ศิริราชยกระดับการรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่แบบครบวงจร ตั้งแต่ตรวจคัดกรอง การผ่าตัดรักษา จนถึงการดูแลหลังผ่าตัด พร้อมเปิดรักษาฟรีสำหรับผู้ยากจนและด้อยโอกาส 200 ราย เฉลิมพระเกียรติ “ในหลวง-พระราชินี-พระบรมฯ”
วันนี้ (22 ม.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น.ที่ตึกอำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวระหว่างเป็นประธานงานแถลงข่าว “ศิริราชเปิดโครงการศัลยกรรมแก้ไขโรคปากแหว่ง เพดานโหว่” ว่า โรคปากแหว่งเพดานโหว่เป็นความผิดปกติของใบหน้าและช่องปากตั้งแต่กำเนิด โดยเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือโครโมโซม ที่ผิดปกติ หรือปัจจัยภายนอกที่กระทบคุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เช่น การขาดสารอาหาร หรือวิตามินประเภทโฟลิคแอซิด การได้รับพิษของยา หรือสารเคมีบางอย่าง อาทิ ได้รับวิตามินเอเกินขนาด ซึ่งส่วนมากอยู่ในกลุ่มยารักษาสิว รวมถึงการติดเชื้อจากไวรัส หรือแบคทีเรียประเภทหัด และอาจเกิดจากการฉายรังสีเอกซเรย์ ซึ่งปัจจัยภายนอกเหล่านี้สามารถป้องกันหรือระมัดระวังได้
“อย่างไรก็ตาม หากเด็กในครรภ์มารดาเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ เมื่อคลอดแล้วควรรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ มิฉะนั้น เมื่อเด็กโตขึ้นนอกจากจะทำให้มีปัญหาในเรื่องของรูปลักษณ์แล้ว ยังทำให้มีปัญหาด้านการสื่อสารด้วย ทั้งเรื่องของการพูดและการได้ยิน แต่หากเข้ารับการรักษาไวจะช่วยให้เด็กกลับมามีชีวิตที่เป็นปกติได้” ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวอีกว่า ด้วยเหตุนี้ศิริราชจึงขอมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมไทยให้มีคุณภาพและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาส โดยเปิดโครงการศัลยกรรมแก้ไขโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาส โดยตั้งเป้าไว้ที่จำนวน 200 ราย นอกจากนี้ ยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติ 85 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ 60 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ด้วย
ศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์ หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ภาควิชาศัลยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2496 โดยทำการผ่าตัดเย็บริมฝีปาก ซ่อมแซมเพดาน รวมถึงทำเพดานเทียมในรายที่มีรอยแหว่งขนาดกว้าง จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดไปแล้วมากกว่า 4,000 ราย ซึ่งขณะนี้ได้มีการพัฒนาการดูแลรักษาแบบบูรณาการครบวงจร ตั้งแต่การคัดกรอง การประเมิน การรักษาพยาบาล และการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งและรองหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ กล่าวว่า โรคปากแหว่งเพดานโหว่เป็นโรคที่พบในประเทศไทย ประมาณ 1,000 รายต่อปี หรืออุบัติการณ์ 1 ต่อ 700 ราย โดยผู้ป่วยปากแหว่งจะมีรอยแยกของริมฝีปากบนไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้า อาจเป็นด้านเดียว หรือสองด้าน ส่วนเพดานโหว่ รอยแยกจะเกิดขึ้นตั้งแต่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง ซึ่งตำแหน่งและความรุนแรงจะแตกต่างกันตามเชื้อชาติ อย่างไรก็ตาม หากมีบุตรหลานเป็นโรคนี้อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะจะเกิดปัญหาตามมาทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่การดูดกลืนนม อาหาร ปัญหาการได้ยิน การสบฟัน ปัญหาด้านภาษาและการพูด รวมถึงด้านอารมณ์และจิตใจ
ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการรักษาจะดำเนินการแบบครบวงจร ตั้งแต่การประเมินสภาพร่างกาย กุมารแพทย์จะตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด ทั้งการวินิจฉัยและการรักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน จากนั้นจึงทำการผ่าตัดเย็บตกแต่งปากแหว่ง เพดานโหว่ รวมถึงมีทันตแพทย์ทำการจัดฟัน เพื่อให้โครงสร้างใบหน้าและฟันกลับมาเป็นปกติ และทำให้การพูดบางเสียงชัดเจนขึ้น หลังจากนั้น จะประเมินพัฒนาการด้านภาษาและการพูด รวมถึงวัดอัตราเสียงขึ้นจมูก เพื่อดูว่ามีเสียงขึ้นจมูกหรือมีลมรั่วออกทางจมูกหรือไม่ โดยแพทย์ด้านหู คอ จมูก และนักแก้ไขการได้ยิน จะตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด และตรวจติดตามผลประจำ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบ หรือหูหนวกถาวร ส่วนนักแก้ไขการพูด จะช่วยแก้ไขการพูดที่ผิดปกติ ทั้งการพูดไม่ชัดและเสียงขึ้นจมูก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน การผ่าตัดแก้ไขตั้งแต่เล็กๆ ร่วมกับการให้คำปรึกษาอื่นๆ จะช่วยให้ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลง เช่น พัฒนาการทางภาษาและการพูดใกล้เคียงหรือเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป เป็นต้น
ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับเกณฑ์การรับผู้ป่วยเข้าผ่าตัดแก้ไขโรคปากแหว่ง เพดานโหว่นั้น จะต้องผ่านการคัดกรองวินิจฉัยจากแพทย์ศิริราชที่หน่วยตรวจโรคศัลยศาสตร์ ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น 3 และได้รับการประเมินจากนักสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลศิริราช ว่า เป็นบุคคลที่มีรายได้น้อย เหมาะสมที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยที่ผู้ป่วยจะต้องพักรักษาในหอผู้ป่วยสามัญเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการได้ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด หรือมีสิทธิ์ใดๆ ก็ตาม สามารถสอบถาม หรือสมัครได้ที่ โทร.0-2419-8002 นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จะเปิดกองทุน “แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้า (ปากแหว่ง เพดานโหว่)” ให้คนไทยได้มีส่วนร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ และร่วมสร้างกุศลโดยทั่วกัน ผู้สนใจสามารถบริจาคได้ทุกวันที่ ศิริราชมูลนิธิ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 รพ.ศิริราช โทร.0-2419-7658-60
ด้าน น.ส.เกตสระรินทร์ ขุนสันเทียะ อายุ 30 ปี ชาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ตนทราบว่า ด.ช.ธรรมวรรธ งานพานิชกิจ หรือ น้องนะโม บุตรชายวัย 4 เดือนของตน มีภาวะปากแหว่งตั้งแต่อายุครรภ์ 5 เดือน ซึ่งหมอแจ้งว่า สาเหตุที่บุตรชายเป็นโรคปากแหว่งเพราะอาจขาดวิตามินบางชนิด ยอมรับว่าเสียใจมาก แต่เมื่อพอทราบข่าวว่าคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดโครงการผ่าตัดรักษาฟรี ก็รู้สึกดีใจมาก จึงเดินทางมาร่วมโครงการ ทั้งนี้ น้องนะโม จะผ่าตัดรักษาในวันที่ 8 ก.พ.นี้ โดยคุณหมอจะตกแต่งริมฝีปาก รูปทรงเหงือก และปีกจมูก ให้น้องนะโม โดยเมื่อ น้องนะโม อายุ 3-4 ขวบ ก็จะมีการตรวจดูว่ามีปัญหาในส่วนใดอีกบ้าง
วันนี้ (22 ม.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น.ที่ตึกอำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวระหว่างเป็นประธานงานแถลงข่าว “ศิริราชเปิดโครงการศัลยกรรมแก้ไขโรคปากแหว่ง เพดานโหว่” ว่า โรคปากแหว่งเพดานโหว่เป็นความผิดปกติของใบหน้าและช่องปากตั้งแต่กำเนิด โดยเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือโครโมโซม ที่ผิดปกติ หรือปัจจัยภายนอกที่กระทบคุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เช่น การขาดสารอาหาร หรือวิตามินประเภทโฟลิคแอซิด การได้รับพิษของยา หรือสารเคมีบางอย่าง อาทิ ได้รับวิตามินเอเกินขนาด ซึ่งส่วนมากอยู่ในกลุ่มยารักษาสิว รวมถึงการติดเชื้อจากไวรัส หรือแบคทีเรียประเภทหัด และอาจเกิดจากการฉายรังสีเอกซเรย์ ซึ่งปัจจัยภายนอกเหล่านี้สามารถป้องกันหรือระมัดระวังได้
“อย่างไรก็ตาม หากเด็กในครรภ์มารดาเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ เมื่อคลอดแล้วควรรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ มิฉะนั้น เมื่อเด็กโตขึ้นนอกจากจะทำให้มีปัญหาในเรื่องของรูปลักษณ์แล้ว ยังทำให้มีปัญหาด้านการสื่อสารด้วย ทั้งเรื่องของการพูดและการได้ยิน แต่หากเข้ารับการรักษาไวจะช่วยให้เด็กกลับมามีชีวิตที่เป็นปกติได้” ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวอีกว่า ด้วยเหตุนี้ศิริราชจึงขอมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมไทยให้มีคุณภาพและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาส โดยเปิดโครงการศัลยกรรมแก้ไขโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาส โดยตั้งเป้าไว้ที่จำนวน 200 ราย นอกจากนี้ ยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติ 85 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ 60 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ด้วย
ศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์ หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ภาควิชาศัลยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2496 โดยทำการผ่าตัดเย็บริมฝีปาก ซ่อมแซมเพดาน รวมถึงทำเพดานเทียมในรายที่มีรอยแหว่งขนาดกว้าง จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดไปแล้วมากกว่า 4,000 ราย ซึ่งขณะนี้ได้มีการพัฒนาการดูแลรักษาแบบบูรณาการครบวงจร ตั้งแต่การคัดกรอง การประเมิน การรักษาพยาบาล และการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งและรองหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ กล่าวว่า โรคปากแหว่งเพดานโหว่เป็นโรคที่พบในประเทศไทย ประมาณ 1,000 รายต่อปี หรืออุบัติการณ์ 1 ต่อ 700 ราย โดยผู้ป่วยปากแหว่งจะมีรอยแยกของริมฝีปากบนไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้า อาจเป็นด้านเดียว หรือสองด้าน ส่วนเพดานโหว่ รอยแยกจะเกิดขึ้นตั้งแต่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง ซึ่งตำแหน่งและความรุนแรงจะแตกต่างกันตามเชื้อชาติ อย่างไรก็ตาม หากมีบุตรหลานเป็นโรคนี้อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะจะเกิดปัญหาตามมาทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่การดูดกลืนนม อาหาร ปัญหาการได้ยิน การสบฟัน ปัญหาด้านภาษาและการพูด รวมถึงด้านอารมณ์และจิตใจ
ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการรักษาจะดำเนินการแบบครบวงจร ตั้งแต่การประเมินสภาพร่างกาย กุมารแพทย์จะตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด ทั้งการวินิจฉัยและการรักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน จากนั้นจึงทำการผ่าตัดเย็บตกแต่งปากแหว่ง เพดานโหว่ รวมถึงมีทันตแพทย์ทำการจัดฟัน เพื่อให้โครงสร้างใบหน้าและฟันกลับมาเป็นปกติ และทำให้การพูดบางเสียงชัดเจนขึ้น หลังจากนั้น จะประเมินพัฒนาการด้านภาษาและการพูด รวมถึงวัดอัตราเสียงขึ้นจมูก เพื่อดูว่ามีเสียงขึ้นจมูกหรือมีลมรั่วออกทางจมูกหรือไม่ โดยแพทย์ด้านหู คอ จมูก และนักแก้ไขการได้ยิน จะตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด และตรวจติดตามผลประจำ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบ หรือหูหนวกถาวร ส่วนนักแก้ไขการพูด จะช่วยแก้ไขการพูดที่ผิดปกติ ทั้งการพูดไม่ชัดและเสียงขึ้นจมูก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน การผ่าตัดแก้ไขตั้งแต่เล็กๆ ร่วมกับการให้คำปรึกษาอื่นๆ จะช่วยให้ปัญหาต่างๆ ลดน้อยลง เช่น พัฒนาการทางภาษาและการพูดใกล้เคียงหรือเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป เป็นต้น
ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับเกณฑ์การรับผู้ป่วยเข้าผ่าตัดแก้ไขโรคปากแหว่ง เพดานโหว่นั้น จะต้องผ่านการคัดกรองวินิจฉัยจากแพทย์ศิริราชที่หน่วยตรวจโรคศัลยศาสตร์ ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น 3 และได้รับการประเมินจากนักสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลศิริราช ว่า เป็นบุคคลที่มีรายได้น้อย เหมาะสมที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยที่ผู้ป่วยจะต้องพักรักษาในหอผู้ป่วยสามัญเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการได้ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด หรือมีสิทธิ์ใดๆ ก็ตาม สามารถสอบถาม หรือสมัครได้ที่ โทร.0-2419-8002 นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จะเปิดกองทุน “แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้า (ปากแหว่ง เพดานโหว่)” ให้คนไทยได้มีส่วนร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ และร่วมสร้างกุศลโดยทั่วกัน ผู้สนใจสามารถบริจาคได้ทุกวันที่ ศิริราชมูลนิธิ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 รพ.ศิริราช โทร.0-2419-7658-60
ด้าน น.ส.เกตสระรินทร์ ขุนสันเทียะ อายุ 30 ปี ชาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ตนทราบว่า ด.ช.ธรรมวรรธ งานพานิชกิจ หรือ น้องนะโม บุตรชายวัย 4 เดือนของตน มีภาวะปากแหว่งตั้งแต่อายุครรภ์ 5 เดือน ซึ่งหมอแจ้งว่า สาเหตุที่บุตรชายเป็นโรคปากแหว่งเพราะอาจขาดวิตามินบางชนิด ยอมรับว่าเสียใจมาก แต่เมื่อพอทราบข่าวว่าคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดโครงการผ่าตัดรักษาฟรี ก็รู้สึกดีใจมาก จึงเดินทางมาร่วมโครงการ ทั้งนี้ น้องนะโม จะผ่าตัดรักษาในวันที่ 8 ก.พ.นี้ โดยคุณหมอจะตกแต่งริมฝีปาก รูปทรงเหงือก และปีกจมูก ให้น้องนะโม โดยเมื่อ น้องนะโม อายุ 3-4 ขวบ ก็จะมีการตรวจดูว่ามีปัญหาในส่วนใดอีกบ้าง