ครูเอกชนได้เฮ! สช.รอจัดสรรงบกว่า 1.8 ล้านบาท จ่ายเงินเดือนให้ครู 1.5 หมื่นบาท ผ่านเงินรายหัวเด็กและตกเบิกย้อนหลัง 3 เดือนในเดือน ม.ค. 56 นี้ ส่วนกลุ่มที่ไม่ถึง 1.5 หมื่น สช.ขอเวลาตรวจสอบความถูกต้อง ขณะที่บอร์ดเห็นชอบกำหนดเพดานจ่ายเงินสมทบ 3% ของครูเอกชนเข้ากองทุนสงเคราะห์ที่ 1,500 บาทหรือเงินเดือนสูงสุด 5.5 หมื่น
นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการกช. เปิดเผยภายหลังการประชุม กช. ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาถึงแนวทางการปรับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนใน โรงเรียนเอกชน เพื่อปรับเงินเดือนครูวุฒิปริญญาตรีให้ได้รับเงินเดือนละ 15,000 บาทตามนโยบายรัฐบาลนั้น ในปี 2555 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณปี 2556 ประมาณ 1,858 ล้านบาทแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้เสนองบประมาณเพิ่ม เงินอุดหนุนรายหัวเพื่อใช้ปรับเงินเดือนในระดับอนุบาล-ประถมศึกษา หัวละ 601 บาทต่อปี และระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา หัวละ 711 บาทต่อปี ซึ่งขณะนี้กำลังรอการจัดสรรงบประมาณและจะสามารถจัดสรรเงินส่วนนี้เพื่อให้ตกเบิกย้อนหลัง 3 เดือนให้ในเดือนมกราคม 2556 ส่วนค่าครองชีพชั่วคราว 1,160 บาทต่อเดือนที่รัฐจะจัดสรรให้ครูโรงเรียนเอกชนที่เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท จำนวน 87,000 คน ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้แล้วประมาณ 2,000กว่าล้านบาทนั้นยังไม่ได้เบิกจ่ายเพราะรอตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
“ส่วนในปี 2557 ที่รัฐกำหนดให้ปรับเงินเดือนระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทที่ประชุม กช.ได้มอบให้ สช.ที่เป็นผู้แทนร่วมกับสำนักงบประมาณ และผู้แทนครูโรงเรียนเอกชนได้เข้าหารือกับคณะอนุกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้มาร่วมกันศึกษาผลกระทบและจะพิจารณาเงินช่วย เหลือตามอัตราเงินเดือนใหม่และหากได้ผลอย่างไรก็ให้เสนอที่ประชุมพิจารณาครั้งต่อไป” รองเลขาธิการ กช.กล่าว
นายชาญวิทย์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินสะสมเข้ากอง ทุนสงเคราะห์สำหรับโรงเรียนในระบบ พ.ศ... ที่ได้กำหนดอัตราการหักเงินร้อยละ 3 ของเงินเดือนสะสมเข้ากองทุนและโรงเรียนจะอุดหนุนเพิ่มอีก 3% และรัฐอุดหนุนเพิ่มอีก 6% รวมทั้งหมด 12% โดยที่ประชุมได้ให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ไปพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯ อีกครั้งหนึ่งว่าควรต้องกำหนดเพดานเงินสูงสุดที่จะหักเงินครู ผู้อำนวยการและบุคลากรโรงเรียนเอกชนเข้ากองทุนนี้ได้สูงสุดเดือนละเท่าไร รวมทั้งควรศึกษาผลดีผลเสียด้วย ซึ่งในเบื้องต้นที่ประชุมเห็นว่าควรกำหนดเพดานสูงสุดที่ 1,500 บาท หรือเงินเดือนสูงสุด 50,000 บาท
นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการกช. เปิดเผยภายหลังการประชุม กช. ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาถึงแนวทางการปรับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนใน โรงเรียนเอกชน เพื่อปรับเงินเดือนครูวุฒิปริญญาตรีให้ได้รับเงินเดือนละ 15,000 บาทตามนโยบายรัฐบาลนั้น ในปี 2555 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณปี 2556 ประมาณ 1,858 ล้านบาทแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้เสนองบประมาณเพิ่ม เงินอุดหนุนรายหัวเพื่อใช้ปรับเงินเดือนในระดับอนุบาล-ประถมศึกษา หัวละ 601 บาทต่อปี และระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา หัวละ 711 บาทต่อปี ซึ่งขณะนี้กำลังรอการจัดสรรงบประมาณและจะสามารถจัดสรรเงินส่วนนี้เพื่อให้ตกเบิกย้อนหลัง 3 เดือนให้ในเดือนมกราคม 2556 ส่วนค่าครองชีพชั่วคราว 1,160 บาทต่อเดือนที่รัฐจะจัดสรรให้ครูโรงเรียนเอกชนที่เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท จำนวน 87,000 คน ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้แล้วประมาณ 2,000กว่าล้านบาทนั้นยังไม่ได้เบิกจ่ายเพราะรอตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
“ส่วนในปี 2557 ที่รัฐกำหนดให้ปรับเงินเดือนระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทที่ประชุม กช.ได้มอบให้ สช.ที่เป็นผู้แทนร่วมกับสำนักงบประมาณ และผู้แทนครูโรงเรียนเอกชนได้เข้าหารือกับคณะอนุกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้มาร่วมกันศึกษาผลกระทบและจะพิจารณาเงินช่วย เหลือตามอัตราเงินเดือนใหม่และหากได้ผลอย่างไรก็ให้เสนอที่ประชุมพิจารณาครั้งต่อไป” รองเลขาธิการ กช.กล่าว
นายชาญวิทย์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินสะสมเข้ากอง ทุนสงเคราะห์สำหรับโรงเรียนในระบบ พ.ศ... ที่ได้กำหนดอัตราการหักเงินร้อยละ 3 ของเงินเดือนสะสมเข้ากองทุนและโรงเรียนจะอุดหนุนเพิ่มอีก 3% และรัฐอุดหนุนเพิ่มอีก 6% รวมทั้งหมด 12% โดยที่ประชุมได้ให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ไปพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯ อีกครั้งหนึ่งว่าควรต้องกำหนดเพดานเงินสูงสุดที่จะหักเงินครู ผู้อำนวยการและบุคลากรโรงเรียนเอกชนเข้ากองทุนนี้ได้สูงสุดเดือนละเท่าไร รวมทั้งควรศึกษาผลดีผลเสียด้วย ซึ่งในเบื้องต้นที่ประชุมเห็นว่าควรกำหนดเพดานสูงสุดที่ 1,500 บาท หรือเงินเดือนสูงสุด 50,000 บาท