อึ้ง! พบโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนมากถึง 271 โรค มาจากหมามากสุด 47 โรค สัตว์ฟันแทะ 44 โรค ด้าน “หมอประเสริฐ” เตือนเฝ้าระวังโรคโคโรนาไวรัส 2012 หลังตั้งข้อสงสัยติดเชื้อมาจากค้างคาว เหตุคล้ายโรคซาร์ส พร้อมจับตาโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำจากการเปิดประชาคมอาเซียน ทั้งไข้หวัดนก คอตีบ หัด โปลิโอ หัดเยอรมัน เสี่ยงระบาดอีก
วันนี้ (10 ม.ค.) ที่โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ และที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวปาฐกถาพิเศษ “โรคติดต่ออุบัติใหม่ : ความท้าทายใหม่บนโลกเก่า” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่ : ความท้าทายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ว่า ปัญหาที่ท้าทายงานด้านสาธารณสุขของประเทศไทยมีดังนี้ 1.ปัญหาโลกร้อน เนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปจะส่งผลต่อความไวต่อการรับเชื้อทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของมนุษย์อ่อนแอลง ขณะที่โรคใหม่ๆอุบัติขึ้นในลักษณะของการระบาด 2.ปัญหาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ซึ่งกว่าร้อยละ 70 เป็นโรคติดจากสัตว์สู่คน เนื่องจากคนและสัตว์มีปฏิสัมพันธ์กันทำให้โรคสามารถเป็นได้ทั้งโรคของคนและสัตว์ อย่างโรคฝีดาษเมื่อสามารถกวาดล้างได้แล้ว ก็มีโรคอุบัติใหม่คือฝีดาษวานร ซึ่งเป็นลักษณะของโรคติดจากสัตว์สู่คน และ 3.เชื้อจุลชีพก่อโรค ซึ่งเกิดจากการอุบัติใหม่ การดื้อยาและปฏิชีวนะ และเกิดจากการพัฒนาอาวุธชีวภาพ
“อย่างไรก็ตาม จากการรวบรวมรายชื่อโรคของสัตว์ที่มีศักยภาพแพร่ติดต่อสู่มนุษย์ได้ทั้งหมดจำนวน 271 โรค และที่น่าตกใจ พบว่า 3 ลำดับแรกของสัตว์ที่นำโรคมาสู่คน คือ สุนัข 47 โรค สัตว์ฟันแทะ 44 โรค และการทำปศุสัตว์ 37 โรค นอกจากนี้ เป็นโรคจากแมว 34 โรค ลิง 27 โรค สัตว์เลื้อยคลานและปลา 20 โรค กระต่าย 17 โรค และนก 15 โรค” ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าว
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมภายหลังกล่าวปาฐกถา ว่า โรคติดจากสัตว์สู่คนที่ควรมีการเฝ้าระวังในปี 2556 คือ โรคโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ 2012 ที่ระบาดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น จอร์แดน กาตาร์ และซาอุดีอาระเบีย ซึ่งปัจจุบันมีรายงานพบผู้ป่วยทั่วโลก 9 ราย เสียชีวิต 5 ราย ซึ่งจากการสอบสวนได้ตั้งข้อสงสัยอย่างรุนแรงว่าติดเชื้อมาจากค้างคาว เนื่องจากโคโรนาไวรัสมีลักษณะเชื้อคล้ายกับไวรัสซาร์สที่ระบาดเมื่อปี 2546 ซึ่งพบว่าติดเชื้อมาจากค้างคาวเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากการเฝ้าระวังห้องไอซียูที่ผู้ป่วยโรคโคโรนาไวรัสพักรักษาตัว รวมถึงแพทย์ พยาบาลที่ให้การดูแลรักษาไม่พบการติดเชื้อชนิดนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าโรคนี้จะเกิดการติดต่อจากคนสู่คนได้ยาก
“ขณะนี้ประเทศไทยมีการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มผู้ที่เดินทางไปแสวงบุญที่ประเทศซาอุดิอาระเบียจำนวนกว่า 1 หมื่นคน ซึ่งภายหลังการเดินทางกลับ แม้จะไม่พบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา แต่พบว่ามีการป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจประมาณ 10 ราย ซึ่งจากการตรวจสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่พบว่าเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา อย่างไรก็ตาม โรคนี้ยังต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยต้องมีการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยให้เร็วขึ้นเพื่อให้รู้เชื้อโรคและหาแนวทางป้องกัน” ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าว
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า ส่วนโรคจากเพื่อนบ้านที่ไทยต้องเฝ้าระวัง คือ โรคไข้หวัดนก เนื่องจากเวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ยังคงพบโรคดังกล่าวทั้งในสัตว์ปีกและในคน ขณะที่อียิปต์ยังพบผู้ป่วยทุกเดือน เมื่อโรคไม่หมดไป ไทยจึงจำเป็นต้องฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่รู้ว่าโรคจะพลิกผันเมื่อไหร่ ยิ่งเมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ซึ่งในแง่ของเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องที่ดี แต่การเดินทางไปมาของประชากรระหว่างประเทศเพื่อนบ้านอาจทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ รวมทั้งโรคจากสัตว์สู่คนได้ อาทิ โรคคอตีบ ซึ่งประเทศไทยหายไปแล้วราว 20 ปี แต่กลับมาพบอีกครั้งซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากแรงงานของประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานในไทย รวมถึง โรคหัด โปลิโอ หัดเยอรมัน ไอกรน คางทูม และไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งมีโอกาสกลับมาใหม่ได้ทั้งหมด ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขต้องเฝ้าระวังและมีการให้ข้อมูลข่าวสารต่อประชาชนอย่างโปร่งใส ไม่ปิดบัง เพื่อให้เกิดการเตือนภัยของโรคได้อย่างทันท่วงที
วันนี้ (10 ม.ค.) ที่โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ และที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวปาฐกถาพิเศษ “โรคติดต่ออุบัติใหม่ : ความท้าทายใหม่บนโลกเก่า” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่ : ความท้าทายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ว่า ปัญหาที่ท้าทายงานด้านสาธารณสุขของประเทศไทยมีดังนี้ 1.ปัญหาโลกร้อน เนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปจะส่งผลต่อความไวต่อการรับเชื้อทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของมนุษย์อ่อนแอลง ขณะที่โรคใหม่ๆอุบัติขึ้นในลักษณะของการระบาด 2.ปัญหาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ซึ่งกว่าร้อยละ 70 เป็นโรคติดจากสัตว์สู่คน เนื่องจากคนและสัตว์มีปฏิสัมพันธ์กันทำให้โรคสามารถเป็นได้ทั้งโรคของคนและสัตว์ อย่างโรคฝีดาษเมื่อสามารถกวาดล้างได้แล้ว ก็มีโรคอุบัติใหม่คือฝีดาษวานร ซึ่งเป็นลักษณะของโรคติดจากสัตว์สู่คน และ 3.เชื้อจุลชีพก่อโรค ซึ่งเกิดจากการอุบัติใหม่ การดื้อยาและปฏิชีวนะ และเกิดจากการพัฒนาอาวุธชีวภาพ
“อย่างไรก็ตาม จากการรวบรวมรายชื่อโรคของสัตว์ที่มีศักยภาพแพร่ติดต่อสู่มนุษย์ได้ทั้งหมดจำนวน 271 โรค และที่น่าตกใจ พบว่า 3 ลำดับแรกของสัตว์ที่นำโรคมาสู่คน คือ สุนัข 47 โรค สัตว์ฟันแทะ 44 โรค และการทำปศุสัตว์ 37 โรค นอกจากนี้ เป็นโรคจากแมว 34 โรค ลิง 27 โรค สัตว์เลื้อยคลานและปลา 20 โรค กระต่าย 17 โรค และนก 15 โรค” ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าว
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมภายหลังกล่าวปาฐกถา ว่า โรคติดจากสัตว์สู่คนที่ควรมีการเฝ้าระวังในปี 2556 คือ โรคโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ 2012 ที่ระบาดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เช่น จอร์แดน กาตาร์ และซาอุดีอาระเบีย ซึ่งปัจจุบันมีรายงานพบผู้ป่วยทั่วโลก 9 ราย เสียชีวิต 5 ราย ซึ่งจากการสอบสวนได้ตั้งข้อสงสัยอย่างรุนแรงว่าติดเชื้อมาจากค้างคาว เนื่องจากโคโรนาไวรัสมีลักษณะเชื้อคล้ายกับไวรัสซาร์สที่ระบาดเมื่อปี 2546 ซึ่งพบว่าติดเชื้อมาจากค้างคาวเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากการเฝ้าระวังห้องไอซียูที่ผู้ป่วยโรคโคโรนาไวรัสพักรักษาตัว รวมถึงแพทย์ พยาบาลที่ให้การดูแลรักษาไม่พบการติดเชื้อชนิดนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าโรคนี้จะเกิดการติดต่อจากคนสู่คนได้ยาก
“ขณะนี้ประเทศไทยมีการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มผู้ที่เดินทางไปแสวงบุญที่ประเทศซาอุดิอาระเบียจำนวนกว่า 1 หมื่นคน ซึ่งภายหลังการเดินทางกลับ แม้จะไม่พบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา แต่พบว่ามีการป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจประมาณ 10 ราย ซึ่งจากการตรวจสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่พบว่าเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา อย่างไรก็ตาม โรคนี้ยังต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยต้องมีการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยให้เร็วขึ้นเพื่อให้รู้เชื้อโรคและหาแนวทางป้องกัน” ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าว
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า ส่วนโรคจากเพื่อนบ้านที่ไทยต้องเฝ้าระวัง คือ โรคไข้หวัดนก เนื่องจากเวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ยังคงพบโรคดังกล่าวทั้งในสัตว์ปีกและในคน ขณะที่อียิปต์ยังพบผู้ป่วยทุกเดือน เมื่อโรคไม่หมดไป ไทยจึงจำเป็นต้องฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่รู้ว่าโรคจะพลิกผันเมื่อไหร่ ยิ่งเมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ซึ่งในแง่ของเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องที่ดี แต่การเดินทางไปมาของประชากรระหว่างประเทศเพื่อนบ้านอาจทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ รวมทั้งโรคจากสัตว์สู่คนได้ อาทิ โรคคอตีบ ซึ่งประเทศไทยหายไปแล้วราว 20 ปี แต่กลับมาพบอีกครั้งซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากแรงงานของประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานในไทย รวมถึง โรคหัด โปลิโอ หัดเยอรมัน ไอกรน คางทูม และไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งมีโอกาสกลับมาใหม่ได้ทั้งหมด ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขต้องเฝ้าระวังและมีการให้ข้อมูลข่าวสารต่อประชาชนอย่างโปร่งใส ไม่ปิดบัง เพื่อให้เกิดการเตือนภัยของโรคได้อย่างทันท่วงที