เป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ไปเรียบร้อยแล้วสำหรับเรื่องเกม ข่าวหน้าหนึ่งปรากฏให้เห็นเสมอๆ ถึงผลพวงอันเลวร้ายของการที่เด็กหมกมุ่นกับการเล่นเกม จนนำไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ทางออก “พ่อแม่ควรเล่นเป็นเพื่อนลูก”
พ.ญ.ปราณี เมืองน้อย กุมารแพทย์ / จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเด็ก อธิบายว่า เกมคล้ายยาเสพติด และเวลาวินิจฉัย ก็ใช้การวินิจฉัยคล้ายๆ กับการติดยาเสพติด ผลที่เกิดกับสมองก็เหมือนติดยา เพราะเกมจะเข้าไปกระตุ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในสมองให้ทำงาน และมันก็จะเร้าสมองเรื่อยๆ ตลอดเวลา จนกระทั่งติด และเมื่อติดแล้ว สมองก็จะเริ่มส่งสัญญาณความต้องการ ยังไงก็ต้องเล่น อยากได้สิ่งเร้าเข้าไป เพื่อก่อให้เกิดความสนุก
“อันที่จริง เกมก็ไม่ได้มีแต่ด้านลบทั้งหมด มันมีสองด้านเสมอ เพราะสมัยนี้ เทคโนโลยีก้าวหน้า เด็กก็ต้องตามเทคโนโลยีเหมือนกัน มิฉะนั้น อาจจะทำให้คุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่อง และยังมีเกมอีกมากมายที่สร้างสรรค์และเสริมทักษะเด็ก แต่ว่าจะต้องมีขอบเขตที่เราจะต้องจำกัด เพราะฉะนั้น ถ้าให้แนะนำก็คือ ไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยเกม แต่เปิดโอกาสให้ลูกมีประสบการณ์บ้าง” พ.ญ.ปราณี กล่าว
ก่อนจะไปวิธีการแก้ไข คำถามเบื้องต้นที่ควรทำความเข้าใจก่อนก็คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราเริ่มติดเกมแล้ว?
“เด็กจะเพิ่มเวลาเล่นมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนเราหมกมุ่นอยู่กับอะไร เราก็จะใช้เวลากับสิ่งนั้นมากเป็นพิเศษและมากขึ้นเรื่อยๆ จำนวนชั่วโมงที่เล่นมากขึ้น และจิตใจก็จะคิดถึงแต่สิ่งนั้น นั่งก็คิดถึง ไปเรียนก็คิดถึง พอเลิกเรียนก็จะวิ่งไปเล่นเกม แล้วก็จะเริ่มมีอาการตามมา อาจจะมีการเริ่มโกหก ที่เจอเยอะคือขโมยเงินเพื่อเอาไปเล่นเกม หรือเล่นจนไม่เป็นอันกินอันนอน กระวนกระวาย ทุรนทุราย เริ่มทะเลาะกับคุณพ่อคุณแม่”
การป้องกันที่น่าจะเป็นทางออกซึ่งดีที่สุด พ.ญ.ปราณี บอกว่า พ่อแม่ควรทำตัวเป็นเพื่อนกับลูกก่อน คุณพ่อคุณแม่ต้องมีประสบการณ์บ้างว่าเกมนั้นๆ สนุกอย่างไร บางทีต้องหัดเล่นเกมบ้าง สมมติว่า แม่รู้ว่าเล่นเกมสนุกอย่างไร หรือถ้าลูกเราเล่นเก่ง เราก็ให้ลูกสอนเล่น จะได้เป็นการทำให้เรากับลูกมีจุดสนใจร่วมกัน แล้วพอมีจุดสนใจร่วมกัน เราก็จะเข้าใจลูก และสามารถดึงลูกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้มากขึ้น
“ส่วนใหญ่ที่เห็นก็คือพ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะมองด้านเดียวและทำอย่างเดียวคือดึงลูกออกจากเกม แล้วพอมองอย่างนั้นก็มักจะใช้วิธีการห้ามและดุด่า เด็กก็จะรู้สึกว่าตัวเองโดนบังคับ จะไม่เชื่อฟัง ไม่ยอมทำตาม ถ้าเด็กเล็ก อาจจะห้ามได้ แต่ถ้าเด็กโตหรือเป็นวัยรุ่นแล้ว จะห้ามยากมาก และยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ”
ฉะนั้น ถามว่าจะดึงลูกออกมาจากเกมอย่างไร อันดับแรกก็คือ ลองเล่นเกมก่อน หรือถ้าเราเล่นแล้วไม่ถนัด ให้ลูกสอน หลังจากนั้นก็คุยกับลูกเรื่องจำกัดเวลาเล่นเกม แล้วก็เสริมสร้างให้ลูกมีความรับผิดชอบ คืออย่าให้ชีวิตของเด็กมีแต่เรื่องเกม
“เราจะต้องให้เด็กมีหลายอย่างที่สมดุล เช่น ให้เขามีกิจกรรมอย่างอื่น ออกไปเล่นนอกบ้านบ้าง อ่านการ์ตูน หรือไปเที่ยว แล้วก็เน้นความรับผิดชอบหลักของเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่ เด็กที่ยังเรียนหนังสือ ก็ต้องบอกให้เด็กรู้ว่า ความรับผิดชอบของเขาคือเรื่องเรียน และเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องการดูแลตัวเอง และเรื่องการช่วยเหลืองานในบ้าน ในครอบครัว” พ.ญ.ปราณี กล่าวทิ้งท้าย
ล้อมกรอบ
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี
พ.ญ.ปราณี เมืองน้อย กุมารแพทย์ / จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเด็ก อธิบายว่า เกมคล้ายยาเสพติด และเวลาวินิจฉัย ก็ใช้การวินิจฉัยคล้ายๆ กับการติดยาเสพติด ผลที่เกิดกับสมองก็เหมือนติดยา เพราะเกมจะเข้าไปกระตุ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในสมองให้ทำงาน และมันก็จะเร้าสมองเรื่อยๆ ตลอดเวลา จนกระทั่งติด และเมื่อติดแล้ว สมองก็จะเริ่มส่งสัญญาณความต้องการ ยังไงก็ต้องเล่น อยากได้สิ่งเร้าเข้าไป เพื่อก่อให้เกิดความสนุก
“อันที่จริง เกมก็ไม่ได้มีแต่ด้านลบทั้งหมด มันมีสองด้านเสมอ เพราะสมัยนี้ เทคโนโลยีก้าวหน้า เด็กก็ต้องตามเทคโนโลยีเหมือนกัน มิฉะนั้น อาจจะทำให้คุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่อง และยังมีเกมอีกมากมายที่สร้างสรรค์และเสริมทักษะเด็ก แต่ว่าจะต้องมีขอบเขตที่เราจะต้องจำกัด เพราะฉะนั้น ถ้าให้แนะนำก็คือ ไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยเกม แต่เปิดโอกาสให้ลูกมีประสบการณ์บ้าง” พ.ญ.ปราณี กล่าว
ก่อนจะไปวิธีการแก้ไข คำถามเบื้องต้นที่ควรทำความเข้าใจก่อนก็คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราเริ่มติดเกมแล้ว?
“เด็กจะเพิ่มเวลาเล่นมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนเราหมกมุ่นอยู่กับอะไร เราก็จะใช้เวลากับสิ่งนั้นมากเป็นพิเศษและมากขึ้นเรื่อยๆ จำนวนชั่วโมงที่เล่นมากขึ้น และจิตใจก็จะคิดถึงแต่สิ่งนั้น นั่งก็คิดถึง ไปเรียนก็คิดถึง พอเลิกเรียนก็จะวิ่งไปเล่นเกม แล้วก็จะเริ่มมีอาการตามมา อาจจะมีการเริ่มโกหก ที่เจอเยอะคือขโมยเงินเพื่อเอาไปเล่นเกม หรือเล่นจนไม่เป็นอันกินอันนอน กระวนกระวาย ทุรนทุราย เริ่มทะเลาะกับคุณพ่อคุณแม่”
การป้องกันที่น่าจะเป็นทางออกซึ่งดีที่สุด พ.ญ.ปราณี บอกว่า พ่อแม่ควรทำตัวเป็นเพื่อนกับลูกก่อน คุณพ่อคุณแม่ต้องมีประสบการณ์บ้างว่าเกมนั้นๆ สนุกอย่างไร บางทีต้องหัดเล่นเกมบ้าง สมมติว่า แม่รู้ว่าเล่นเกมสนุกอย่างไร หรือถ้าลูกเราเล่นเก่ง เราก็ให้ลูกสอนเล่น จะได้เป็นการทำให้เรากับลูกมีจุดสนใจร่วมกัน แล้วพอมีจุดสนใจร่วมกัน เราก็จะเข้าใจลูก และสามารถดึงลูกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้มากขึ้น
“ส่วนใหญ่ที่เห็นก็คือพ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะมองด้านเดียวและทำอย่างเดียวคือดึงลูกออกจากเกม แล้วพอมองอย่างนั้นก็มักจะใช้วิธีการห้ามและดุด่า เด็กก็จะรู้สึกว่าตัวเองโดนบังคับ จะไม่เชื่อฟัง ไม่ยอมทำตาม ถ้าเด็กเล็ก อาจจะห้ามได้ แต่ถ้าเด็กโตหรือเป็นวัยรุ่นแล้ว จะห้ามยากมาก และยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ”
ฉะนั้น ถามว่าจะดึงลูกออกมาจากเกมอย่างไร อันดับแรกก็คือ ลองเล่นเกมก่อน หรือถ้าเราเล่นแล้วไม่ถนัด ให้ลูกสอน หลังจากนั้นก็คุยกับลูกเรื่องจำกัดเวลาเล่นเกม แล้วก็เสริมสร้างให้ลูกมีความรับผิดชอบ คืออย่าให้ชีวิตของเด็กมีแต่เรื่องเกม
“เราจะต้องให้เด็กมีหลายอย่างที่สมดุล เช่น ให้เขามีกิจกรรมอย่างอื่น ออกไปเล่นนอกบ้านบ้าง อ่านการ์ตูน หรือไปเที่ยว แล้วก็เน้นความรับผิดชอบหลักของเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่ เด็กที่ยังเรียนหนังสือ ก็ต้องบอกให้เด็กรู้ว่า ความรับผิดชอบของเขาคือเรื่องเรียน และเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องการดูแลตัวเอง และเรื่องการช่วยเหลืองานในบ้าน ในครอบครัว” พ.ญ.ปราณี กล่าวทิ้งท้าย
ล้อมกรอบ
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี