กรมแพทย์แผนไทยฯ เตรียมเสนอ คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์และตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เป็นตำรับยาแผนไทย-ตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ คาดอีก 2 เดือนพร้อมประกาศใช้
นพ.ประภัสสร เจียมบุญศรี รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ขณะนี้กรมได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประกากำหนดตำรับยาแผนไทยของชาติหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติตามมาตรา 17 พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการประกาศกำหนดตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทยที่มีประโยชน์ หรือมีคุณค่าในทางการแพทย์หรือการสาธารณสุขเป็นพิเศษให้เป็นตำรายาแผนไทยของชาติ หรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ เพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาของชาติให้คงอยู่และเป็นที่ยอมรับ โดยกำหนดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งขณะนี้กรมยกร่างเสร็จแล้ว แต่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนจะส่งกลับไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและส่งต่อมายังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกประกาศเป็นกฎกระทรวง คาดว่าภายใน 2 เดือน ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้น่าจะมีผลบังคับใช้ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์พิจารณาตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ
ด้าน นางกัญจนา ดีวิเศษ ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า หากร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ คาดว่าจะมีตำราการแพทย์แผนไทยและตำรับยาการแพทย์แผนไทย 3 เล่มที่จะประกาศเป็นตำราตำรับแพทย์แผนไทยของชาติ ได้แก่ 1. คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน) ซึ่งเป็นตำรับยาที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่มีการพบในขณะนี้ โดยบันทึกตำรับยาหรือสูตรยาไว้ในใบลานมากถึง 81 ตำรับ มีรูปแบบการปรุงยาหลายหลากรูปแบบ เช่น ยากิน ยาทา ยาดม ยานัตถุ์ ยาประคบ ยาหยอดตา ยาหยอดหู และยาสีผึ้ง เป็นต้น โดยคาดว่าน่าจะเป็นตำรับยาที่ดีที่สุดในสมัยนั้น เนื่องจากเป็นตำรับยาที่ปรุงถวายพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ ภายในคัมภีร์ธาตุฯยังบันทึกเรื่องการวินิจฉัยโรค อาการและการเปลี่ยนแปลงของคนไข้ และการพยากรณ์โรคในสมัยอยุธยาทั้งในราชสำนักและในสังคมภายนอกไว้อย่างชัดเจน
2. ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่มที่ 1 มีตำรับยา 713 ตำรับ และ 3.ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่มที่ 2 มีตำรับยา 1,066 ตำรับ โดยจะประกอบด้วย เช่น คัมภีร์กระษัย คัมภีร์ตักกศิลา คัมภีร์ธาตุวิภังค์ คัมภีร์ประถมจินดา คัมภีร์แผนนวด พระตำหรับแผนฝีดาษ คัมภีร์มรณญาณสูตร ว่าด้วยธาตุพิการตามฤดูและธาตุแตก 10 ประการ คัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยยาขับโลหิต ยาบำรุงโลหิต และคัมภีร์อุทรโรค ว่าด้วยลักษณะของอุทรโรค 18 ประการ เป็นต้น
นางกัญจนากล่าวอีกว่า ตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทยทั้ง 3 ฉบับ ถือเป็นสมบัติชาติที่ทรงคุณในด้านการแพทย์แผนไทยอย่างมาก เมื่อประกาศมีการประกาศให้เป็นตำรับยาการแพทย์แผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทยของชาติแล้ว จะส่งผลให้ผู้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าหรือเชิงธุรกิจ ทั้งการนำไปขอขึ้นทะเบียนตำรับยาและขออนุญาตผลิตยา หรือนำไปทำการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุง หรือพัฒนาเป็นตำรับยาใหม่ หรือประสงค์จะทำการศึกษาวิจัยตำราการแพทย์แผนไทยของชาติเพื่อปรับปรุงหรือ พัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยขึ้นใหม่ ต้องยื่นคำขอรับอนุญาตใช้ประโยชน์และชำระค่า ธรรมเนียม รวมทั้งค่าตอบแทนสำหรับการใช้ประโยชน์ให้แก่ชาติ แต่สำหรับประชาชนทั่วไปที่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองเฉพาะตัวไม่ต้องขอรับอนุญาต
นางกัญจนากล่าวด้วยว่า การประกาศดังกล่าวเป็นตำรับตำราของชาติจะเป็นหลักฐานที่สำคัญเพื่อใช้ในการคุ้มครองภูมิปัญญาในเรื่องดังกล่าวว่าเป็นของไทย ป้องกันไม่ให้ใครมาแอบอ้างหรือขโมย หรือสูญหายไปจากชาติ โดยกรมมีฐานข้อมูลจากที่มีผู้แจ้งเข้ามาแล้ว ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 255 ว่าทั่วประเทศมีตำรับยาการแพทย์แผนไทย 96,770 ตำรับ และตำราการแพทย์แผนไทย 6,184 ตำรา รวม 102,954 ตำรับตำรา ซึ่งการจะพิจารณาว่าจะประกาศตำรับตำราใดเป็นของชาติจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบจากผู้เชี่ยวชาญต่างๆ จำเป็นต้องใช้เวลาค่อนข้างมากเพื่อให้สมบูรณ์ที่สุด หากกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ นอกจากตำรับตำรา 3 ฉบับข้างต้นแล้วจะทยอยประกาศตำรับตำราอื่นๆ เป็นของชาติต่อไป
นพ.ประภัสสร เจียมบุญศรี รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ขณะนี้กรมได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประกากำหนดตำรับยาแผนไทยของชาติหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติตามมาตรา 17 พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการประกาศกำหนดตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทยที่มีประโยชน์ หรือมีคุณค่าในทางการแพทย์หรือการสาธารณสุขเป็นพิเศษให้เป็นตำรายาแผนไทยของชาติ หรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ เพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาของชาติให้คงอยู่และเป็นที่ยอมรับ โดยกำหนดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งขณะนี้กรมยกร่างเสร็จแล้ว แต่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนจะส่งกลับไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและส่งต่อมายังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกประกาศเป็นกฎกระทรวง คาดว่าภายใน 2 เดือน ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้น่าจะมีผลบังคับใช้ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์พิจารณาตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ
ด้าน นางกัญจนา ดีวิเศษ ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า หากร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ คาดว่าจะมีตำราการแพทย์แผนไทยและตำรับยาการแพทย์แผนไทย 3 เล่มที่จะประกาศเป็นตำราตำรับแพทย์แผนไทยของชาติ ได้แก่ 1. คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน) ซึ่งเป็นตำรับยาที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่มีการพบในขณะนี้ โดยบันทึกตำรับยาหรือสูตรยาไว้ในใบลานมากถึง 81 ตำรับ มีรูปแบบการปรุงยาหลายหลากรูปแบบ เช่น ยากิน ยาทา ยาดม ยานัตถุ์ ยาประคบ ยาหยอดตา ยาหยอดหู และยาสีผึ้ง เป็นต้น โดยคาดว่าน่าจะเป็นตำรับยาที่ดีที่สุดในสมัยนั้น เนื่องจากเป็นตำรับยาที่ปรุงถวายพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ ภายในคัมภีร์ธาตุฯยังบันทึกเรื่องการวินิจฉัยโรค อาการและการเปลี่ยนแปลงของคนไข้ และการพยากรณ์โรคในสมัยอยุธยาทั้งในราชสำนักและในสังคมภายนอกไว้อย่างชัดเจน
2. ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่มที่ 1 มีตำรับยา 713 ตำรับ และ 3.ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่มที่ 2 มีตำรับยา 1,066 ตำรับ โดยจะประกอบด้วย เช่น คัมภีร์กระษัย คัมภีร์ตักกศิลา คัมภีร์ธาตุวิภังค์ คัมภีร์ประถมจินดา คัมภีร์แผนนวด พระตำหรับแผนฝีดาษ คัมภีร์มรณญาณสูตร ว่าด้วยธาตุพิการตามฤดูและธาตุแตก 10 ประการ คัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยยาขับโลหิต ยาบำรุงโลหิต และคัมภีร์อุทรโรค ว่าด้วยลักษณะของอุทรโรค 18 ประการ เป็นต้น
นางกัญจนากล่าวอีกว่า ตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทยทั้ง 3 ฉบับ ถือเป็นสมบัติชาติที่ทรงคุณในด้านการแพทย์แผนไทยอย่างมาก เมื่อประกาศมีการประกาศให้เป็นตำรับยาการแพทย์แผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทยของชาติแล้ว จะส่งผลให้ผู้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าหรือเชิงธุรกิจ ทั้งการนำไปขอขึ้นทะเบียนตำรับยาและขออนุญาตผลิตยา หรือนำไปทำการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุง หรือพัฒนาเป็นตำรับยาใหม่ หรือประสงค์จะทำการศึกษาวิจัยตำราการแพทย์แผนไทยของชาติเพื่อปรับปรุงหรือ พัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยขึ้นใหม่ ต้องยื่นคำขอรับอนุญาตใช้ประโยชน์และชำระค่า ธรรมเนียม รวมทั้งค่าตอบแทนสำหรับการใช้ประโยชน์ให้แก่ชาติ แต่สำหรับประชาชนทั่วไปที่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองเฉพาะตัวไม่ต้องขอรับอนุญาต
นางกัญจนากล่าวด้วยว่า การประกาศดังกล่าวเป็นตำรับตำราของชาติจะเป็นหลักฐานที่สำคัญเพื่อใช้ในการคุ้มครองภูมิปัญญาในเรื่องดังกล่าวว่าเป็นของไทย ป้องกันไม่ให้ใครมาแอบอ้างหรือขโมย หรือสูญหายไปจากชาติ โดยกรมมีฐานข้อมูลจากที่มีผู้แจ้งเข้ามาแล้ว ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 255 ว่าทั่วประเทศมีตำรับยาการแพทย์แผนไทย 96,770 ตำรับ และตำราการแพทย์แผนไทย 6,184 ตำรา รวม 102,954 ตำรับตำรา ซึ่งการจะพิจารณาว่าจะประกาศตำรับตำราใดเป็นของชาติจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบจากผู้เชี่ยวชาญต่างๆ จำเป็นต้องใช้เวลาค่อนข้างมากเพื่อให้สมบูรณ์ที่สุด หากกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ นอกจากตำรับตำรา 3 ฉบับข้างต้นแล้วจะทยอยประกาศตำรับตำราอื่นๆ เป็นของชาติต่อไป