สภาที่ปรึกษาฯ เตือนรัฐบาล ควรนำร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียู ไปรับฟังความคิดเห็น ตามมาตรา 190 ก่อนเข้ารัฐสภา
รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุขและการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีจะเสนอร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอ ไทย กับสหภาพยุโรป ให้รัฐสภา พิจารณาวันอังคารที่ 22 ม.ค.นี้ ว่า รู้สึกกังวลต่อท่าทีของกระทรวงพาณิชย์ ที่ไม่เปิดเผยร่างกรอบเจรจาฯแม้จะผ่าน ครม.ไปตั้งแต่ 4 ธ.ค.55 และยังไม่เคยนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เกรงว่า กระทรวงพาณิชย์จะสร้างปมปัญหาทางการเมืองแก่รัฐบาลในอนาคต
“ทางสภาที่ปรึกษาฯ เข้าใจดีว่า รัฐบาลต้องการที่จะเริ่มเปิดเจรจาเอฟทีเอ กับ อียู อย่างเร่งด่วน แต่การเจรจาเอฟทีเอเป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ตามมาตรา 190 ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงการต่างประเทศ ต่างเห็นด้วยกับสภาที่ปรึกษาฯ ว่า รัฐบาลต้องมีการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) กรอบเจรจาฯ อย่างทั่วถึงก่อนเสนอให้รัฐสภา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สอดคล้องตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากที่ผ่านมา ร่างกรอบฯนี้ยังไม่เคยเปิดเผยต่อสาธารณะ หรือรับฟังความคิดเห็นเลย การจัดรับฟังความคิดเห็นในร่างกรอบฯ เพียง 1 ครั้งในส่วนกลาง ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก หรือเสียเวลา แต่ถือเป็นข้อมูลที่พึงแนบให้รัฐสภาได้พิจารณา ในฐานะที่ปรึกษาของรัฐบาลตามกฎหมายค่อนข้างกังวลกับท่าทีของกระทรวงพาณิชย์มาก” รศ.ดร.จิราพร กล่าว
รศ.ดร.จิราพร กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาฯเสนอให้รัฐบาลกำหนดให้ (ร่าง) กรอบการเจรจาฯ ระบุอย่างชัดเจนให้ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาต้องไม่เกินไปกว่าความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้าขององค์การการค้าโลก กฎหมายไทย หรือความตกลงใดๆ ที่ไทยเป็นภาคีอยู่ ทั้งนี้ เป็นไปตามยุทธศาสตร์แห่งชาติด้านยา พ.ศ.2555-2559 ซึ่งจะทำให้นโยบายลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นจริง
อย่างไรก็ตาม สภาที่ปรึกษาฯยินดีอย่างยิ่งที่ทางกระทรวงพาณิชย์ รับปากที่จะรอผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพกรณีศึกษาผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรีไทย-อียู ต่อการเข้าถึงยา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จะดำเนินการเสร็จสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางในการเจรจาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา และจะให้มีการศึกษาเปรียบเทียบผลดีผลเสียในภาพรวมทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ซึ่งสะท้อนสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งจะทำการศึกษาผลดีผลเสียด้านสวัสดิการของเกษตรกร แรงงาน และผู้มีรายได้น้อย เพราะที่ผ่านมาไม่มีความชัดเจนว่าผลประโยชน์จากการทำเอฟทีเอตกไปอยู่ที่ใด
รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุขและการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีจะเสนอร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอ ไทย กับสหภาพยุโรป ให้รัฐสภา พิจารณาวันอังคารที่ 22 ม.ค.นี้ ว่า รู้สึกกังวลต่อท่าทีของกระทรวงพาณิชย์ ที่ไม่เปิดเผยร่างกรอบเจรจาฯแม้จะผ่าน ครม.ไปตั้งแต่ 4 ธ.ค.55 และยังไม่เคยนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เกรงว่า กระทรวงพาณิชย์จะสร้างปมปัญหาทางการเมืองแก่รัฐบาลในอนาคต
“ทางสภาที่ปรึกษาฯ เข้าใจดีว่า รัฐบาลต้องการที่จะเริ่มเปิดเจรจาเอฟทีเอ กับ อียู อย่างเร่งด่วน แต่การเจรจาเอฟทีเอเป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ตามมาตรา 190 ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงการต่างประเทศ ต่างเห็นด้วยกับสภาที่ปรึกษาฯ ว่า รัฐบาลต้องมีการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) กรอบเจรจาฯ อย่างทั่วถึงก่อนเสนอให้รัฐสภา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สอดคล้องตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากที่ผ่านมา ร่างกรอบฯนี้ยังไม่เคยเปิดเผยต่อสาธารณะ หรือรับฟังความคิดเห็นเลย การจัดรับฟังความคิดเห็นในร่างกรอบฯ เพียง 1 ครั้งในส่วนกลาง ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก หรือเสียเวลา แต่ถือเป็นข้อมูลที่พึงแนบให้รัฐสภาได้พิจารณา ในฐานะที่ปรึกษาของรัฐบาลตามกฎหมายค่อนข้างกังวลกับท่าทีของกระทรวงพาณิชย์มาก” รศ.ดร.จิราพร กล่าว
รศ.ดร.จิราพร กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาฯเสนอให้รัฐบาลกำหนดให้ (ร่าง) กรอบการเจรจาฯ ระบุอย่างชัดเจนให้ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาต้องไม่เกินไปกว่าความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้าขององค์การการค้าโลก กฎหมายไทย หรือความตกลงใดๆ ที่ไทยเป็นภาคีอยู่ ทั้งนี้ เป็นไปตามยุทธศาสตร์แห่งชาติด้านยา พ.ศ.2555-2559 ซึ่งจะทำให้นโยบายลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นจริง
อย่างไรก็ตาม สภาที่ปรึกษาฯยินดีอย่างยิ่งที่ทางกระทรวงพาณิชย์ รับปากที่จะรอผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพกรณีศึกษาผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรีไทย-อียู ต่อการเข้าถึงยา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จะดำเนินการเสร็จสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางในการเจรจาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา และจะให้มีการศึกษาเปรียบเทียบผลดีผลเสียในภาพรวมทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ซึ่งสะท้อนสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งจะทำการศึกษาผลดีผลเสียด้านสวัสดิการของเกษตรกร แรงงาน และผู้มีรายได้น้อย เพราะที่ผ่านมาไม่มีความชัดเจนว่าผลประโยชน์จากการทำเอฟทีเอตกไปอยู่ที่ใด