“วิจิตร” ชี้ การประกันคุณภาพการศึกษาช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยได้ แต่รัฐต้องช่วยอุดปัญหาในระดับนโยบาย พร้อมตั้งองค์กรวิเคราะห์ผลประเมินการศึกษาของประเทศ
วันนี้ (9 ม.ค.) ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างการบรรยายสาธารณะ เรื่อง พัฒนาการของการทดสอบระดับชาติ และการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน : เหลียวหลังแลหน้า ซึ่งจัดโดยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ (สวพ.) สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแแห่งชาติ (สทศ.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท) มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และมูลนิธิเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ว่า การทดสอบระดับชาติและการประกันคุณภาพการศึกษา สร้างขึ้นเพื่อให้มีตัวบ่งชี้ว่าคุณภาพโรงเรียนอยู่ตรงไหน และจะพัฒนาอย่างไรให้มีคุณภาพเท่าเทียมกัน เพราะการที่แต่ละโรงเรียนมีคุณภาพที่เหลื่อมล้ำจะทำให้เด็กมีคุณภาพแย่ การประกันคุณภาพภายในและภายนอก จึงเป็นเครื่องถ่วงดุลการตรวจสอบคุณภาพสถาบันการศึกษา
ศ.ดร.วิจิตร กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาหลักของการประกันคุณภาพ คือ การไม่นำผลประเมินไปใช้ เนื่องจากหลายปัญหาเป็นปัญหาระดับนโยบาย โรงเรียน และต้นสังกัด จึงไม่สามารถพัฒนาคุณภาพได้ตามลำพัง ตรงนี้รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือ เช่น โรงเรียนใดมีปัญหาครูไม่พอก็ต้องเพิ่มครู หรือถ้าครูสอนไม่ตรงวุฒิก็ต้องแก้ปัญหา เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อพัฒนาระบบผลการประเมินการศึกษาที่ได้จาก สทศ.และ สมศ.เพื่อบอกระดับคุณภาพของผลการศึกษาไทย ควบคู่กับการใช้ผลประเมินผลการศึกษาของนานาชาติ
“ในต่างประเทศจะมีหน่วยงานทำหน้าที่วิเคราะห์ผลการประเมิน และผลการศึกษาในประเทศของตัวเอง นอกจากนั้น ยังมีการทำความร่วมมือในการประเมินผลร่วมกับองค์กรระดับนานาชาติ อาทิ การสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ Program for International Student Assessment (PISA) ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ หรือผลการวิจัยการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ (Trend in International Mathematics and Science Study : TIMSS หริอ ทิมส์) แต่ในส่วนของประเทศไทยไม่มีการประเมินผลของเราเอง ได้แต่ใช้ผลประเมินจากนานาชาติเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลประเมินการศึกษาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ประเทศไทยอยู่ในระดับท้ายๆ ของโลก และแพ้เกือบทุกประเทศในอาเซียน ทั้งในส่วนของคุณภาพผลการศึกษา และระบบการศึกษา แต่ถ้าทำให้ระบบประกันคุณภาพมาใช้ให้เกิดผลจริง เชื่อว่าความหวังในการพัฒนาการศึกษาไทยจะดีขึ้น” ศ.ดร.วิจิตร กล่าว
วันนี้ (9 ม.ค.) ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างการบรรยายสาธารณะ เรื่อง พัฒนาการของการทดสอบระดับชาติ และการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน : เหลียวหลังแลหน้า ซึ่งจัดโดยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ (สวพ.) สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแแห่งชาติ (สทศ.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท) มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และมูลนิธิเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ว่า การทดสอบระดับชาติและการประกันคุณภาพการศึกษา สร้างขึ้นเพื่อให้มีตัวบ่งชี้ว่าคุณภาพโรงเรียนอยู่ตรงไหน และจะพัฒนาอย่างไรให้มีคุณภาพเท่าเทียมกัน เพราะการที่แต่ละโรงเรียนมีคุณภาพที่เหลื่อมล้ำจะทำให้เด็กมีคุณภาพแย่ การประกันคุณภาพภายในและภายนอก จึงเป็นเครื่องถ่วงดุลการตรวจสอบคุณภาพสถาบันการศึกษา
ศ.ดร.วิจิตร กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาหลักของการประกันคุณภาพ คือ การไม่นำผลประเมินไปใช้ เนื่องจากหลายปัญหาเป็นปัญหาระดับนโยบาย โรงเรียน และต้นสังกัด จึงไม่สามารถพัฒนาคุณภาพได้ตามลำพัง ตรงนี้รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือ เช่น โรงเรียนใดมีปัญหาครูไม่พอก็ต้องเพิ่มครู หรือถ้าครูสอนไม่ตรงวุฒิก็ต้องแก้ปัญหา เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อพัฒนาระบบผลการประเมินการศึกษาที่ได้จาก สทศ.และ สมศ.เพื่อบอกระดับคุณภาพของผลการศึกษาไทย ควบคู่กับการใช้ผลประเมินผลการศึกษาของนานาชาติ
“ในต่างประเทศจะมีหน่วยงานทำหน้าที่วิเคราะห์ผลการประเมิน และผลการศึกษาในประเทศของตัวเอง นอกจากนั้น ยังมีการทำความร่วมมือในการประเมินผลร่วมกับองค์กรระดับนานาชาติ อาทิ การสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ Program for International Student Assessment (PISA) ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ หรือผลการวิจัยการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ (Trend in International Mathematics and Science Study : TIMSS หริอ ทิมส์) แต่ในส่วนของประเทศไทยไม่มีการประเมินผลของเราเอง ได้แต่ใช้ผลประเมินจากนานาชาติเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลประเมินการศึกษาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ประเทศไทยอยู่ในระดับท้ายๆ ของโลก และแพ้เกือบทุกประเทศในอาเซียน ทั้งในส่วนของคุณภาพผลการศึกษา และระบบการศึกษา แต่ถ้าทำให้ระบบประกันคุณภาพมาใช้ให้เกิดผลจริง เชื่อว่าความหวังในการพัฒนาการศึกษาไทยจะดีขึ้น” ศ.ดร.วิจิตร กล่าว