12 จังหวัดยังจมน้ำ ปลัด สธ.เตือนผู้ประสบภัยระวังไข้หวัด ปอดบวม น้ำกัดเท้า โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ แนะรักษาสุขภาพ และความอบอุ่นร่างกาย ด้าน รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เกณฑ์หน่วยทหารช่วยเสริมคันกั้นน้ำ 50 ซม. พร้อมตั้งเครื่องสูบน้ำ 7 เครื่อง ป้องกันน้ำท่วมโรงพยาบาล ยันยังผลิตยาสมุนไพรได้เต็มที่ พร้อมแจกยาสมุนไพรช่วยผู้ประสบภัย 2,000 ชุด
วันนี้ (24 ก.ย.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ว่า ปัจจุบันมีน้ำท่วม 12 จังหวัด สถานบริการในสังกัด สธ.ทุกระดับยังเปิดให้บริการตามปกติทุกแห่ง โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ถูกน้ำท่วม 6 แห่ง เนื่องจากตั้งอยู่ในที่ลุ่ม แต่เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ ไม่ได้รับความเสียหายและให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มีเหตุการณ์น้ำท่วม สธ.ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการประชาชนไปแล้ว 117 ครั้ง พบผู้ป่วย 26,000 กว่าราย และให้การดูแลผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานว่ามีจำนวน 38 รายที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า ในสภาพที่น้ำท่วมนานหลายวัน นอกจากโรคน้ำกัดเท้าแล้ว ประชาชนยังมีโอกาสป่วยสูง โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด และโรคปอดบวม เนื่องจากสภาพอากาศชื้น กลุ่มที่มีความเสี่ยงป่วยง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ เด็กเล็กที่มักชอบลงเล่นน้ำท่วม และผู้สูงอายุ เนื่องจากทั้ง 2 กลุ่มมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ขอให้รักษาความอบอุ่นร่างกาย รักษาสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ สวมเสื้อผ้าให้อบอุ่น ไม่ตากแดด ตากฝนโดยไม่จำเป็น และหากเปียกฝนหรือเดินลุยน้ำ ขอให้รีบอาบน้ำ เปลี่ยนใส่เสื้อผ้าที่แห้ง และหากมีไข้สูงเกิน 2 วัน ไอ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ น้ำมูกเปลี่ยนสีจากเหลืองใสเป็นเขียวข้น ให้รีบพบแพทย์
ด้าน นพ.เอนก พึ่งผล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นโรงพยาบาลที่ใกล้แม่น้ำปราจีนที่สุด ห่างเพียง 30 เมตร คั่นด้วยถนนสายหลักจังหวัด ขณะนี้น้ำยังไม่ท่วม แต่มีความเสี่ยงสูง ได้วางมาตรการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมโรงพยาบาลอย่างเต็มที่ โดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร มาทำคันกระสอบทรายกั้นน้ำสูง 50 เซนติเมตรตลอดแนวหน้ารั้วโรงพยาบาล และติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 7 เครื่องสามารถสูบน้ำออกได้ทันที ส่วนเวชภัณฑ์ยา เครื่องมือแพทย์ได้ย้ายขึ้นชั้น 2 พร้อมให้บริการประชาชนตลอดเวลา เตรียมแผนอพยพผู้ป่วยวิกฤต จัดเวรยามติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
นพ.เอนก กล่าวด้วยว่า ในเรื่องการผลิตยาสมุนไพรทุกขนานของโรงพยาบาล ขณะนี้ยังสามารถผลิตได้เต็มที่ โดยแหล่งวัตถุดิบของโรงพยาบาลที่หมู่บ้านดงบัง อ.เมือง น้ำไม่ท่วม และยังใช้วัตถุดิบจากต่างจังหวัด โดยได้สำรองวัตถุดิบผลิตยาได้ 2 เดือน และ ยังได้ผลิตยาชุดสมุนไพรช่วยน้ำท่วม 12 รายการ บรรจุรวมในกล่องพลาสติกป้องกันเปียกน้ำ ได้แก่ ขี้ผึ้งรักษาโรคน้ำกัดเท้า คาลาไมน์พญายอรักษาผื่นคันผิวหนัง ยาหม่องพญายอ รักษาแมงสัตว์กัดต่อย น้ำยาสมานแผลทำจากเปลือกมังคุด โลชั่นตะไคร้หอมกันยุงกัด ฟ้าทะลายโจรแคปซูล แก้ไข้ ร้อนในเจ็บคอ ยาน้ำแก้ไอมะขามป้อม ผงเกลือแร่รักษาอาการท้องเสีย สบู่สมุนไพรฟอกตัว ขณะนี้ผลิตแจก 2,000 ชุด แจกผู้ประสบภัยไว้ใช้ที่บ้าน
วันนี้ (24 ก.ย.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ว่า ปัจจุบันมีน้ำท่วม 12 จังหวัด สถานบริการในสังกัด สธ.ทุกระดับยังเปิดให้บริการตามปกติทุกแห่ง โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ถูกน้ำท่วม 6 แห่ง เนื่องจากตั้งอยู่ในที่ลุ่ม แต่เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ ไม่ได้รับความเสียหายและให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มีเหตุการณ์น้ำท่วม สธ.ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการประชาชนไปแล้ว 117 ครั้ง พบผู้ป่วย 26,000 กว่าราย และให้การดูแลผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานว่ามีจำนวน 38 รายที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า ในสภาพที่น้ำท่วมนานหลายวัน นอกจากโรคน้ำกัดเท้าแล้ว ประชาชนยังมีโอกาสป่วยสูง โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด และโรคปอดบวม เนื่องจากสภาพอากาศชื้น กลุ่มที่มีความเสี่ยงป่วยง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ เด็กเล็กที่มักชอบลงเล่นน้ำท่วม และผู้สูงอายุ เนื่องจากทั้ง 2 กลุ่มมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ขอให้รักษาความอบอุ่นร่างกาย รักษาสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ สวมเสื้อผ้าให้อบอุ่น ไม่ตากแดด ตากฝนโดยไม่จำเป็น และหากเปียกฝนหรือเดินลุยน้ำ ขอให้รีบอาบน้ำ เปลี่ยนใส่เสื้อผ้าที่แห้ง และหากมีไข้สูงเกิน 2 วัน ไอ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ น้ำมูกเปลี่ยนสีจากเหลืองใสเป็นเขียวข้น ให้รีบพบแพทย์
ด้าน นพ.เอนก พึ่งผล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นโรงพยาบาลที่ใกล้แม่น้ำปราจีนที่สุด ห่างเพียง 30 เมตร คั่นด้วยถนนสายหลักจังหวัด ขณะนี้น้ำยังไม่ท่วม แต่มีความเสี่ยงสูง ได้วางมาตรการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมโรงพยาบาลอย่างเต็มที่ โดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร มาทำคันกระสอบทรายกั้นน้ำสูง 50 เซนติเมตรตลอดแนวหน้ารั้วโรงพยาบาล และติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 7 เครื่องสามารถสูบน้ำออกได้ทันที ส่วนเวชภัณฑ์ยา เครื่องมือแพทย์ได้ย้ายขึ้นชั้น 2 พร้อมให้บริการประชาชนตลอดเวลา เตรียมแผนอพยพผู้ป่วยวิกฤต จัดเวรยามติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
นพ.เอนก กล่าวด้วยว่า ในเรื่องการผลิตยาสมุนไพรทุกขนานของโรงพยาบาล ขณะนี้ยังสามารถผลิตได้เต็มที่ โดยแหล่งวัตถุดิบของโรงพยาบาลที่หมู่บ้านดงบัง อ.เมือง น้ำไม่ท่วม และยังใช้วัตถุดิบจากต่างจังหวัด โดยได้สำรองวัตถุดิบผลิตยาได้ 2 เดือน และ ยังได้ผลิตยาชุดสมุนไพรช่วยน้ำท่วม 12 รายการ บรรจุรวมในกล่องพลาสติกป้องกันเปียกน้ำ ได้แก่ ขี้ผึ้งรักษาโรคน้ำกัดเท้า คาลาไมน์พญายอรักษาผื่นคันผิวหนัง ยาหม่องพญายอ รักษาแมงสัตว์กัดต่อย น้ำยาสมานแผลทำจากเปลือกมังคุด โลชั่นตะไคร้หอมกันยุงกัด ฟ้าทะลายโจรแคปซูล แก้ไข้ ร้อนในเจ็บคอ ยาน้ำแก้ไอมะขามป้อม ผงเกลือแร่รักษาอาการท้องเสีย สบู่สมุนไพรฟอกตัว ขณะนี้ผลิตแจก 2,000 ชุด แจกผู้ประสบภัยไว้ใช้ที่บ้าน