สสจ.อุดรฯ เผยชาวบ้านเชื่อ “โรคไข้หมากไม้” ต้องรักษาด้วยการแพทย์พื้นบ้าน ลือไปรักษาด้วยการรับน้ำเกลือในโรงพยาบาลทำให้ตายได้
วันนี้ (18 ธ.ค.) ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ภก.สมชาย ชินวานิชย์เจริญ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) อุดรธานี และเครือข่ายหมอพื้นบ้าน จ.อุดรธานี กล่าวในการเสวนาเรื่อง “ประสบการณ์การเก็บข้อมูลเครือข่ายหมอพื้นบ้าน” ว่า จากการทำการศึกษาโครงการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนในแบบฉบับการแพทย์พื้นบ้าน จ.อุดรธานี ตั้งแต่ปี 2549-2555 ใน 4 อำเภอ คือ อ.เพ็ญ อ.บ้านดุง อ.ทุ่งฝน และ อ.กุมภวาปี พบว่า มีหมอพื้นบ้านที่ทำการรักษาโรคด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านประมาณ 200 คน โดยคนในพื้นที่ดังกล่าวมีความเชื่อในการรักษาโรคด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านมาก ซึ่งจากการสอบถามทำให้ทราบว่า มีบางกลุ่มโรคเมื่อป่วยแล้วจะต้องรักษาด้วยหมอพื้นบ้านเท่านั้น คือ โรคไข้หมากไม้ ซึ่งอาการของโรคจะหายใจออกมามีลมร้อน นอนซม เหม็นข้าว กินข้าวไม่ได้รส เป็นต้น ส่วนที่เข้าใจว่าเป็นโรคเดียวกับไข้รากสาดน้อยนั้นไม่ใช่ เพราะไข้รากสาดน้อยเป็นเพียงอาการหนึ่งในโรคไข้หมากไม้เท่านั้น
“สาเหตุของการเกิดโรคไข้หมากไม้ จากการรวบรวมข้อมูลนั้นพบว่า เกิดจากการรับพิษในทุ่งนาที่มีการหมักหมมของใบไม้ ต้นไม้ พืชต่างๆ ตามโคลนตม โดยคนที่ทำนาเมื่อได้รับเชื้อแล้วไม่มีสุขอนามัยดีพอ ทำให้รับพิษนี้ได้ง่าย ขณะที่คนในเมืองมักไม่พบ เนื่องจากวิถีชีวิตแตกต่างกัน ซึ่งระยะหลังกลับมีความเชื่อว่าโรคนี้เกิดจากการแพ้กลูโคสในผลไม้หวาน เช่น ฝรั่ง หากไปรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อได้รับน้ำเกลือจะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต” ภก.สมชาย กล่าว
ภก.สมชาย กล่าวอีกว่า เรื่องพวกนี้เป็นความเชื่อของท้องถิ่นที่มีมานาน หากใครป่วยด้วยโรคนี้ก็จะรับการรักษาด้วยหมอพื้นบ้าน มีด้วยกัน 2 วิธี คือ 1.การใช้ยาเย็นฝนกับหินและนำไปต้มมาดื่มกินแทนน้ำ โดยแต่ละพื้นที่ก็มีสูตรแตกต่างกันไป เช่น สูตรสมุนไพร 2 ตัว ได้แก่ เครือไส้ปลาช่อน และข่อยดาน เป็นต้น และ 2.การบำบัดด้วยจิตวิทยา เรียกว่า การถอดหมากไม้ โดยใช้ไข่กับเหรียญเงินมาถูบริเวณร่างกายให้หายเจ็บป่วย ซึ่งทั้งหมดเป็นความเชื่อของคนในชุมชนที่มีมานาน เรียกว่าอยู่คนละโลกกับแพทย์แผนปัจจุบัน โดยขณะนี้มีหมอพื้นบ้านที่รักษาด้วยโรคนี้ประมาณ 60 คนใน 4 อำเภอ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะไม่มีการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ยังมีโรคอื่นๆ ที่ต้องรักษาควบคู่กันไปด้วย อาทิ งูสวัด กระดูกหัก ท้องอืด แน่นท้อง โรคกระเพาะ เร่งน้ำนมหลังคลอด และการรักษาอาการกินผิดสำแดง เป็นต้น
วันนี้ (18 ธ.ค.) ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ภก.สมชาย ชินวานิชย์เจริญ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) อุดรธานี และเครือข่ายหมอพื้นบ้าน จ.อุดรธานี กล่าวในการเสวนาเรื่อง “ประสบการณ์การเก็บข้อมูลเครือข่ายหมอพื้นบ้าน” ว่า จากการทำการศึกษาโครงการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนในแบบฉบับการแพทย์พื้นบ้าน จ.อุดรธานี ตั้งแต่ปี 2549-2555 ใน 4 อำเภอ คือ อ.เพ็ญ อ.บ้านดุง อ.ทุ่งฝน และ อ.กุมภวาปี พบว่า มีหมอพื้นบ้านที่ทำการรักษาโรคด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านประมาณ 200 คน โดยคนในพื้นที่ดังกล่าวมีความเชื่อในการรักษาโรคด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านมาก ซึ่งจากการสอบถามทำให้ทราบว่า มีบางกลุ่มโรคเมื่อป่วยแล้วจะต้องรักษาด้วยหมอพื้นบ้านเท่านั้น คือ โรคไข้หมากไม้ ซึ่งอาการของโรคจะหายใจออกมามีลมร้อน นอนซม เหม็นข้าว กินข้าวไม่ได้รส เป็นต้น ส่วนที่เข้าใจว่าเป็นโรคเดียวกับไข้รากสาดน้อยนั้นไม่ใช่ เพราะไข้รากสาดน้อยเป็นเพียงอาการหนึ่งในโรคไข้หมากไม้เท่านั้น
“สาเหตุของการเกิดโรคไข้หมากไม้ จากการรวบรวมข้อมูลนั้นพบว่า เกิดจากการรับพิษในทุ่งนาที่มีการหมักหมมของใบไม้ ต้นไม้ พืชต่างๆ ตามโคลนตม โดยคนที่ทำนาเมื่อได้รับเชื้อแล้วไม่มีสุขอนามัยดีพอ ทำให้รับพิษนี้ได้ง่าย ขณะที่คนในเมืองมักไม่พบ เนื่องจากวิถีชีวิตแตกต่างกัน ซึ่งระยะหลังกลับมีความเชื่อว่าโรคนี้เกิดจากการแพ้กลูโคสในผลไม้หวาน เช่น ฝรั่ง หากไปรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อได้รับน้ำเกลือจะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต” ภก.สมชาย กล่าว
ภก.สมชาย กล่าวอีกว่า เรื่องพวกนี้เป็นความเชื่อของท้องถิ่นที่มีมานาน หากใครป่วยด้วยโรคนี้ก็จะรับการรักษาด้วยหมอพื้นบ้าน มีด้วยกัน 2 วิธี คือ 1.การใช้ยาเย็นฝนกับหินและนำไปต้มมาดื่มกินแทนน้ำ โดยแต่ละพื้นที่ก็มีสูตรแตกต่างกันไป เช่น สูตรสมุนไพร 2 ตัว ได้แก่ เครือไส้ปลาช่อน และข่อยดาน เป็นต้น และ 2.การบำบัดด้วยจิตวิทยา เรียกว่า การถอดหมากไม้ โดยใช้ไข่กับเหรียญเงินมาถูบริเวณร่างกายให้หายเจ็บป่วย ซึ่งทั้งหมดเป็นความเชื่อของคนในชุมชนที่มีมานาน เรียกว่าอยู่คนละโลกกับแพทย์แผนปัจจุบัน โดยขณะนี้มีหมอพื้นบ้านที่รักษาด้วยโรคนี้ประมาณ 60 คนใน 4 อำเภอ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะไม่มีการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ยังมีโรคอื่นๆ ที่ต้องรักษาควบคู่กันไปด้วย อาทิ งูสวัด กระดูกหัก ท้องอืด แน่นท้อง โรคกระเพาะ เร่งน้ำนมหลังคลอด และการรักษาอาการกินผิดสำแดง เป็นต้น