ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมตัวแทนของเครือข่ายบริการสุขภาพจากทั่วประเทศ เพื่อบรรจุลูกจ้างชั่วคราวลงตำแหน่งข้าราชการ 7,547 อัตราในปี 2556 เผยการบรรจุต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมติ ครม.6 ข้อ และภายใน 3 ปีห้ามโยกย้าย ส่วนพนักงานราชการที่ทำงานตั้งแต่ปี 2551 ลงไปจะได้รับการพิจารณาบรรจุเป็นข้าราชการเช่นเดียวกันกับลูกจ้างชั่วคราว เร่งดำเนินการเสร็จสิ้นภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 นี้
ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมตัวแทนเครือข่ายบริการสุขภาพจากทั่วประเทศ 12 เครือข่าย เครือข่ายละ 5 คน รวม 60 คน และผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณสุขนิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ตัวแทนจากสาธารณสุขอำเภอ และตัวแทนจากโรงพยาบาลชุมชน เครือข่ายละ 1 คน เรื่องหลักเกณฑ์ในการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการตามตำแหน่งที่ได้มา 22,080 อัตรา จากจำนวนลูกจ้างชั่วคราวสายวิชาชีพที่มี 3 หมื่นคนเศษได้รับจัดสรรตำแหน่งข้าราชการมาเพียง 75 เปอร์เซ็นต์ อีก 25 เปอร์เซ็นต์จะไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ แต่จะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งระเบียบพนักงานกระทรวงสาธารณสุขขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
นายแพทย์ณรงค์ กล่าวว่า การบรรจุตำแหน่งที่ได้รับจัดสรรมาในปีแรกได้ 7,547 อัตรานั้น ได้ดำเนินการดังนี้ 1. จัดสรรตำแหน่งให้กับทุกเครือข่าย ตามจำนวนของลูกจ้างชั่วคราวที่ทำงานมาตั้งแต่ปี 2551 ลงไป จำนวน 18 สายงาน ที่ใช้วุฒิคัดเลือกบรรจุเข้ารับราชการได้ตามที่ ก.พ.กำหนด ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักรังสีการแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก แพทย์แผนไทย นักวิชาการสาธารณสุข (เฉพาะสถาบันสมทบ) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักกายอุปกรณ์ เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ เจ้าพนักงานเวชสถิติ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา นอกนั้นต้องเข้าสู่ระบบราชการโดยการสอบแข่งขันตามระเบียบ ก.พ. เช่น นักโภชนากร นักสังคมสงเคราะห์ โดยแต่ละเครือข่ายจะได้เท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนของลูกจ้างชั่วคราว 18 สายงานที่มีอยู่
2. กลไกการบริหารจัดการตำแหน่ง จะใช้คณะกรรมการบริหารสาธารณสุขระดับเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณสุขนิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ตัวแทนจากสาธารณสุขอำเภอ และตัวแทนจากโรงพยาบาลชุมชน เป็นคณะกรรมการร่วมกันพิจารณากำหนดแนวทางในการบริหารตำแหน่ง
3. ตำแหน่งที่แต่ละเครือข่ายได้ไป ให้ใช้หลักเกณฑ์การจัดสรรตามมติคณะรัฐมนตรี 6 ข้อ คือ (1. ต้องจัดสรรให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (2. โรงพยาบาลที่ขาดสภาพคล่องทุกระดับ (3. โรงพยาบาลในเขตทุรกันดาร (4. โรงพยาบาลชุมชนที่เปิดใหม่ (5. โรงพยาบาลทั่วไปที่มีภาระงานหนัก และ (6. หน่วยงานที่มีภารกิจพิเศษ เช่น การบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพเด็ก และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบต่างๆ รวมทั้งเรื่องยาเสพติดด้วย
นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า จะดำเนินการบรรจุให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 นี้ รวมทั้ง ได้ให้แต่ละเครือข่ายจัดทำแผนบริหารตำแหน่งในอีก 2 ปีข้างหน้า ควบคู่ไปกับแผนกำลังคนของเครือข่าย และแผนพัฒนาตามระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ หรือเซอร์วิส แพลน (service plan) สำหรับข้อกำหนดที่วางไว้คือ ผู้ที่ได้รับการบรรจุในตำแหน่งที่จัดสรรลงไปนั้น จะต้องไม่มีการโยกย้ายภายในระยะเวลา 3 ปี โดยให้ตรึงตำแหน่งไว้ในเครือข่าย สำหรับพนักงานราชการที่เคยเป็นลูกจ้างชั่วคราวตั้งแต่ปี 2551 ลงไป จะได้รับการพิจารณาบรรจุเป็นข้าราชการเช่นเดียวกับลูกจ้างชั่วคราว
ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมตัวแทนเครือข่ายบริการสุขภาพจากทั่วประเทศ 12 เครือข่าย เครือข่ายละ 5 คน รวม 60 คน และผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณสุขนิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ตัวแทนจากสาธารณสุขอำเภอ และตัวแทนจากโรงพยาบาลชุมชน เครือข่ายละ 1 คน เรื่องหลักเกณฑ์ในการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการตามตำแหน่งที่ได้มา 22,080 อัตรา จากจำนวนลูกจ้างชั่วคราวสายวิชาชีพที่มี 3 หมื่นคนเศษได้รับจัดสรรตำแหน่งข้าราชการมาเพียง 75 เปอร์เซ็นต์ อีก 25 เปอร์เซ็นต์จะไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ แต่จะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งระเบียบพนักงานกระทรวงสาธารณสุขขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
นายแพทย์ณรงค์ กล่าวว่า การบรรจุตำแหน่งที่ได้รับจัดสรรมาในปีแรกได้ 7,547 อัตรานั้น ได้ดำเนินการดังนี้ 1. จัดสรรตำแหน่งให้กับทุกเครือข่าย ตามจำนวนของลูกจ้างชั่วคราวที่ทำงานมาตั้งแต่ปี 2551 ลงไป จำนวน 18 สายงาน ที่ใช้วุฒิคัดเลือกบรรจุเข้ารับราชการได้ตามที่ ก.พ.กำหนด ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักรังสีการแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก แพทย์แผนไทย นักวิชาการสาธารณสุข (เฉพาะสถาบันสมทบ) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักกายอุปกรณ์ เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ เจ้าพนักงานเวชสถิติ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา นอกนั้นต้องเข้าสู่ระบบราชการโดยการสอบแข่งขันตามระเบียบ ก.พ. เช่น นักโภชนากร นักสังคมสงเคราะห์ โดยแต่ละเครือข่ายจะได้เท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนของลูกจ้างชั่วคราว 18 สายงานที่มีอยู่
2. กลไกการบริหารจัดการตำแหน่ง จะใช้คณะกรรมการบริหารสาธารณสุขระดับเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณสุขนิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ตัวแทนจากสาธารณสุขอำเภอ และตัวแทนจากโรงพยาบาลชุมชน เป็นคณะกรรมการร่วมกันพิจารณากำหนดแนวทางในการบริหารตำแหน่ง
3. ตำแหน่งที่แต่ละเครือข่ายได้ไป ให้ใช้หลักเกณฑ์การจัดสรรตามมติคณะรัฐมนตรี 6 ข้อ คือ (1. ต้องจัดสรรให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (2. โรงพยาบาลที่ขาดสภาพคล่องทุกระดับ (3. โรงพยาบาลในเขตทุรกันดาร (4. โรงพยาบาลชุมชนที่เปิดใหม่ (5. โรงพยาบาลทั่วไปที่มีภาระงานหนัก และ (6. หน่วยงานที่มีภารกิจพิเศษ เช่น การบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพเด็ก และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบต่างๆ รวมทั้งเรื่องยาเสพติดด้วย
นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า จะดำเนินการบรรจุให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 นี้ รวมทั้ง ได้ให้แต่ละเครือข่ายจัดทำแผนบริหารตำแหน่งในอีก 2 ปีข้างหน้า ควบคู่ไปกับแผนกำลังคนของเครือข่าย และแผนพัฒนาตามระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ หรือเซอร์วิส แพลน (service plan) สำหรับข้อกำหนดที่วางไว้คือ ผู้ที่ได้รับการบรรจุในตำแหน่งที่จัดสรรลงไปนั้น จะต้องไม่มีการโยกย้ายภายในระยะเวลา 3 ปี โดยให้ตรึงตำแหน่งไว้ในเครือข่าย สำหรับพนักงานราชการที่เคยเป็นลูกจ้างชั่วคราวตั้งแต่ปี 2551 ลงไป จะได้รับการพิจารณาบรรจุเป็นข้าราชการเช่นเดียวกับลูกจ้างชั่วคราว