ผู้สูงอายุมีปัญสุขภาพช่องปาก 7 เรื่อง โดยเฉพาะการสูญเสียฟัน พบสูญเสียฟันหมดปากมากถึง 8 แสนคนจากผู้สูงอายุ 8 ล้านคน สธ.ผุด “โครงการฟันเทียมพระราชทาน-โครงการรากฟันเทียม” ให้บริการผู้สูงอายุและผู้พิการไร้ฟันเคี้ยวอาหาร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 85 พรรษา สธ.ได้จัดโครงการเฉลิมพระเกียรติขึ้น 2 โครงการ เพื่อให้บริการกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการที่ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร ได้แก่ 1. โครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ สำนักทันตกรรม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2555-เดือนกันยายน ปี 2556 ซึ่งจะให้บริการใส่ฟันเทียมให้แก่ผู้สูงอายุ 40,000 ราย โดยใช้ระบบบริการของภาครัฐจำนวน 30,000 ราย คลินิกเอกชนร่วมให้บริการ 8,500 ราย และจัดบริการในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นกรณีพิเศษ 1,500 ราย
นพ.ประดิษฐกล่าวอีกว่า 2. โครงการใส่รากฟันเทียม ดำเนินการร่วมระหว่างสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมชั้นสูง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะให้บริการฝังรากฟันเทียม 2 ตัวเพื่อช่วยยึดฟันเทียมล่างที่หลวมสำหรับผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส และผู้พิการที่ไม่มีฟันเหลืออยู่ โดยไม่จำกัดอายุ ซึ่งจะทยอยให้บริการประชาชนตั้งแต่ปี 2555-2557 โดยในปี 2555 นี้ให้บริการจำนวน 2,000 ราย ปี 2556 จำนวน 2,800 ราย และในปี 2557 ให้บริการอีก 3,600 ราย รวมทั้งหมด 8,400 ราย ตามโครงการนี้มีหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมให้บริการทั้งหมด 178 หน่วยบริการ
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุล่าสุดพบมี 7 เรื่อง ได้แก่ 1. การสูญเสียฟันและปัญหาจากการใส่ฟัน เนื่องจากสันเหงือกของผู้สูงอายุจะลดรูปลงอย่างมากไม่สามารถใส่ฟันเทียมในแบบปกติได้ ต้องใส่รากฟันเทียมช่วยยึดฟันเทียมล่างให้อยู่กับสันเหงือกได้ และใช้เคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น 2. ฟันผุและรากฟันผุ 3. โรคปริทันต์พบได้ร้อยละ 80-90 ทำให้เกิดการสูญเสียฟันอย่างรวดเร็ว 4. มีแผล/มะเร็งช่องปาก 5. มีภาวะน้ำลายแห้ง ซึ่งเกิดจากต่อมน้ำลายทำงานน้อยลง และเกิดจากยาบางชนิด ผลจากน้ำลายแห้งจะทำให้ผู้สูงอายุกลืนอาหารยากลำบาก และทำให้เกิดแผลในปากและติดเชื้อง่าย 6. ปัญหาฟันสึก และ 7. ปัญหาขาดสารอาหารและเบื่ออาหารเนื่องจากเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
“ผลการสำรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุล่าสุดในปี 2550 พบว่า ผู้สูงอายุสูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 10 หรือประมาณ 800,000 คนจากผู้สูงอายุที่มีประมาณ 8 ล้านคน และร้อยละ 94 สูญเสียฟันเฉลี่ย 13 ซี่ต่อคน โดยที่ผ่านมา สธ.ได้ใส่ฟันเทียมทั้งปาก ในโครงการฟันเทียมพระราชทานให้ผู้สูงอายุมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 รวมจำนวน 268,000 ราย” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 85 พรรษา สธ.ได้จัดโครงการเฉลิมพระเกียรติขึ้น 2 โครงการ เพื่อให้บริการกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการที่ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร ได้แก่ 1. โครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ สำนักทันตกรรม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2555-เดือนกันยายน ปี 2556 ซึ่งจะให้บริการใส่ฟันเทียมให้แก่ผู้สูงอายุ 40,000 ราย โดยใช้ระบบบริการของภาครัฐจำนวน 30,000 ราย คลินิกเอกชนร่วมให้บริการ 8,500 ราย และจัดบริการในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นกรณีพิเศษ 1,500 ราย
นพ.ประดิษฐกล่าวอีกว่า 2. โครงการใส่รากฟันเทียม ดำเนินการร่วมระหว่างสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมชั้นสูง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะให้บริการฝังรากฟันเทียม 2 ตัวเพื่อช่วยยึดฟันเทียมล่างที่หลวมสำหรับผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส และผู้พิการที่ไม่มีฟันเหลืออยู่ โดยไม่จำกัดอายุ ซึ่งจะทยอยให้บริการประชาชนตั้งแต่ปี 2555-2557 โดยในปี 2555 นี้ให้บริการจำนวน 2,000 ราย ปี 2556 จำนวน 2,800 ราย และในปี 2557 ให้บริการอีก 3,600 ราย รวมทั้งหมด 8,400 ราย ตามโครงการนี้มีหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมให้บริการทั้งหมด 178 หน่วยบริการ
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุล่าสุดพบมี 7 เรื่อง ได้แก่ 1. การสูญเสียฟันและปัญหาจากการใส่ฟัน เนื่องจากสันเหงือกของผู้สูงอายุจะลดรูปลงอย่างมากไม่สามารถใส่ฟันเทียมในแบบปกติได้ ต้องใส่รากฟันเทียมช่วยยึดฟันเทียมล่างให้อยู่กับสันเหงือกได้ และใช้เคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น 2. ฟันผุและรากฟันผุ 3. โรคปริทันต์พบได้ร้อยละ 80-90 ทำให้เกิดการสูญเสียฟันอย่างรวดเร็ว 4. มีแผล/มะเร็งช่องปาก 5. มีภาวะน้ำลายแห้ง ซึ่งเกิดจากต่อมน้ำลายทำงานน้อยลง และเกิดจากยาบางชนิด ผลจากน้ำลายแห้งจะทำให้ผู้สูงอายุกลืนอาหารยากลำบาก และทำให้เกิดแผลในปากและติดเชื้อง่าย 6. ปัญหาฟันสึก และ 7. ปัญหาขาดสารอาหารและเบื่ออาหารเนื่องจากเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
“ผลการสำรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุล่าสุดในปี 2550 พบว่า ผู้สูงอายุสูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 10 หรือประมาณ 800,000 คนจากผู้สูงอายุที่มีประมาณ 8 ล้านคน และร้อยละ 94 สูญเสียฟันเฉลี่ย 13 ซี่ต่อคน โดยที่ผ่านมา สธ.ได้ใส่ฟันเทียมทั้งปาก ในโครงการฟันเทียมพระราชทานให้ผู้สูงอายุมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 รวมจำนวน 268,000 ราย” ปลัด สธ.กล่าว