อย.เข้ม! ปรับระดับควบคุม “ยาหิดเหา” ที่มี Lindane เป็นสารประกอบหลักเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามผลิต ครอบครอง นำเข้า เหตุสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และปรับลดการควบคุม Citronella oil น้ำมันหอมระเหยสกัดจากตะไคร้หอมเป็นวัตถุอันตายชนิดที่ 1 ที่เพียงแค่จดแจ้งการใช้ไม่ต้องจดทะเบียนการใช้ตามเกณฑ์เดิม หวังส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีการนำไปใช้ในสินค้ามากขึ้น
วันนี้ (24 ม.ค.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจง เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ว่า ได้ชี้แจงทิศทางนโยบาย แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย และชี้แจงสถานการณ์ กฎระเบียบใหม่ๆ เกี่ยวกับวัตถุอันตรายของ อย.รวมถึงชี้แจงขั้นตอนแนวทางการพิจารณาอนุญาตคำขอเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ สสจ.รับทราบ เนื่องจากภายหลังที่ อย.อนุญาตให้ สสจ.สามารถจดแจ้งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน หรือทางสาธารณสุข เพื่อประโยชน์แก่การทำความสะอาดพื้น ฝา ผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ในการทำให้เกิดการยึดหรือติดกันของพื้นผิววัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคหรือกำจัดกลิ่นในสระว่ายน้ำ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขที่นำมาใช้ประโยชน์แก่การระงับ ป้องกัน ควบคุม ไล่ กำจัดแมลง และสัตว์อื่น
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ อย.ได้ปรับระดับการควบคุมวัตถุอันตรายที่อยู่ในการรับผิดชอบของ อย.ด้วย ซึ่งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.2555 โดยจะปรับระดับการควบคุม Citronella oil หรือ น้ำมันหอมระเหยสะกัดจากตะไคร้หอม ซึ่งเดิมอยู่ในเกณฑ์วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ซึ่งจะต้องมีการขึ้นทะเบียนด้วย แต่เมื่อปรับเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 จะมีแค่ขั้นตอนการจดแจ้งเท่านั้น ซึ่งจะถือเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพราะตะไคร้หอมมักได้รับความนิยมในการนำไปผลิตเป็นน้ำยา รวมทั้งสเปรย์กันยุง
นพ.บุญชัย กล่าวต่อว่า พร้อมกันนี้ ทาง อย.ยังได้ปรับระดับการควบคุมผลิตภัณฑ์กำจัดหิดเหาที่มีสาร Lindane เป็นสารประกอบหลัก จากเดิมเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 เป็นชนิดที่ 4 ซึ่งจะห้ามผู้ใดมีไว้ครอบครอง ผลิต หรือ นำเข้า ยกเว้นกรณีผลิตภัณฑ์ยารักษาหิดและเหาที่มี Lindane เป็นสารสำคัญที่คงค้างและได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 โดยทาง อย.จะแจ้งวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่คงค้าง หรือวางจำหน่ายในท้องตลาดให้ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องทราบต่อไป ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องมีการปรับระดับการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ Lindane นั้น เนื่องจากพบว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมยาวนาน ทั้งยังพบว่า มีความสัมพันธ์กับการก่อให้เกิดโรคมะเร็งด้วย
วันนี้ (24 ม.ค.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจง เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ว่า ได้ชี้แจงทิศทางนโยบาย แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย และชี้แจงสถานการณ์ กฎระเบียบใหม่ๆ เกี่ยวกับวัตถุอันตรายของ อย.รวมถึงชี้แจงขั้นตอนแนวทางการพิจารณาอนุญาตคำขอเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ สสจ.รับทราบ เนื่องจากภายหลังที่ อย.อนุญาตให้ สสจ.สามารถจดแจ้งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน หรือทางสาธารณสุข เพื่อประโยชน์แก่การทำความสะอาดพื้น ฝา ผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ในการทำให้เกิดการยึดหรือติดกันของพื้นผิววัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคหรือกำจัดกลิ่นในสระว่ายน้ำ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขที่นำมาใช้ประโยชน์แก่การระงับ ป้องกัน ควบคุม ไล่ กำจัดแมลง และสัตว์อื่น
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ อย.ได้ปรับระดับการควบคุมวัตถุอันตรายที่อยู่ในการรับผิดชอบของ อย.ด้วย ซึ่งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.2555 โดยจะปรับระดับการควบคุม Citronella oil หรือ น้ำมันหอมระเหยสะกัดจากตะไคร้หอม ซึ่งเดิมอยู่ในเกณฑ์วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ซึ่งจะต้องมีการขึ้นทะเบียนด้วย แต่เมื่อปรับเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 จะมีแค่ขั้นตอนการจดแจ้งเท่านั้น ซึ่งจะถือเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพราะตะไคร้หอมมักได้รับความนิยมในการนำไปผลิตเป็นน้ำยา รวมทั้งสเปรย์กันยุง
นพ.บุญชัย กล่าวต่อว่า พร้อมกันนี้ ทาง อย.ยังได้ปรับระดับการควบคุมผลิตภัณฑ์กำจัดหิดเหาที่มีสาร Lindane เป็นสารประกอบหลัก จากเดิมเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 เป็นชนิดที่ 4 ซึ่งจะห้ามผู้ใดมีไว้ครอบครอง ผลิต หรือ นำเข้า ยกเว้นกรณีผลิตภัณฑ์ยารักษาหิดและเหาที่มี Lindane เป็นสารสำคัญที่คงค้างและได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 โดยทาง อย.จะแจ้งวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่คงค้าง หรือวางจำหน่ายในท้องตลาดให้ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องทราบต่อไป ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องมีการปรับระดับการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ Lindane นั้น เนื่องจากพบว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมยาวนาน ทั้งยังพบว่า มีความสัมพันธ์กับการก่อให้เกิดโรคมะเร็งด้วย