“หมอประดิษฐ” เล็งตั้งกองทุนดูแลคนแต่ละกลุ่มใน สปสช.ทั้งกองทุนผู้สูงวัย กองทุนดูแลโรคพิเศษ กองทุนดูแลกลุ่มด้อยโอกาส ฯลฯ เผย กำลังศึกษารูปแบบเพื่อวางแนวทางและงบประมาณ หวังเพิ่มการเข้าถึงการรักษาของประชาชนทุกกลุ่ม
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ขณะนี้ สปสช.กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษากลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ เพื่อขยายสิทธิบูรณาการ 3 กองทุนสุขภาพ อย่างการดูแลผู้สูงอายุนั้นก็กำลังศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสม โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.การดูแลในเรื่องการแพทย์และสังคม และ 2.การวางระบบในเรื่องของการบริหารการเงิน ซึ่งล่าสุด มีการเสนอแนวคิดตั้งกองทุนผู้สูงวัย โดยอาจมีการเก็บเบี้ยผู้สูงวัย แต่ก็ยังไม่ได้ชี้ขาดว่าจะเป็นรูปแบบนี้หรือไม่
“การเดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ก็เพื่อให้ทราบว่า ประเทศญี่ปุ่นมีการบริหารจัดการผู้สูงวัยอย่างไรบ้าง เนื่องจากมีผู้สูงวัยจำนวนมาก สำหรับประเทศไทยต้องพิจารณาหลายเรื่อง หลักๆ คือ จะทำอย่างไรในการดูแลคนกลุ่มนี้ไม่ให้ต้องไปอยู่แต่ในบ้านพักคนชรา แต่ต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในบ้านของตัวเอง ซึ่งอาจต้องมีคนไปดูแลที่บ้าน เรื่องนี้กำลังหารูปแบบอยู่” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ตนได้หารือกับเลขาธิการ สปสช.ถึงความเป็นไปได้ในการดูแลคนแต่ละกลุ่ม โดยตั้งเป็นกองทุนใน สปสช.เอง เช่น กองทุนดูแลโรคพิเศษ อย่างเด็กสมาธิสั้น หรือกองทุนดูแลกลุ่มด้อยโอกาส กองทุนดูแลผู้หญิง กองทุนดูแลผู้สูงวัย เป็นต้น ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ยังไม่ได้ข้อสรุป อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบว่า จะออกมาลักษณะใด หากได้รูปแบบชัดเจนจึงจะมาวางแนวทาง และจากนั้นจึงพิจารณา ว่า แต่ละกองทุนจะใช้งบประมาณเท่าไร และแหล่งที่มาของเงินจะมาจากแหล่งใด ควรเรียกเก็บเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มหรือไม่ หรือจะเป็นลักษณะใด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลและคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ขณะนี้ สปสช.กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษากลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ เพื่อขยายสิทธิบูรณาการ 3 กองทุนสุขภาพ อย่างการดูแลผู้สูงอายุนั้นก็กำลังศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสม โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.การดูแลในเรื่องการแพทย์และสังคม และ 2.การวางระบบในเรื่องของการบริหารการเงิน ซึ่งล่าสุด มีการเสนอแนวคิดตั้งกองทุนผู้สูงวัย โดยอาจมีการเก็บเบี้ยผู้สูงวัย แต่ก็ยังไม่ได้ชี้ขาดว่าจะเป็นรูปแบบนี้หรือไม่
“การเดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ก็เพื่อให้ทราบว่า ประเทศญี่ปุ่นมีการบริหารจัดการผู้สูงวัยอย่างไรบ้าง เนื่องจากมีผู้สูงวัยจำนวนมาก สำหรับประเทศไทยต้องพิจารณาหลายเรื่อง หลักๆ คือ จะทำอย่างไรในการดูแลคนกลุ่มนี้ไม่ให้ต้องไปอยู่แต่ในบ้านพักคนชรา แต่ต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในบ้านของตัวเอง ซึ่งอาจต้องมีคนไปดูแลที่บ้าน เรื่องนี้กำลังหารูปแบบอยู่” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ตนได้หารือกับเลขาธิการ สปสช.ถึงความเป็นไปได้ในการดูแลคนแต่ละกลุ่ม โดยตั้งเป็นกองทุนใน สปสช.เอง เช่น กองทุนดูแลโรคพิเศษ อย่างเด็กสมาธิสั้น หรือกองทุนดูแลกลุ่มด้อยโอกาส กองทุนดูแลผู้หญิง กองทุนดูแลผู้สูงวัย เป็นต้น ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ยังไม่ได้ข้อสรุป อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบว่า จะออกมาลักษณะใด หากได้รูปแบบชัดเจนจึงจะมาวางแนวทาง และจากนั้นจึงพิจารณา ว่า แต่ละกองทุนจะใช้งบประมาณเท่าไร และแหล่งที่มาของเงินจะมาจากแหล่งใด ควรเรียกเก็บเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มหรือไม่ หรือจะเป็นลักษณะใด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลและคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง