน้อย แล้วเขาอาจจะเผลอทำให้เขาคิดต่อไปอีกว่าเขาไม่ได้เป็นเด็กฉลาด ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ เพราะเด็กสมาธิสั้นหลายคนก็เป็นเด็กฉลาด
3.วิธีรักษา
อาการสมาธิสั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับสมอง รักษาแล้วอาจไม่หายขาด เพียงแต่ว่าเมื่อโตขึ้น ถ้าควบคุมตัวเองได้เยอะขึ้น หรือมีวุฒิภาวะทางอารมณ์เยอะขึ้น ก็ทำตัวเหมือนคนปกติ จนบางคนนึกว่าเขาหายแล้ว แต่จริงๆ ไม่ได้หาย
วิธีรักษา จะต้องทานยาควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม ถ้าอายุยังน้อย แล้วเริ่มมีคนทัก หรือเริ่มมีปัญหากับเพื่อนๆ การยับยั้งตัวเองไม่ค่อยดี คุณพ่อคุณแม่อาจจะเลือกวิธีปรับพฤติกรรมก่อนเพื่อให้เขามีการควบคุมตัวเอง ยับยั้งตัวเองได้ดีขึ้น การปรับพฤติกรรมก็คล้ายกับการฝึกระเบียบวินัยลูกตั้งแต่เล็กๆ
ส่วนการทานยา อาจจะมีผลข้างเคียงบ้างเล็กน้อย เช่น เบื่ออาหาร แต่เทียบไม่ได้เลยกับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น เพราะจะทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น เรียนรู้ได้มากขึ้น และมีความภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น ส่วนผลข้างเคียงนั้น ทานยาสักอาทิตย์สองอาทิตย์ เด็กจะเริ่มคุ้นเคยยา และไม่ก่อปัญหาอะไร
ล้อมกรอบ
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ http:// www.manager.co.th/vdo