ศธ.ปลื้มระดมเงินบริจาคช่วยครูใต้ได้ 25 ล้านบาท เกินเป้าที่คาด เตรียมขยายผลโครงการช่วยเหลือครูใต้ เตรียมรณรงค์โครงการ “บริจาคเดือนละ 1 บาทเพื่อครูใต้” ช่วยเหลือครูทุพพลภาพ และครอบครัวครูใต้ที่เสียชีวิตได้ต่อเนื่อง ขณะที่ ปลัด ศธ.เผย เล็งรัฐวิสาหกิจและบริษัทใหญ่ ร่วมลงขันบริจาคตั้งเป้าให้ได้ 200 ล้านบาท และตั้งมูลนิธิ บริหารงานระยะยาว
วันนี้ (17 ม.ค.) นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตามที่ ศธ.จัดทำโครงการช่วยเหลือครูใต้ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อระดมเงินในการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือครูชายแดนใต้ ที่ถูกทำร้ายจนทุพพลภาพและช่วยเหลือครอบครัวครูใต้ที่เสียชีวิตไปแล้ว 157 คน ซึ่งในวันครู วันที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมา ศธ.ได้จัดรายการ “ร้อยดวงใจ แด่ครูชายแดนใต้” ถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี หรือช่อง 9 เพื่อรับบริจาคเงินเข้ากองทุน ซึ่งมียอดเงินบริจาคผ่านรายการดังกล่าวได้ถึงจำนวน 25 ล้านบาท จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 20 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเปิดตัวที่ดีสำหรับโครงการช่วยเหลือครูใต้ อย่างไรก็ตาม ศธ.ตั้งเป้าต้องการระดมเงินให้ได้ 200 ล้านบาท เพราะฉะนั้น กลุ่มเป้าหมายต่อไปที่ ศธ.จะประสานขอความร่วมมือเพื่อบริจาค คือ กลุ่มบริษัทรัฐวิสากิจขนาดใหญ่ เช่น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมถึงบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ด้วย โดยเร็วๆ นี้ ศธ.จะหารือและทำหนังสือประสานไปยังรัฐวิสาหกิจ ที่พร้อมจะร่วมบริจาคเพื่อขอให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในบอร์ดเพราะหากเป็นการอนุมัติจากบอร์ดแล้วจะได้เงินบริจาคก้อนใหญ่กว่าการขอบริจาคตามปกติ ทั้งนี้ องค์กรเหล่านี้มักมีงบประมาณเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการกุศล หรือกิจกรรม CSR อยู่แล้วเบื้องต้น คาดว่าหากขอความร่วมมือ เช่น บ.ปตท.จำกัด (มหาชน) จะได้เงินไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท หรือสำนักงานสลากฯ ได้ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท
“มั่นใจว่า หากรวบรวมเงินบริจาคจากประชาชนทั่วไปและองค์กรใหญ่ขนาดนี้จะได้ยอดเงินบริจาคถึง 200 ล้านบาท นอกจากนั้น จะได้เงินบริจาคอีกส่วนหนึ่งจากโครงการวิ่ง-ปั่นจักรยานทางไกลเพื่อสันติภาพ แด่ครูชายแดนใต้ ซึ่งภายหลังสิ้นสุดโครงการก็จะนำเงินหลังหักค่าใช้จ่ายมารวมเข้ากองทุน ทั้งนี้ เงินมูลค่า 200 ล้านบาทนั้นวางแผนไว้ว่าจะนำเงินมอบให้กับครอบครัวครูใต้ที่เสียชีวิต จำนวน 157 รายๆ ละ 1 ล้านบาท รวมทั้ง 157 ล้านบาท ที่เหลืออีก 43 ล้านบาท จะนำมาช่วยเหลือครูใต้ที่ถูกทำร้ายจนพิการหรือทุพพลภาพ ต้องออกจากอาชีพ เลี้ยงตนเองด้วยเงินบำนาญเล็กน้อยซึ่งไม่เพียงพอ ขณะเดียวกันจะนำเงินที่เหลือส่งเสียทายาทของครูที่เสียชีวิตให้เรียนจนจบปริญญาตรี” นางพนิตา กล่าว
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า ศธ.จะทำโครงการช่วยเหลือครูใต้ ให้เป็นโครงการระยะยาวเพื่อให้ช่วยเหลือครูใต้และทายาทครูใต้ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้น ศธ.จะรณรงค์โครงการ “บริจาคเดือนละ 1 บาทเพื่อครูใต้” ซึ่งจะนำกล่องรับบริจาคไปวางไว้ที่สถานศึกษาทุกแห่ง ซึ่งปัจจุบันเรามีนักเรียนอนุบาล-มัธยมในสังกัด ศธ.จำนวน 12 ล้าน นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย 3 ล้านคน นักศึกษาอาชีวศึกษา 7 แสนคน ครูและบุคลากรทางการศึกษารวม 8 แสนคน ซึ่งยังไม่นับรวมโรงเรียนเอกชนในสังกัด 1.3 หมื่นโรง ซึ่งมีโรงเรียนขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก เพราะฉะนั้น มั่นใจว่าเงินรับบริจาคที่จะได้มาน่าจะได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ศธ.จะตั้งกล่องรับบริจาคตามสถานที่สาธารณะต่างๆ ด้วย เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ สนามบิน ฯลฯ
“ถ้าทุกคนบริจาคแค่เดือนละ 1 บาท จะได้เงินไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท แต่เราไม่หวังจะได้เงินบริจาคเพียงนักเรียนและครูอย่างเดียว หากแต่ต้องการปลูกฝังให้เด็กมีจิตสาธารณะ ช่วยเหลือคนอื่นที่เขาลำบากกว่าเรา ทั้งนี้ เงินที่ได้รายเดือนจำนวน 15 ล้านบาทนี้ วางแผนจะนำมาใช้เป็นทุนการศึกษาให้กับทายาทครูที่เสียชีวิต และจะมีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้นมาบริหารเงินกองทุนทั้งทุนประเดิม 200 ล้านบาท และเงินบริจาครายเดือนระยะยาว” นางพนิตา กล่าว
วันนี้ (17 ม.ค.) นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตามที่ ศธ.จัดทำโครงการช่วยเหลือครูใต้ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อระดมเงินในการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือครูชายแดนใต้ ที่ถูกทำร้ายจนทุพพลภาพและช่วยเหลือครอบครัวครูใต้ที่เสียชีวิตไปแล้ว 157 คน ซึ่งในวันครู วันที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมา ศธ.ได้จัดรายการ “ร้อยดวงใจ แด่ครูชายแดนใต้” ถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี หรือช่อง 9 เพื่อรับบริจาคเงินเข้ากองทุน ซึ่งมียอดเงินบริจาคผ่านรายการดังกล่าวได้ถึงจำนวน 25 ล้านบาท จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 20 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเปิดตัวที่ดีสำหรับโครงการช่วยเหลือครูใต้ อย่างไรก็ตาม ศธ.ตั้งเป้าต้องการระดมเงินให้ได้ 200 ล้านบาท เพราะฉะนั้น กลุ่มเป้าหมายต่อไปที่ ศธ.จะประสานขอความร่วมมือเพื่อบริจาค คือ กลุ่มบริษัทรัฐวิสากิจขนาดใหญ่ เช่น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมถึงบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ด้วย โดยเร็วๆ นี้ ศธ.จะหารือและทำหนังสือประสานไปยังรัฐวิสาหกิจ ที่พร้อมจะร่วมบริจาคเพื่อขอให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในบอร์ดเพราะหากเป็นการอนุมัติจากบอร์ดแล้วจะได้เงินบริจาคก้อนใหญ่กว่าการขอบริจาคตามปกติ ทั้งนี้ องค์กรเหล่านี้มักมีงบประมาณเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการกุศล หรือกิจกรรม CSR อยู่แล้วเบื้องต้น คาดว่าหากขอความร่วมมือ เช่น บ.ปตท.จำกัด (มหาชน) จะได้เงินไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท หรือสำนักงานสลากฯ ได้ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท
“มั่นใจว่า หากรวบรวมเงินบริจาคจากประชาชนทั่วไปและองค์กรใหญ่ขนาดนี้จะได้ยอดเงินบริจาคถึง 200 ล้านบาท นอกจากนั้น จะได้เงินบริจาคอีกส่วนหนึ่งจากโครงการวิ่ง-ปั่นจักรยานทางไกลเพื่อสันติภาพ แด่ครูชายแดนใต้ ซึ่งภายหลังสิ้นสุดโครงการก็จะนำเงินหลังหักค่าใช้จ่ายมารวมเข้ากองทุน ทั้งนี้ เงินมูลค่า 200 ล้านบาทนั้นวางแผนไว้ว่าจะนำเงินมอบให้กับครอบครัวครูใต้ที่เสียชีวิต จำนวน 157 รายๆ ละ 1 ล้านบาท รวมทั้ง 157 ล้านบาท ที่เหลืออีก 43 ล้านบาท จะนำมาช่วยเหลือครูใต้ที่ถูกทำร้ายจนพิการหรือทุพพลภาพ ต้องออกจากอาชีพ เลี้ยงตนเองด้วยเงินบำนาญเล็กน้อยซึ่งไม่เพียงพอ ขณะเดียวกันจะนำเงินที่เหลือส่งเสียทายาทของครูที่เสียชีวิตให้เรียนจนจบปริญญาตรี” นางพนิตา กล่าว
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า ศธ.จะทำโครงการช่วยเหลือครูใต้ ให้เป็นโครงการระยะยาวเพื่อให้ช่วยเหลือครูใต้และทายาทครูใต้ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้น ศธ.จะรณรงค์โครงการ “บริจาคเดือนละ 1 บาทเพื่อครูใต้” ซึ่งจะนำกล่องรับบริจาคไปวางไว้ที่สถานศึกษาทุกแห่ง ซึ่งปัจจุบันเรามีนักเรียนอนุบาล-มัธยมในสังกัด ศธ.จำนวน 12 ล้าน นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย 3 ล้านคน นักศึกษาอาชีวศึกษา 7 แสนคน ครูและบุคลากรทางการศึกษารวม 8 แสนคน ซึ่งยังไม่นับรวมโรงเรียนเอกชนในสังกัด 1.3 หมื่นโรง ซึ่งมีโรงเรียนขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก เพราะฉะนั้น มั่นใจว่าเงินรับบริจาคที่จะได้มาน่าจะได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ศธ.จะตั้งกล่องรับบริจาคตามสถานที่สาธารณะต่างๆ ด้วย เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ สนามบิน ฯลฯ
“ถ้าทุกคนบริจาคแค่เดือนละ 1 บาท จะได้เงินไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท แต่เราไม่หวังจะได้เงินบริจาคเพียงนักเรียนและครูอย่างเดียว หากแต่ต้องการปลูกฝังให้เด็กมีจิตสาธารณะ ช่วยเหลือคนอื่นที่เขาลำบากกว่าเรา ทั้งนี้ เงินที่ได้รายเดือนจำนวน 15 ล้านบาทนี้ วางแผนจะนำมาใช้เป็นทุนการศึกษาให้กับทายาทครูที่เสียชีวิต และจะมีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้นมาบริหารเงินกองทุนทั้งทุนประเดิม 200 ล้านบาท และเงินบริจาครายเดือนระยะยาว” นางพนิตา กล่าว