โดย...ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช
ภาควิชาศัลยศาสตร์
การให้กำเนิดลูกน้อยที่มีอวัยวะครบ 32 เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนปรารถนา แต่ถ้ามีความผิดปกติ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ ซึ่งในทางการแพทย์ปัจจุบันสามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเด็กทั่วไปได้
โรคปากแหว่ง เพดานโหว่ เป็นความผิดปกติของใบหน้าและช่องปากแต่กำเนิด สังเกตจากผู้ป่วยที่ปากแหว่ง จะมีรอยแยกของริมฝีปากบนไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้า อาจเป็นด้านเดียวหรือสองด้าน ส่วนเพดานโหว่ รอยแยกจะเกิดขึ้นตั้งแต่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง ซึ่งตำแหน่งและความรุนแรงจะแตกต่างกันตามเชื้อชาติ
สำหรับประเทศไทย พบเด็กทารกเกิดใหม่ที่เป็นโรคนี้ ประมาณ 1,000 รายต่อปี หรืออุบัติการณ์ 1 ต่อ 700 ราย โดยเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือโครโมโซมที่ผิดปกติ หรือปัจจัยภายนอกที่กระทบคุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เช่น การขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด สืบเนื่องจากพิษของยาหรือสารเคมีบางอย่าง รวมถึงการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด และอาจเกิดจากการฉายรังสีเอกซเรย์ ฯลฯ
เด็กที่มีความพิการปากแหว่งเพดานโหว่นั้น จะมีปัญหาตั้งแต่เรื่องของการเลี้ยงดูหลังคลอด เนื่องจากเด็กไม่สามารถดูดนมได้อย่างเด็กทั่วไป มีปัญหาในระบบของร่างกาย เช่น ความพิการทางหัวใจและระบบไหลเวียน ระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย รวมทั้งระบบประสาทและสมอง
การรักษา แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อวางแผนการรักษาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ตั้งแต่
กุมารแพทย์ ให้การวินิจฉัยและการรักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน
ทันตแพทย์ ทำการจัดฟันเพื่อให้โครงสร้างใบหน้าและฟันกลับมาเป็นปกติ และทำให้การพูดบางเสียงชัดเจนขึ้น
ศัลยแพทย์ ทำการผ่าตัดแก้ไข
แพทย์ด้านหู คอ จมูก และนักแก้ไขการได้ยิน ตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด และตรวจติดตามผลประจำ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบหรือหูหนวกถาวร
นักแก้ไขการพูด ช่วยแก้ไขการพูดที่ผิดปกติ ทั้งการพูดไม่ชัดและเสียงขึ้นจมูก
แต่หากมีปัญหาเรื่องซีด หรือการติดเชื้ออื่นๆ ในร่างกาย เช่น ไข้หวัด ปอดอักเสบ หูอักเสบ ก็จะรักษาให้หายเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่ส่งผลต่อการผ่าตัดและการดมยาสลบ สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัดริมฝีปากแหว่งนั้น จะทำเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน น้ำหนักเด็กมากกว่า 5 กิโลกรัม โดยซ่อมแซมริมฝีปาก สร้างริมฝีปาก และแก้ไขจมูกให้กลับคืนสู่สภาพที่ใกล้เคียงกับปกติให้มากที่สุด และหากมีเพดานโหว่ร่วมด้วย แพทย์จะทำการผ่าตัดปิดเพดานและลิ้นไก่ประมาณ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกและใบหน้ารวมถึงการพูดของเด็กใกล้เคียงเด็กปกติ
หากท่านมีบุตรหลานเป็นโรคนี้ อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะจะเกิดปัญหาตามมาทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่การดูดกลืนนม อาหาร ปัญหาการได้ยิน การสบฟัน ปัญหาด้านภาษาและการพูด รวมถึงด้านอารมณ์และจิตใจนะครับ
----------------
**ศิริราชผ่าตัดโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ฟรี 200 ราย
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เปิดโครงการศัลยกรรมแก้ไขโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ จำนวน 200 ราย เฉลิมช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาส พระเกียรติ 85 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ 60 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย สอบถามหรือสมัครได้ที่ โทร.0 2419 8002 โอกาสพิเศษนี้ยังเปิดกองทุน“แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้า (ปากแหว่ง เพดานโหว่)” ให้คนไทยได้มีส่วนร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ และร่วมสร้างกุศลโดยทั่วกัน ผู้สนใจสามารถบริจาคได้ทุกวันที่ ศิริราชมูลนิธิ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 รพ.ศิริราช โทร. 0 2419 7658 - 60
ภาควิชาศัลยศาสตร์
การให้กำเนิดลูกน้อยที่มีอวัยวะครบ 32 เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนปรารถนา แต่ถ้ามีความผิดปกติ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ ซึ่งในทางการแพทย์ปัจจุบันสามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเด็กทั่วไปได้
โรคปากแหว่ง เพดานโหว่ เป็นความผิดปกติของใบหน้าและช่องปากแต่กำเนิด สังเกตจากผู้ป่วยที่ปากแหว่ง จะมีรอยแยกของริมฝีปากบนไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้า อาจเป็นด้านเดียวหรือสองด้าน ส่วนเพดานโหว่ รอยแยกจะเกิดขึ้นตั้งแต่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง ซึ่งตำแหน่งและความรุนแรงจะแตกต่างกันตามเชื้อชาติ
สำหรับประเทศไทย พบเด็กทารกเกิดใหม่ที่เป็นโรคนี้ ประมาณ 1,000 รายต่อปี หรืออุบัติการณ์ 1 ต่อ 700 ราย โดยเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือโครโมโซมที่ผิดปกติ หรือปัจจัยภายนอกที่กระทบคุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เช่น การขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด สืบเนื่องจากพิษของยาหรือสารเคมีบางอย่าง รวมถึงการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด และอาจเกิดจากการฉายรังสีเอกซเรย์ ฯลฯ
เด็กที่มีความพิการปากแหว่งเพดานโหว่นั้น จะมีปัญหาตั้งแต่เรื่องของการเลี้ยงดูหลังคลอด เนื่องจากเด็กไม่สามารถดูดนมได้อย่างเด็กทั่วไป มีปัญหาในระบบของร่างกาย เช่น ความพิการทางหัวใจและระบบไหลเวียน ระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย รวมทั้งระบบประสาทและสมอง
การรักษา แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อวางแผนการรักษาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ตั้งแต่
กุมารแพทย์ ให้การวินิจฉัยและการรักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน
ทันตแพทย์ ทำการจัดฟันเพื่อให้โครงสร้างใบหน้าและฟันกลับมาเป็นปกติ และทำให้การพูดบางเสียงชัดเจนขึ้น
ศัลยแพทย์ ทำการผ่าตัดแก้ไข
แพทย์ด้านหู คอ จมูก และนักแก้ไขการได้ยิน ตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด และตรวจติดตามผลประจำ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบหรือหูหนวกถาวร
นักแก้ไขการพูด ช่วยแก้ไขการพูดที่ผิดปกติ ทั้งการพูดไม่ชัดและเสียงขึ้นจมูก
แต่หากมีปัญหาเรื่องซีด หรือการติดเชื้ออื่นๆ ในร่างกาย เช่น ไข้หวัด ปอดอักเสบ หูอักเสบ ก็จะรักษาให้หายเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่ส่งผลต่อการผ่าตัดและการดมยาสลบ สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัดริมฝีปากแหว่งนั้น จะทำเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน น้ำหนักเด็กมากกว่า 5 กิโลกรัม โดยซ่อมแซมริมฝีปาก สร้างริมฝีปาก และแก้ไขจมูกให้กลับคืนสู่สภาพที่ใกล้เคียงกับปกติให้มากที่สุด และหากมีเพดานโหว่ร่วมด้วย แพทย์จะทำการผ่าตัดปิดเพดานและลิ้นไก่ประมาณ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกและใบหน้ารวมถึงการพูดของเด็กใกล้เคียงเด็กปกติ
หากท่านมีบุตรหลานเป็นโรคนี้ อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะจะเกิดปัญหาตามมาทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่การดูดกลืนนม อาหาร ปัญหาการได้ยิน การสบฟัน ปัญหาด้านภาษาและการพูด รวมถึงด้านอารมณ์และจิตใจนะครับ
----------------
**ศิริราชผ่าตัดโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ฟรี 200 ราย
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เปิดโครงการศัลยกรรมแก้ไขโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ จำนวน 200 ราย เฉลิมช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาส พระเกียรติ 85 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ 60 พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย สอบถามหรือสมัครได้ที่ โทร.0 2419 8002 โอกาสพิเศษนี้ยังเปิดกองทุน“แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้า (ปากแหว่ง เพดานโหว่)” ให้คนไทยได้มีส่วนร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ และร่วมสร้างกุศลโดยทั่วกัน ผู้สนใจสามารถบริจาคได้ทุกวันที่ ศิริราชมูลนิธิ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 รพ.ศิริราช โทร. 0 2419 7658 - 60