ก.พ.อ.เล็งเปิดช่องขยายเวลาการทำงานให้คนเกษียณถึงอายุ 65 ปี มอบ สกอ.ไปศึกษาความเป็นไปได้ เตรียมเสนอ ครม.ไฟเขียวปรับเงินเดือนสายวิชาการในกลุ่มมหา’ลัยที่เงินเดือนตันให้ทะลุข้ามขั้นได้ เช่นเดียวกับที่ ก.ค.ศ.กำลังปรับแก้ไขในส่วนของครู ตาม พ.ร.บ.เงินเดือนเงินวิทยฐานะฯ
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้รายงานผลการวิจัยโครงการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามประกาศ ก.พ.อ.เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 โดยมีข้อเสนอแนะ เช่น ควรเปิดช่องให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถบริหารจัดการภายในได้ โดยกำหนดจำนวน และตัวบุคคลที่ต้องการต่อเวลาราชการ โดยให้มีการโอนย้ายจากสถาบันหนึ่งไปยังสถาบันหนึ่งมากกว่า 6 เดือน ก่อนการพิจารณาต่อเวลาราชการ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังได้มาก ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ควรจัดตั้งศูนย์รวมข้อมูลผู้เกษียณอายุราชการที่มีคุณสมบัติพร้อมเข้าสู่กระบวนการต่อเวลาราชการ และพร้อมที่จะทาบทามเพื่อโอนย้าย เพื่อช่วยให้สถาบันที่สนใจค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น
“ผลการวิจัยยังเสนอด้วยว่า ควรกำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการให้รับราชการต่อไปได้จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ พร้อมทั้งกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษากำกับและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และเมื่ออายุครบ 65 ปี ควรให้แบ่งการต่อเวลาราชการเป็นคราวละ 2-3 ปี แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 5 ปี และหากเป็นไปได้ควรศึกษาเพิ่มเติมกรณีต่อเวลาราชการเป็นรายปีต่อไปจนถึงอายุ 70 ปี ในส่วนภาระงานประจำปีของผู้ได้รับการต่อเวลาราชการ ไม่ควรต่ำกว่ามาตรฐานภาระงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อสร้างบรรทัดฐานการทำงาน เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการต่อเวลาราชการ” รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบให้ สกอ.นำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ และให้นำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมในโอกาสต่อไป
ศ.ดร.สุชาติ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา ได้เสนอข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เช่นเดียวกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ โดยหากได้รับอัตราเงินเดือนถึงขั้นสูงของอัตราเงินเดือนในตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ให้ไปรับเงินเดือนสูงกว่าขึ้นสูงของอัตราเงินเดือนเดิม เช่นเดียวกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นการปรับให้ผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นเงินเดือนเดิม อาทิ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ (ผศ.) ที่เงินเดือนตันแล้วสามารถทะลุขั้นเงินเดือนของตนเอง ไปรับเงินเดือนในขั้นที่สูงกว่าในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ (รศ.)ได้ ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบจากนโยบายการปรับเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทของรัฐบาล จึงทำให้ขั้นเงินเดือนปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ โดยขณะนี้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ. ) ได้แก้ไข พ.ร.บ.เงินเดือนเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู ที่เงินเดือนเต็มขั้น ให้ไปรับเงินเดือนในอันดับขั้นต่อไปได้ อาทิ อันดับ คศ.2 ที่เงินเดือนเต็มขั้นให้รับเงินเดือนในอันดับ คศ.3 ได้โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ดังนั้น สกอ.จึงคิดว่าข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาก็ควรได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจะต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้รายงานผลการวิจัยโครงการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามประกาศ ก.พ.อ.เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 โดยมีข้อเสนอแนะ เช่น ควรเปิดช่องให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถบริหารจัดการภายในได้ โดยกำหนดจำนวน และตัวบุคคลที่ต้องการต่อเวลาราชการ โดยให้มีการโอนย้ายจากสถาบันหนึ่งไปยังสถาบันหนึ่งมากกว่า 6 เดือน ก่อนการพิจารณาต่อเวลาราชการ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังได้มาก ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ควรจัดตั้งศูนย์รวมข้อมูลผู้เกษียณอายุราชการที่มีคุณสมบัติพร้อมเข้าสู่กระบวนการต่อเวลาราชการ และพร้อมที่จะทาบทามเพื่อโอนย้าย เพื่อช่วยให้สถาบันที่สนใจค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น
“ผลการวิจัยยังเสนอด้วยว่า ควรกำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการให้รับราชการต่อไปได้จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ พร้อมทั้งกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษากำกับและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และเมื่ออายุครบ 65 ปี ควรให้แบ่งการต่อเวลาราชการเป็นคราวละ 2-3 ปี แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 5 ปี และหากเป็นไปได้ควรศึกษาเพิ่มเติมกรณีต่อเวลาราชการเป็นรายปีต่อไปจนถึงอายุ 70 ปี ในส่วนภาระงานประจำปีของผู้ได้รับการต่อเวลาราชการ ไม่ควรต่ำกว่ามาตรฐานภาระงานของผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อสร้างบรรทัดฐานการทำงาน เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการต่อเวลาราชการ” รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบให้ สกอ.นำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ และให้นำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมในโอกาสต่อไป
ศ.ดร.สุชาติ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา ได้เสนอข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เช่นเดียวกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ โดยหากได้รับอัตราเงินเดือนถึงขั้นสูงของอัตราเงินเดือนในตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ให้ไปรับเงินเดือนสูงกว่าขึ้นสูงของอัตราเงินเดือนเดิม เช่นเดียวกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นการปรับให้ผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นเงินเดือนเดิม อาทิ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ (ผศ.) ที่เงินเดือนตันแล้วสามารถทะลุขั้นเงินเดือนของตนเอง ไปรับเงินเดือนในขั้นที่สูงกว่าในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ (รศ.)ได้ ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบจากนโยบายการปรับเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทของรัฐบาล จึงทำให้ขั้นเงินเดือนปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ โดยขณะนี้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ. ) ได้แก้ไข พ.ร.บ.เงินเดือนเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู ที่เงินเดือนเต็มขั้น ให้ไปรับเงินเดือนในอันดับขั้นต่อไปได้ อาทิ อันดับ คศ.2 ที่เงินเดือนเต็มขั้นให้รับเงินเดือนในอันดับ คศ.3 ได้โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ดังนั้น สกอ.จึงคิดว่าข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาก็ควรได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจะต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป